3 แนวทางแบงก์อุ้มลูกหนี้ปี 67 ชูมาตรฐานดูแลก่อน-ระหว่าง-หลังเป็นหนี้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

3 แนวทางแบงก์อุ้มลูกหนี้ปี 67 ชูมาตรฐานดูแลก่อน-ระหว่าง-หลังเป็นหนี้

Date Time: 31 ม.ค. 2567 06:53 น.

Summary

  • สมาคมธนาคารไทยเปิดหน้าตักช่วยลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปแล้ว 6.1 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อ 3.4 ล้านบาท ปักธงปีนี้ยังคงเดินหน้าช่วยลูกหนี้ ประกาศ 3 มาตรการ เริ่มจากช่วยปรับโครงสร้างหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง ลูกหนี้เรื้อรังปิดจบหนี้เร็วขึ้นภายใน 5 ปี และโปะเงินค่างวดปิดบัญชี ไม่คิดค่าปรับ ด้าน ธอส.จ่อถอยมาตรการพยุงลูกหนี้กลุ่มอ่อนแรง

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนทั้งมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีอยู่เดิม และมาตรการเพิ่มเติมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ถึง ณ ปัจจุบัน มียอดภาระหนี้ที่ให้ความช่วยเหลือกว่า 3.4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 6.1 ล้านบัญชี

สำหรับปี 2567 จะเป็นการดูแลลูกหนี้สอดรับกับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ดูแลลูกหนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ และการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งมี 3 แนวทางมาตรฐาน คือ

1.ช่วยลูกหนี้ต่อเนื่องด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจะเสนอแนวทางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาชำระหนี้แต่ยังไม่เป็นเอ็นพีแอล(หนี้เสีย) อย่างน้อย 1 ครั้ง ลูกหนี้ที่มีปัญหาชำระหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอลอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยลูกหนี้ไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน นับจากวันที่เสนอเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้

2.ช่วยลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบางให้สามารถปิดจบหนี้ได้ โดยลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบาง จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดจบหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น ภายใน 5 ปี และลดภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี และ 3.คุ้มครองสิทธิลูกหนี้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น ไม่คิดค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ยกเว้นกรณีรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านในช่วงเวลา 3 ปีแรก

“เพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ลูกหนี้จำเป็นต้องปรับตัว มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้น และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ เช่น ไม่ใช้วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนไปกับการบริโภคที่ไม่จำเป็นและเกินกำลัง จนไม่สามารถปิดจบหนี้ในแต่ละรอบงวดได้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ภาคธนาคารจึงให้ความสำคัญกับให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวินัยทางการเงินอย่างถูกต้อง เข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลเครดิต และนำไปปฏิบัติ ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเงินที่ดี สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน เป็นเกราะป้องกันภัยทางการเงินที่มาในทุกรูปแบบ”

ดังนั้น การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องแก้ด้วยการดึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้ามาในระบบให้มากที่สุด ส่งเสริมการแข่งขันแบบเสรีไม่ผูกขาด บนพื้นฐานของการมีข้อมูลและความโปร่งใสและกฎกติกาที่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ให้บริการสินเชื่อทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, non-bank, สหกรณ์ โดยเร่งผลักดันการปฏิรูปข้อมูลหนี้ ทั้งในและนอกระบบ สร้างฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้มากขึ้น โดยให้สหกรณ์เข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้ครบถ้วน

ด้านนายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีลูกหนี้สินเชื่อบ้านที่อยู่ในภาวะอ่อนแรงในการชำระ ซึ่งอาจจะตกชั้นกลายมาเป็นหนี้เสียถึง 15% ของพอร์ตสินเชื่อรวม 1.71 ล้านล้านบาท ซึ่งธนาคารได้เตรียมมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มดังกล่าว คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ และในปีนี้จะยังคงตรึงดอกเบี้ยไว้ให้นานที่สุด แต่หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารก็พร้อมจะปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกค้าตามเช่นกัน สำหรับปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อที่ 242,000 ล้านบาท เพิ่ม 5% จากปี 2566 ส่วนเงินฝากมีเป้าหมายที่ 97,000 ล้านบาท.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ