6 วิธี จัดเงินในกระเป๋า ให้มีการเงินที่ดี ไม่เป็น “หนี้นอกระบบ”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

6 วิธี จัดเงินในกระเป๋า ให้มีการเงินที่ดี ไม่เป็น “หนี้นอกระบบ”

Date Time: 7 เม.ย. 2567 07:00 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • "หนี้" คือคำที่ทุกคนไม่อยากได้ยิน แต่ไม่ว่าใครก็คงหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต แต่ที่สำคัญหนี้ที่จะต้องถอยห่างให้ไกลมีอยู่หนึ่งอย่างนั่นคือ "หนี้นอกระบบ" ในครั้งนี้ #Thairath money ได้รวม 5 พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีโอกาสเป็นหนี้นอกระบบเอาไว้ และ 6 วิธีการจัดการเงินในกระเป๋าไม่ให้เป็นหนี้นอกระบบ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพการเงินที่ดี ห่างไกลหนี้ให้ได้นั่นเอง

Latest


ช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก การหารายได้ก็มักจะไม่ใช่เรื่องง่าย แถมค่าครองชีพกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยอยู่ในสถานะที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ จนทำให้เกิดการเป็นหนี้ โดยเฉพาะ “หนี้นอกระบบ” ที่กำลังเป็นปัญหาในสังคมไทย 

โดยหนี้นอกระบบเกิดจากการยืมเงินกับบุคคลต่างๆ ที่มีการคิดดอกเบี้ยที่สูงเกินจริง เช่น ร้อยละ 10% หรือบางรายก็ 20% ทำให้หลายคนเป็นหนี้ไม่รู้จักจบจักสิ้น จนอาจกลายเป็น “หนี้เรื้อรัง” ตามมา 

ดังนั้นหากใครไม่รู้ตัวว่าตนเองมีโอกาสเข้าข่ายเป็นหนี้นอกระบบหรือไม่ และจะมีวิธีจัดการเงินในกระเป๋าอย่างไรให้ห่างไกลจากหนี้นอกระบบ? #Thairath Money ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้เป็นที่เรียบร้อย 

5 พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีโอกาสเป็นหนี้นอกระบบ

  1. ใช้จ่ายอย่างไม่คิด
  2. ไม่มีเงินออม และเงินสำรองเผื่อไว้
  3. หวังรวยทางลัด
  4. มีทัศนคติแปลกๆ เกี่ยวกับเงิน เช่น ใช้ๆ เงินไปเถอะไม่ตายก็หาใหม่ได้
  5. ไม่อยากสนใจเรื่องเงิน

6 วิธีการจัดการเงินในกระเป๋าไม่ให้เป็นหนี้นอกระบบ

สำหรับใครที่อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่อยากเป็นหนี้นอกระบบ Krungsri The COACH ได้มีข้อแนะนำ 6 วิธีการดีๆ ที่เราจะต้องทำกันจนเป็นนิสัย ไม่ต้องพบกับความเสี่ยงในการเป็นหนี้นอกระบบ

  1. รู้จักตัวเองว่าเป็นคนใช้เงินอย่างไร
    เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเราเป็นคนอย่างไร ใช้เงินอย่างไร ใช้เงินไปกับเรื่องอะไร เทคนิคง่ายๆ คือ การจดบันทึกรายรับรายจ่าย แล้วตรวจสอบดูว่ามีความเสี่ยงที่จะใช้เงินเกินตัวหรือไม่ จะปรับปรุงพฤติกรรมในการใช้เงินอย่างไร

  2. วางแผนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    หลังจากที่เราตรวจสอบรายรับรายจ่ายแล้ว เราอาจจะพบค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจำนวนมาก เช่น ต้องซื้อเครื่องสำอางใหม่เพราะลืมหยิบออกมาขณะมาทำงาน ดังนั้นเราควรจะลดรายจ่ายในลักษณะนี้ในอนาคต แค่นี้ก็ทำให้เราสามารถอุดรอยรั่วทางการเงินได้

  3. ตั้งงบประมาณในการใช้จ่ายกับสิ่งที่ชอบ
    หากเราเคยเป็นคนหนึ่งที่จ่ายเงินไปกับทุกสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง หรือแม้แต่การซื้อกาแฟ ชานมไข่มุก จนทำให้เราไม่เหลือเงินเก็บ ดังนั้นต้องตั้งงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายในแต่ละวัน หรือแต่ละเดือนให้เหมาะสม

  4. มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
    การมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินนั้นจะช่วยให้เรามีตัวช่วยในยามจำเป็นจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราอาจจะไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยเราควรจะมีเงินเก็บส่วนนี้เอาไว้ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนของเรา เช่น เรามีรายจ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรมีเงินอย่างน้อย 60,000 บาทสำรองเอาไว้

  5. สร้างเครดิตให้ตัวเองเผื่อการกู้หนี้ในระบบ
    หลายคนที่ยอมเป็นหนี้นอกระบบนั้นอาจจะเป็นเพราะมีความต้องการใช้เงิน แต่ไม่สามารถกู้หนี้ในระบบกับทางธนาคารได้ แต่การกู้เงินกับทางธนาคารจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ดังนั้นหากจำเป็นต้องกู้จริงๆ ต้องเริ่มสร้างเครดิตกับทางธนาคาร เช่น มีเงินฝากสม่ำเสมอ มีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ มีเงินออมในบัญชีทุกเดือน

  6. มีวินัยทางการเงินตลอดเวลา
    ตั้งแต่การจดบันทึกรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ การวางแผนลดรายจ่ายไม่จำเป็นตลอดเวลา ใช้เงินตามงบประมาณที่เราวางแผนไว้ในทุกๆ เดือนโดยไม่มีข้ออ้างให้กับตัวเอง มีการออมเงินตามแผน หากเราทำแบบนี้ได้ อย่างไรก็มีชีวิตที่ดีไม่มีหนี้อย่างแน่นอน

อ้างอิง Krungsri

ติดตามข้อมูลด้านการเงิน กับ ThairathMoney ได้ที่ 
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์