จ่ายภาษีไม่ไหว แบ่งผ่อนชำระได้ ใครยื่นผิด-ใส่ข้อมูลไม่ครบ ยื่นเพิ่มเติมได้ หมดเขต 8 เม.ย. 67

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จ่ายภาษีไม่ไหว แบ่งผ่อนชำระได้ ใครยื่นผิด-ใส่ข้อมูลไม่ครบ ยื่นเพิ่มเติมได้ หมดเขต 8 เม.ย. 67

Date Time: 24 ม.ค. 2567 09:43 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • กสิกรไทย เผยแพร่ข้อมูล ติวเข้ม “ยื่นภาษี 2566” ฉบับมนุษย์เงินเดือน ก่อนหมดเขต ยื่นภาษีแบบออนไลน์ 8 เม.ย. 2567 ใครบ้าง? ต้องยื่นภาษี และ หาก จ่ายภาษีไม่ไหว ต้องทำอย่างไร ข้อควรรู้ หากไม่ยื่นภาษี และ ไม่เสียภาษีตามกำหนด มีค่าปรับตามกฎหมาย ส่วนใคร ใส่ข้อมูลภาษีไม่ครบ กรมสรรพากร เปิดให้ยื่นเพิ่มเติมได้

Latest


คำถามยอดฮิตช่วงนี้ ว่าหาก ยื่นภาษีไม่ทัน หรือ ไม่จ่ายภาษี จะมีโทษร้ายแรงทางกฎหมายหรือไม่? รวมไปถึง ข้อสับสนอื่นๆ อย่างมากมายในเรื่องการยื่นภาษีของปี 2566 ก่อนที่ จะหมดเขตยื่นแบบออนไลน์ 8 เม.ย. 2567 เช่น ถ้าหากถูกเรียกเก็บภาษีก้อนใหญ่ แต่จ่ายภาษีไม่ไหว มีทางออกอย่างไรบ้าง? 

ข้อมูลจาก KBank Live ธนาคารกสิกรไทย ได้เผยแพร่คำตอบที่เป็นประโยชน์ไว้หลายข้อ ซึ่งจะทำให้ มนุษย์เงินเดือน เพิ่งหัดยื่นภาษีเป็นครั้งแรก เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังนี้ 

ยื่นภาษี 2566 ฉบับมนุษย์เงินเดือน 

1.ใครบ้างต้องเสียภาษี 

แน่นอนว่าคนที่ทำงานมีรายได้ ต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะต้องยื่นภาษีไหม และจะเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว มนุษย์เงินเดือนที่เข้าเกณฑ์ มี 2 รูปแบบ คือ 

  • คนที่เงินเดือนน้อยกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • คนที่เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และเสียภาษีด้วย

ส่วนการยื่นภาษีสามารถทำได้หลายช่องทางเช่นกัน 

7 ข้อตอน ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์

  1. เข้าเว็บไซต์ www.rd.go.th
  2. เลือก “ยื่นออนไลน์”
  3. เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ภ.ง.ด. 90/91
  4. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี
  5. กรอกข้อมูลเงินได้
  6. กรอกค่าลดหย่อน
  7. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยัน

ช่องทางอื่นๆ ได้แก่

  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax
  • ยื่นภาษีที่สำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่ โดยสามารถนำเอกสารและกรอกใบ ภ.ง.ด. ไปยื่นได้เลย
  • ยื่นภาษีทางไปรษณีย์ (เฉพาะคนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ)


2.ยื่นภาษีผิด-ใส่ข้อมูล ไม่ครบ แก้อย่างไร? 

สำหรับใครที่ยื่นภาษีผิดพลาดไป เช่น ใส่ข้อมูลไม่ครบ แนบเอกสารผิด เราสามารถยื่นใหม่ได้ จนกว่าจะหมดเวลาการยื่นภาษีในแต่ละปี โดยหากยื่นแบบออนไลน์ก็ให้เข้าไปยื่นใหม่ในระบบ เลือกหัวข้อ “ยื่นเพิ่มเติม” และแก้ไขหรือเพิ่มข้อมูลให้ถูกต้องก่อนกดยืนยันอีกครั้ง

  • ยื่นภาษีแบบกระดาษ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2567
  • ยื่นภาษีแบบออนไลน์ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. 2567

ส่วน ใครที่ยื่นภาษีเกินก็ขอเงินคืนได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

  • เช็กการขอคืนภาษี ที่เว็บไซต์ https://www.rd.go.th/272.html
  • คลิกสอบถามการคืนภาษี (E-Refund)
  • ส่งเอกสารเพิ่มเติม กรณีระบบมีการแจ้งเตือน
  • เลือกช่องทางการรับเงินภาษีคืน
  • พร้อมเพย์ / บัญชีธนาคารตามที่กำหนด / E-Money หรือ e-Wallet แอปฯ เป๋าตัง
  • รอรับเงินคืน

3.เงื่อนไข ค่าปรับ ในการยื่นภาษี 

ส่วนกรณี ที่เรายื่นภาษีไม่ทัน หรือ ไม่จ่ายภาษีนั้น สิ่งที่ต้องรับรู้ คือ มีโทษทางกฎหมาย ดังนี้ 

  • ไม่ยื่นภาษีในเวลาที่กำหนด จะมีโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท 
  • ไม่จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด มีโทษคือต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยคิดตั้งแต่วันที่เลยกำหนดยื่นจนถึงวันชำระภาษี

4.จ่ายภาษีไม่ไหว ผ่อนชำระได้ 

เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ ว่า ถ้าหากเราถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นก้อน แล้วจ่ายไม่ไหว ก็สามารถขอผ่อนชำระได้ โดยเงื่อนไขและขั้นตอนการขอผ่อนจ่ายภาษี มีดังนี้ 

เงื่อนไข

  • ต้องมียอดภาษีที่ต้องจ่าย 3,000.- ขึ้นไป
  • แบ่งผ่อนเป็น 3 งวด เท่ากัน 0% ไม่มีดอกเบี้ย
  • ติดต่อขอชำระได้ที่ สำนักสรรพากร หรือเว็บไซต์

ช่องทางการผ่อนชำระ

  • บัตรเครดิต
  • ตู้ ATM ธนาคารที่เข้าร่วม
  • Internet Banking & Mobile Banking
  • E-Payment
  • Tax Smart Card
  • Counter Service ไปรษณีย์, 7-11, Tesco Lotus, Big C

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ