เรื่องเงินอย่าปล่อยให้ "รู้งี้" KKP x ThairathMoney ปูรากฐาน "ความรู้ทางการเงิน” คนไทย

Personal Finance

Banking & Bond

Content Partnership

Content Partnership

Tag

เรื่องเงินอย่าปล่อยให้ "รู้งี้" KKP x ThairathMoney ปูรากฐาน "ความรู้ทางการเงิน” คนไทย

Date Time: 5 ก.พ. 2567 06:00 น.
Content Partnership

Summary

  • กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ร่วมกับ ไทยรัฐมันนี่ สร้างพลังความรู้ทางการเงินสำหรับคนไทยในแคมเปญ #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ปลุกคนไทยมีภูมิคุ้มกันทางการเงิน รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้ขยายดอกผล

แม้ “เงิน” จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่เคยมีคำกล่าวว่า “ไม่สำคัญว่าคุณจะหาเงินได้ขนาดไหน แต่สำคัญตรงที่คุณสามารถเก็บเงินได้เท่าไร และมันทำงานแทนคุณได้ขนาดไหนมากกว่า”

สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีพฤติกรรมการใช้เงินของคุณอย่างไร?

เพราะต่อให้มี "เงิน" มากแค่ไหน หากขาดความรู้ด้านการเงิน ก็อาจหมดได้โดยพลัน หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่ “งอกเงย”

“ความรู้ทางการเงิน” คือ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมไปถึงความสามารถในการบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ซึ่งนับเป็นทักษะสำคัญของชีวิต ทำให้การวางแผนทางการเงินมีค่าเทียบเท่ากับ “การวางแผนชีวิต” อย่างปฏิเสธไม่ได้

ยิ่งในขณะนี้ ประเทศไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ และสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือน, การเข้าสู่สังคมสูงวัย, อัตราเงินเฟ้อ, ดอกเบี้ยขาขึ้น และความผันผวนของสินทรัพย์ต่างๆ ทั้ง ค่าเงิน, ราคาทอง, หุ้น, น้ำมัน ฯลฯ

การมี “ความรู้ทางการเงิน” ติดตัวก็คงจะดีไม่น้อย

“คนไทย” มีความรู้ทางการเงินมากแค่ไหน?

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยเปิดเผยผลสำรวจ ที่พบว่าคนไทยมีพัฒนาการด้านทักษะทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกช่วงวัย โดยคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2559-2563 และมีลักษณะเป็น hump shape กล่าวคือ คนเรามักจะเพิ่มพูนทักษะทางการเงินตามอายุที่มากขึ้น และจะเริ่มมีทักษะที่แย่ลงเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย

ทั้งนี้ จากภาพรวมการสำรวจระดับทักษะทางการเงินครั้งล่าสุดของไทยเมื่อปี 2563 แม้จะพบว่าทักษะทางการเงินของคนไทยมีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 71% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยการสำรวจของกลุ่มประเทศ OECD ที่ 60.5% แต่ก็ยังมีหลายด้านที่ควรต้องส่งเสริม

โดยเฉพาะ 3 สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้แก่ วิธีคำนวณดอกเบี้ยและเงินฝากทบต้น, วิธีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน รวมถึงความเข้าใจและความตระหนักในมูลค่าของเงินตามกาลเวลา
ซึ่งเกี่ยวกับกับสารพันปัญหาสามัญของชีวิต เช่น มีเงินใช้แค่เดือนชนเดือน ไม่เคยเหลือเก็บ โดนหนี้บัตรเครดิตอ่วม หรือแม้กระทั่ง กู้เงินไม่ได้ เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ชัดว่า ทำไม Financial Literacy หรือความรู้ทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญ และทำไมต้องมีกูรู หรือ เพื่อนคู่คิดที่จะคอยชี้แนะ และให้คำปรึกษา อย่างน้อยจะได้ไม่ต้องมาเสียดายและกล่าวภายหลังว่า “รู้งี้”

เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ KKP อยากช่วยคนไทยการเงินดีชีวิตดี

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP ในฐานะสถาบันการเงินตระหนักถึงความสำคัญของ “ความรู้ทางการเงิน” ที่เปรียบเสมือน “เสาหลัก” หรือ “ยาสามัญประจำบ้าน” จึงได้มีความมุ่งมั่นที่จะขยายองค์ความรู้ให้กระจายไปสู่วงกว้างมากขึ้น ผ่านแนวคิดที่ว่า จะทำอย่างไรให้ทุกคนมีทักษะการเงินที่ดี รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้ขยายดอกผล รู้จักบริหารจัดการให้งอกเงย และนำไปสู่ “อิสรภาพทางการเงิน” ในอนาคต

พัทนัย เหลืองตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าสำนักสื่อสารองค์กรและการตลาด กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการเงินที่อยู่คู่สังคมไทยมากกว่า 5 ทศวรรษ KKP มีองค์ความรู้ตั้งแต่เรื่องของการออม เงินฝาก ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย KKP พยายามทำเรื่อง “ยาก” กลายเป็นเรื่อง “ง่าย” ด้วยความเข้าใจดีว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่ได้ง่ายกับทุกคน และการทำให้คนไทยรู้จัก “เงิน” ได้มากกว่าที่เป็นมาจะสนับสนุนสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา KKP ทำเรื่องวินัยการออม และให้ความรู้ทางการเงินมากว่า 10 ปี อาจจะไม่ได้เป็นโครงการใหญ่โต แต่ก็มีการลงมือทำอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งมีความชัดเจนในวันนี้ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญ #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ภายใต้ความเชื่อว่าในหลากหลายสถานการณ์ ถ้าทุกคนมีความรู้ทางการเงิน ก็คงไม่ต้องพูดว่า #รู้งี้ ในภายหลัง

“มองลึกๆ ลงไปความต่างของการบริหารทางการเงิน อยู่แค่ “รู้” กับ “ไม่รู้” จึงเกิดเป็นคำพูดติดปากว่า “ถ้ารู้งี้” ที่บ่งบอกว่า รู้เมื่อสายไปเสียแล้ว และ KKP ไม่อยากให้คนต้องพูดคำว่า “รู้งี้” จึงเป็นที่มาของ Tagline “เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้” พัทนัย กล่าว

พัทนัย เล่าว่าเรื่องการเงินนั้นมีหลายระดับ ตามระยะต่างๆ ของชีวิตตั้งแต่เริ่มได้ค่าขนมในวัยเด็ก จนทำงานเองมีรายได้ แต่งงาน มีครอบครัว หรือแม้กระทั่งเกษียณ ดังนั้นเรื่องการเงินเรียกได้ว่าอยู่ทุกห้วงเวลา

“บางเรื่องคนคิดว่ามันไกลตัว เช่น การวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ หลายคนมองว่าอีกตั้งนาน เงินก็พอใช้ แต่ไม่เคยคำนวณว่าเมื่ออายุ 60 ไม่มีรายได้ประจำแล้ว เราจะต้องมีเงินเท่าไร จึงจะใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการไปจนถึงวันสุดท้ายที่เรามีชีวิตได้?”

มีข้อมูลค่าเฉลี่ยบอกว่า หลังเกษียณของคนเราจะอยู่ต่อไปได้อีกถึงวัยประมาณ 80 ปี หรือคิดเป็นช่วงเวลา 1 ใน 3 ของช่วงชีวิตที่ใช้มาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีหลายเรื่องรุมเร้าทั้งเรื่องของสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และแน่นอนว่าทุกอย่างล้วนต้องใช้ “เงิน” ทั้งสิ้น

จึงน่าห่วงที่หลายคนอาจจะไม่เคยคำนวณว่าชีวิตสวยหรูที่ต้องการหลังเกษียณ จะต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าที่คิด และหากบริหารเงินไม่เป็น ก็จะนำไปสู่ “ภาระหนี้สิน” ถึงขนาดล้มละลาย กลายเป็นบุคคลไร้บ้านก็ยังมีให้เห็น

กรณีวัยทำงาน หรือ First Jobber ที่มีการใช้บัตรเครดิต ก็จะต้องใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อไม่ให้นำไปสู่หายนะอันโหดร้ายติด “กับดักจ่ายขั้นต่ำ” โดยที่ผ่านมา KKP ก็เคยได้เข้าไปให้คำแนะนำ ให้หยุดการใช้บัตรเกินตัว หรือใช้เท่าที่จำเป็นเหมาะสมกับรายได้ เป็นต้น

“หากคิดได้เร็วก็จะโชคดีมีเวลาจัดการเงินเก็บเงินได้เร็วกว่าคนอื่น ก็ไม่ต้องเอ่ยคำว่า รู้งี้ทำตั้งนานแล้ว และจึงเป็นที่มาของแคมเปญที่เปรียบเสมือน การวางแผนการเงินส่วนบุคคลนับตั้งแต่วันที่เรามีรายได้ จวบจนวันสุดท้ายของการใช้ชีวิต” พัทนัย เผยแนวคิดและที่มาของแคมเปญ

ทั้งหมดนี้ทำให้ปลายทางของแคมเปญมีสิ่งที่จับต้องได้ “ไม่ใช่แค่นามธรรม” ผ่านความตั้งใจของ KKP ที่อยากจะเห็นคนในสังคมไทย มีสุขภาพทางการเงินและภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น มีความรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานตั้งแต่ รู้หา รู้เก็บ รู้จ่าย รู้ขยายดอกผล ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้ เป็นการสร้างสุขภาพการเงินส่วนบุคคลที่แข็งแรง นำไปสู่ความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจการเงินของสังคมไทยโดยภาพรวมต่อไป

ความมุ่งมั่นตั้งใจแบ่งปัน “ความรู้ทางการเงิน” สำหรับคนไทยของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) สอดคล้องกับแนวคิดการทำสื่อด้านเศรษฐกิจการเงินการลงทุนของ Thairath Money สื่อออนไลน์ในเครือไทยรัฐ

วัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยรัฐทีวี ไทยรัฐออนไลน์ กล่าวว่า ไทยรัฐ เป็นสื่อที่อยู่กับความท้าทายของทุกยุคทุกสมัย ส่วน “ไทยรัฐมันนี่” เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของผู้เสพข่าวสารยุคใหม่ ที่สนใจการเงินการลงทุน ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ติ๊กต่อก และเอ็กซ์

ไทยรัฐมันนี่มี Motto ที่สำคัญ คือ การเงินดีชีวิตดี เพราะเราเชื่อว่าด้วยเนื้อหาด้านเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ธุรกิจ การตลาด นวัตกรรมการเงิน ที่ไทยรัฐมันนี่นำเสนอจะเป็นแรงบันดาลใจ เป็นข่าวสารข้อมูลให้ผู้ติดตามใช้เป็นแนวทางวางแผนชีวิตและวางแผนการเงินอย่างมีความรู้และความเท่าทัน เพื่อทำให้ชีวิตของแต่ละคนดีขึ้น

ในฐานะองค์กรสื่อผู้ผลิตเนื้อหาข่าวสาร เรามีความเชี่ยวชาญในการสื่อสาร ขณะที่กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เป็นสถาบันการเงิน มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเงิน การทำงานร่วมกันระหว่าง 2 องค์กร ในแคมเปญ #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ จึงเป็นการเพิ่มพูนพลังความรู้เรื่องการเงินและทักษะการเงินให้คนไทย เพราะเราเชื่อว่า “การเงินดีชีวิตดี”

“จะสร้างสุขภาพให้ดี ก็ต้องออกกำลังให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน จะสร้างการเงินให้ดี ก็ต้องมีความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ซึ่งเชื่อว่า ด้วยพลังความรู้จากกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และความสามารถในการเล่าเรื่องสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ของไทยรัฐมันนี่ จะเป็นส่วนผสมของการให้ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีการเงินดีชีวิตดีไปด้วยกัน” วัชร กล่าว


Author

Content Partnership

Content Partnership