“ตรุษจีน” ปีนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า จะมีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ ทั่วประเทศ เกือบ 5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้น 10% จากแนวโน้ม การใช้จ่ายที่ปรับเพิ่มขึ้น
ลึกลงไป มีทั้งคนไทย วางแผนใช้จ่าย เกี่ยวกับการทำบุญ, การท่องเที่ยว, การรับประทานอาหาร และการให้แต๊ะเอียแก่ลูก-หลาน
ขณะฝั่งผู้รับ “แต๊ะเอีย” ส่วนใหญ่ ตอบแบบสอบถาม ว่าจะนำ เงินแต๊ะเอีย ที่ได้ไปเก็บออม รองลงมา นำไปซื้อเครื่องแต่งกาย, ไปเที่ยว และไปรับประทานอาหาร ตามแต่ต้องการ
สำหรับ ช่วงเทศกาลตรุษจีน ต้องบอกว่า เป็นนาทีทอง ของลูกๆ หลานๆ คนไทยเชื้อสายจีนเลยก็ว่าได้ เพราะ ทุกๆ ตรุษจีน ผู้อาวุโส ในครอบครัว ต้องให้ แต๊ะเอีย หรือ บ้างเรียก “อั่งเปา” กับคนที่มีอายุน้อยกว่า เช่น ผู้ใหญ่ให้เด็ก หรือเจ้านายให้พนักงาน
ซึ่งโดยปกติแล้ว คนจีนจะนิยมให้แต๊ะเอีย เป็นแบงก์ร้อย เพราะเป็นสีแดงมงคล และจำนวนตัวเลข มักตกเป็นเลข 4 และ 8 หรือทวีคูณไปเรื่อยๆ เช่น 400, 800, 1,200 บาท (แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละบ้าน)
สำหรับคนเป็นพ่อ-แม่ หลังจากเด็กๆ ได้แต๊ะเอียจากญาติๆ แล้ว อาจมีความกังวล ว่าบุตรหลาน จะอยากเอาไปซื้อนู่นซื้อนี่ จับจ่ายใช้สอยตามแต่ใจตัวเองต้องการนั้น
เราสามารถใช้โอกาสนี้ ปลูกฝังเรื่อง “ค่าของเงิน” และ สอนให้ลูกของเรา มีนิสัยทางการเงินที่ดี จนมีโอกาส เป็น “เจ้าสัว” ในอนาคตได้เช่นกัน
ข้อมูลจาก SCB(ธนาคารไทยพาณิชย์) ให้เทคนิคไว้เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ “การสอนลูกให้โตเป็นเจ้าสัว เริ่มรวย ด้วยเงินแต๊ะเอีย” กับแนวคิดการเงิน 4 ประปุกหมู ซึ่งหมายถึง การจัดสรรเงิน ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
สำหรับการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
วิธีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ : นำเงินแต๊ะเอียของลูกไปออมผ่านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้ทั้งคุ้มครองลูกน้อยและได้ผลตอบแทนสูง เช่นประกันประเภทสะสมทรัพย์ที่ให้ผลตอบมากกว่าการออมทรัพย์แบบปกติ และได้รับความคุ้มครองชีวิตไปพร้อมๆ กัน
วิธีสำหรับคุณลูก : คุณพ่อคุณแม่ควรแบ่งเงินแต๊ะเอียบางส่วนมาสอนลูกให้หัดทำธุรกิจจิ๋วๆ ด้วยตัวเอง หรือให้เงินเป็นผลตอบแทนลูกถ้าช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านหรือกิจการของครอบครัว ลูกรักของเราจะได้รู้จักการบริหารจัดการเงินและสร้างความภาคภูมิใจไปพร้อมๆ กัน ว่ากันว่า เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เจ้าสัวทุกคนในโลกนี้ได้ผ่านกันมาแล้วทั้งนั้น
"จากการจัดสรรเงินแต๊ะเอียออกเป็น 4 กลุ่มดังกล่าว ก็จะทำให้ เด็กๆ ได้รู้ว่าเงินนั้นไม่ได้มีไว้ใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำไปทำอย่างอื่นได้อีกด้วย เช่น การลงทุน เป็นต้น"
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์