พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หรือ CIMBT เปิดเผยยุทธศาสตร์ปี 2567 ซีไอเอ็มบี ไทย ย้ำวิสัยทัศน์การเป็น ‘Digital-led Bank with ASEAN Reach’ หรือ ‘ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล’ ด้วยศักยภาพเครือข่ายกลุ่มการเงินระดับภูมิภาคของ CIMB Group เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในประเทศไทย โดยปี 2567 นี้ CIMBT โฟกัส 4 เรื่องหลัก ได้แก่
เนื่องจากในปี 2566 ที่ผ่านมา CIMBT พาลูกค้าเปิดตลาดใหม่ด้วยกลยุทธ์ ASEAN Total Solutions ส่งผลให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนเติบโตเกินเป้าหมาย ดังนั้นในปี 2567 นี้ CIMBT จึงตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่ออาเซียนเพิ่ม 10% เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการขยายกิจการในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา คู่ขนานกับการดูแลธุรกรรมการเงินแก่ลูกค้าองค์กรและสถาบันการเงินในประเทศ ผ่านสินเชื่อ บริการธุรกรรมจัดการเงิน บัญชีธุรกิจ และบริการชำระเงิน
ลูกค้าไว้วางใจให้ธนาคารพาไปเปิดตลาดใหม่ด้วย ASEAN Total Solutions ส่งผลให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนเติบโตเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ มาปีนี้ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อในอาเซียนเติบโต 10% เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการให้ธนาคารสนับสนุนการขยายธุรกิจในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา คู่ขนานไปกับการดูแลธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าองค์กรและสถาบันการเงินในประเทศ ผ่านสินเชื่อ บริการธุรกรรมจัดการเงิน บัญชีธุรกิจ และบริการชำระเงิน
“สิ่งพิเศษที่จะเพิ่มเติมในปี 2567 คือการใช้เครือข่ายในอินโดนีเซียให้มากขึ้น เนื่องจาก CIMB มีสาขาธนาคารในอินโดนีเซียมากที่สุด และเป็นการให้บริการทั้งขาออกและขาเข้า” พอล กล่าว
อีกกลยุทธ์ที่โฟกัสมาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา คือ Digitalize for Value ที่มุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนและยกระดับการให้บริการในโลกยุคใหม่ ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI Digital Banking ที่ส่งผลให้ธุรกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถขยายฐานบัญชีดิจิทัลเพิ่มเป็น 4 แสนราย ปริมาณธุรกรรมบนแอปพลิเคชันทะยานสู่ 90% และธุรกรรมจองซื้อหุ้นกู้และพันธบัตรทั้งตลาดแรกและตลาดรองทะยานเกิน 6.6 หมื่นล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ การมี Digital Ecosystem ที่ครอบคลุม ส่งผลให้ธนาคารคว้ารางวัล Wealth Management Platform of the Year - Thailand 4 ปีติดต่อกัน ซึ่งปี 2567 นี้ทีม Digital เตรียมปรับโฉม UX/UI และเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ยกระดับความสะดวกสบายไปอีกขั้น
ธนาคารตั้งเป้าหมายรักษาความเป็นผู้นำตลาด และที่หนึ่งในใจลูกค้า Wealth Management ท่ามกลางสภาวะตลาดที่มีความท้าทาย โดยให้ความสำคัญกับการแนะนำลูกค้า เลือกลงทุนให้ถูก ‘จังหวะ’ ผ่านการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ CIMB Thai คัดสรรทั้งหุ้นกู้ในตลาดแรก หุ้นกู้ตลาดรอง หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เงินฝากดอกเบี้ยสูง เงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) กองทุน ประกัน บริการ Wealth Credit Line (วงเงินพิเศษเพื่อมอบสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีเงินลงทุนกับธนาคาร)
รวมถึงพร้อมจูงมือลูกค้าไปลงทุน Offshore fund โดยเฉพาะ Alternative Investment ที่มีความน่าสนใจที่ไม่อ้างอิงต่อปัจจัยหลักอย่างทิศทางดอกเบี้ยหรือค่าเงิน แต่อยู่บนสินทรัพย์ที่ไปลงทุน
โดยปี 2567 ธนาคารตั้งเป้าหมายขยายธุรกิจและฐานสมาชิก CIMB Preferred (ลูกค้าที่มีเงินฝากหรือเงินลงทุน 3 ล้านบาทขึ้นไป) ให้เติบโตอีก 12% จากปัจจุบันมีลูกค้า 1 แสนราย มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) จำนวน 3.7 แสนล้านบาท
ส่วนปี 2566 ที่ผ่านมา ธนาคารมีผลงานชิ้นโบแดง ครองอันดับ 1 ‘หุ้นกู้’ ด้วยมูลค่าการค้าตราสารหนี้ปี 2566 ทะลุ 7 แสนล้านบาท และคว้ารางวัลระดับโลก 10 ปีซ้อน สะท้อนความเชี่ยวชาญของทีม Treasury & Markets ที่ดูแลการลงทุน ช่วยลูกค้ามีสภาพคล่องผ่านบริการรับซื้อ-ขายหุ้นกู้ เป็นที่มาของแคมเปญปีนี้ ‘หุ้นกู้คือ CIMB Thai’
ด้านธุรกิจรายย่อย จะโฟกัสที่สินเชื่อยานยนต์ โดยเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 ได้เปิดตัว ‘One Auto Platform’ บริการสินเชื่อยานยนต์ ครอบคลุมทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ ผ่านบริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคาร โดยจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันกับตลาด และเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจผ่านบริการใหม่ อาทิ สินเชื่อจำนำทะเบียนทั้งแบบโอนเล่ม และไม่ต้องโอนเล่ม
ตัน คีท จิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย CIMBT ขยายความในส่วนนี้ว่า CIMBT ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจาก ธปท. เมื่อปลายปี 2566 และคาดว่ากลางปี 2567 จะเริ่มให้บริการอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยยอมรับว่าในตลาดมีผู้ให้บริการมากอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการกลุ่มนอนแบงก์ ไม่ค่อยมีแบงก์มากนัก จึงยังเห็นโอกาสทางการตลาดในธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อ CIMBT มี 30% เป็นสินเชื่อรายใหญ่ (Wholesale) และอีก 70% เป็นสินเชื่อรายย่อย มูลค่าสินเชื่อคงค้าง 1.5 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ซึ่งพอร์ตสินเชื่อบ้านมียอดคงค้าง 1.21 แสนล้านบาท ส่วนสินเชื่อรถยนต์มียอดคงค้าง 3.5 หมื่นล้านบาท และเมื่อปี 2566 สินเชื่อรถยนต์เติบโต 4.1%
สำหรับสินเชื่อ SMEs ธนาคาร CIMBT จะค่อยๆ ลดพอร์ตลงจาก 29% ในอนาคตจะเหลือไม่ถึง 1% เนื่องจากตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ทำการศึกษาและค่อยๆ ลดสินเชื่อส่วนนี้ เพราะสินเชื่อ SMEs มีข้อจำกัดเยอะ ดังนั้นธนาคารจึงหันไปโฟกัสสินเชื่อ เช่น wholesale หรือสินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการขยายกิจการไปอาเซียนมากกว่า
เรื่องที่ 4 ที่ CIMBT โฟกัส คือ การทำธุรกิจบนแกน Sustainability หรือความยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายกลุ่ม CIMB ที่จะบรรลุ Green, Social Sustainable Impacted Products and Services (GSSIPS) จำนวน 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาทในปี 2567
โดยปี 2566 ทีมสินเชื่อรายใหญ่ได้สนับสนุนสินเชื่อความยั่งยืน จำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ในการทำงานบนวิถีความยั่งยืน Net Zero ปี 2567 ตั้งเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 36% เทียบกับปี 2562 (scope 1 และ 2) และเพื่อปลุกกระแสสังคมรวมพลังสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน
สำหรับปี 2567 CIMBT จะจัดสัมมนา The Cooler Earth Sustainability Series ตลอดทั้งปี ทั้งการฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก, เสวนาโต๊ะกลมสินเชื่อยั่งยืน และสัมมนาใหญ่ร่วมกับ UN ESCAP ขึ้นอีกครั้ง หลังจากจัดขึ้นครั้งแรกปี 2566
ติดตามข่าวสารอัปเดต เศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในประเทศ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ล่าสุด ได้ที่นี่
ข่าวเศรษฐกิจ : https://www.thairath.co.th/money/economics
เศรษฐกิจในประเทศ : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
เศรษฐกิจโลก : https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney