ยังไม่ได้ “ยื่นภาษี 2566” คงต้องรีบแล้ว เพราะหลังจาก 31 มีนาคมที่ผ่านมา หมดเขตการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบกระดาษด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ไปแล้ว
แต่ยังคงเหลือโอกาสสุดท้าย คือ การยื่นแบบภาษีออนไลน์ ซึ่งก็จะหมดเขตวันที่ 9 เม.ย. 2567 นี้ ผ่านระบบ E-filing ของกรมสรรพากร (คลิกยื่นภาษีออนไลน์ที่นี่ efiling.rd.go.th)
เนื่องจากหากเราจัดอยู่ในกลุ่มคนผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
ซึ่งหากไม่ยื่นภาษีตามเวลาที่กำหนด จะเจอโทษปรับทางกฎหมาย คือ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มเติมอีก 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับตั้งแต่วันพ้นกำหนด จนถึงวันยื่นภาษี (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
อย่างไรก็ตาม หากจ่ายภาษีไม่ไหว สามารถติดต่อขอแบ่งผ่อนชำระได้ หรือใครยื่นผิด-ใส่ข้อมูลไม่ครบ ก็สามารถขอยื่นเพิ่มเติมได้เช่นกัน
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การยื่นภาษี มีดังนี้
สำหรับการขอคืนภาษีนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ให้ Login เข้าระบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ดำเนินการกรอกรายการข้อมูลเงินได้ และค่าลดหย่อนต่างๆ ตรวจสอบรายละเอียดของรายการให้ถูกต้อง
เมื่อถูกต้องแล้วคลิก “ถัดไป” ระบบแสดงผลการคำนวณภาษี หากมีเงินภาษีที่ชำระไว้เกินและประสงค์ขอคืนเงินภาษี ให้เลือก “ต้องการขอคืน” หรือ “ไม่ต้องการ” ซึ่งต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
และถ้ามีข้อความให้ระบุความต้องการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองให้เลือก “ต้องการอุดหนุน” หรือ “ไม่ต้องการ” อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วคลิก “ถัดไป”
ทั้งนี้ กรมสรรพากร จะแจ้งผลการคืนเงินภาษีผ่าน SMS ตามเบอร์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วคลิก “ยืนยันการยื่นแบบ” จึงจะถือว่าการยื่นแบบฯ ฉบับนั้นเสร็จสมบูรณ์ ให้พิมพ์แบบฯ เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ขณะผู้ยื่นภาษีแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะ "คืนเงินภาษี" หรือสอบถามข้อมูลการขอคืนได้ ดังนี้
ทั้งนี้ ผู้ยื่นภาษี สามารถรับเงินภาษีคืนผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม พบว่าขณะนี้หลายคนที่ทำการยื่นภาษี 2566 ไปแล้ว แต่กลับยังไม่ได้รับเงินภาษีคืนเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นอาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
ส่วนคนที่ได้รับเงินภาษีคืนไม่ครบตามที่ร้องขอ ให้เร่งทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ค.30 หรือ ค.21 แล้วแต่กรณี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหนังสือแจ้งฯ โดยจัดทำหนังสืออุทธรณ์ขึ้นเอง และชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมแนบเอกสารประกอบต่างๆ
ที่มา : กรมสรรพากร, ดีดีพร็อพเพอร์ตี้
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney