เริ่มแล้ว “ยื่นภาษีปี 2566” กับ 6 เรื่องห้ามลืม ช้อปดีมีคืน-เงินบริจาค-ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เริ่มแล้ว “ยื่นภาษีปี 2566” กับ 6 เรื่องห้ามลืม ช้อปดีมีคืน-เงินบริจาค-ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้

Date Time: 4 ม.ค. 2567 10:26 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เริ่มแล้ว “ยื่นภาษีปี 2566” กรมสรรพากร เปิดให้ยื่นเอกสารด้วยตนเอง ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2567 และยื่นภาษีออนไลน์ ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567 ย้ำ เงินได้หรือรายรับต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีทางกฎหมาย พร้อมอัปเดต 6 เรื่องสำคัญ ห้ามลืม! กรอกในแบบฟอร์มยื่นภาษี ช้อปดีมีคืน-เงินบริจาค-ดอกเบี้ยบ้าน ใช้ “ลดหย่อนภาษี” ได้

Latest


ดีเดย์ กรมสรรพากร เปิดให้ยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2566” แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา 

  • การยื่นภาษีด้วยตนเองแบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากร จะเปิดให้ยื่นได้ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2567 
  • การยื่นภาษีเงินได้แบบออนไลน์ ที่ www.rd.go.th จะเปิดถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล


สำหรับบุคคลธรรมดา มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 แบบ ได้แก่

1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่นๆ

2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ หากเรามีเงินได้สุทธิต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นทางภาษีตามกฎหมาย ขณะรายได้มากกว่า 150,000 บาทต่อปี มีอัตราการเสียภาษีแตกต่างกันออกไป 


ตารางการเสียภาษี ตามฐานเงินเดือน (รายรับต่อปี)

  • 150,000-300,000 บาท จะเสียภาษี 5% 
  • 300,001-500,000 บาท จะเสียภาษี 10%
  • 500,001-750,000 บาท จะเสียภาษี 15% 
  • 750,001-1,000,000 บาท จะเสียภาษี 20% 
  • 1,000,001-2,000,000 บาท จะเสียภาษี 25% 
  • 2,000,001-5,000,000 บาท จะเสียภาษี 30% 
  • 5,000,001 ขึ้นไป จะเสียภาษี 35% 

6 เรื่อง ห้ามลืม “ยื่นภาษี 2566”

ซึ่งสิ่งที่ควรรู้นอกจากเอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง และการยื่นภาษีมีขั้นตอนอย่างไร? สิทธิลดหย่อนภาษี ก็เป็นสิ่งที่ห้ามลืมกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษีเช่นกัน ดังรายละเอียดทั้งหมดต่อไปนี้ 


1. เตรียมเอกสารสำหรับการยื่นภาษี 

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร, ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา 
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นภาษี 


2. ดอกเบี้ยบ้าน นำมาลดหย่อนภาษีอย่างไร? 

  • รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้บ้านในรอบปี 2566 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท 
  • กรณีที่ซื้อแบบกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยตามจำนวนคนกู้ร่วม 
  • ต้องใช้เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นหลักฐาน 


3. โครงการช้อปดีมีคืน ปี 2566 นำมาลดหย่อนภาษีได้ 

การซื้อสินค้า-บริการ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 - 15 ก.พ. 2566 ตามนโยบายช้อปดีมีคืนของรัฐบาล สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกิน 40,000 บาท แบ่งเป็น 

  • 30,000 บาท (ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ กระดาษ หรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐาน)
  • 10,000 บาท (ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ แบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น)


4. เงินบริจาค นำมาลดหย่อนภาษีได้ 

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังจากหักลดหย่อนภาษีแล้ว 
  • เงินบริจาค เพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี 
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 


5. เงินจ่ายเบี้ยประกันให้พ่อแม่ นำมาลดหย่อนภาษีได้ 

  • เบี้ยประกัน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท 
  • พ่อแม่ จะต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป

6. ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูพ่อแม่ นำมาลดหย่อนภาษีได้ 

  • จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน 
  • พ่อแม่จะต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท และมีอายุมากกว่า 60 ปี 
  • พี่น้องใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำซ้อนกันไม่ได้ 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ