ทำไม ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงลุกขึ้นมาให้ความสำคัญ พาองค์กร ไปสู่ Net Zero

Personal Finance

Banking & Bond

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

ทำไม ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงลุกขึ้นมาให้ความสำคัญ พาองค์กร ไปสู่ Net Zero

Date Time: 7 ธ.ค. 2566 06:00 น.
Content Partnership

Summary

  • - การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศของโลกสามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบ เศรษฐกิจ TDRI คาดการณ์ว่าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 3.2 องศาเซลเซียส GDP ของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบถึง 44%
  • - สถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางทางกลางเงินในการจัดสรรเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจ เป็นหนึ่งในแรงหนุนที่จะพาธุรกิจขับเคลื่อนไปยังเป้าหมายความยั่งยืนได้เร็วยิ่งขึ้น
  • - ธนาคารไทยพาณิชย์ มีนโยบายความยั่งยืนทั้งการสนับสนุนด้านการเงินแก่ลูกค้าที่มีเป้าหมายในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และการนำแนวคิด ESG มาผสานไว้ในแผนธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ประชาคมโลกต่างกำลังร่วมเผชิญและเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมีใครจะหาทางออกเพียงผู้เดียวได้เป้าหมายความยั่งยืนจึงเป็นเป้าหมายร่วมที่ต้องพากันเดินหน้าไปให้ถึง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศของโลกก็สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจเช่นกัน TDRI คาดการณ์ว่าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 3.2 องศาเซลเซียส GDP ของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบถึง 44% เลยทีเดียว

เพื่อยับยั้งความสูญเสียจากวิกฤตดังกล่าวเป้าหมายด้านความยั่งยืนจึงถูกกำหนดขึ้น

เพื่อการแก้ปัญหานี้ และเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันหาทางออก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันเรื่องความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริง ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมายปลายทางที่ Net Zero และสถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางทางกลางเงินในการจัดสรรเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจ ก็เป็นหนึ่งในแรงหนุนที่จะพาธุรกิจขับเคลื่อนไปยังเป้าหมายความยั่งยืนนั้นได้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อเมื่อธุรกิจยั่งยืน โลกก็จะยั่งยืนด้วย

แล้วสถาบันการเงินจะหนุนการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ Net Zero ได้อย่างไร

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ด้วยความเชื่อที่ว่า ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดที่ทุกคนต้องร่วมก้าวไปด้วยกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะธนาคารของคนไทยที่ยืนหยัดคู่สังคมไทย และด้วยบทพิสูจน์ที่ได้รับความไว้วางใจมากว่า 116 ปี ยึดมั่นในคุณค่าความยั่งยืนบนหลักการธรรมาภิบาล และตระหนักถึงการสร้างคุณค่าให้แก่ องค์กร ลูกค้า และสังคมโดยรวมมาโดยตลอด จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ท้าทายนี้ ผ่านการทำหน้าที่ของสถาบันการเงินหลักของประเทศอย่างมุ่งมั่นในทุกมิติ และพร้อมจะเป็นผู้นำในการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนแก่ลูกค้าที่มีเป้าหมายในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกทุกระดับ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศและโลกไปสู่เป้าหมาย Net Zero รวมถึงการรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ตลอดจนร่วมสนับสนุนด้านการให้ความรู้แก่องค์กรต่างๆ เพื่อบูรณาการแนวทางความยั่งยืนให้เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้ทุกองค์กรสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันธนาคารไทยพาณิชย์จึงนำนโยบาย ESG มาผสานไว้ในแผนธุรกิจของธนาคารเพื่อรักษาขีดความสามารถ และการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ด้วยแผนการดำเนินงานภายในของธนาคารภายในปี 2030 และการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 เพื่อนำพาองค์กร ลูกค้า และสังคม ให้ก้าวไปข้างหน้าและสร้างการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ภายใต้แนวทางปฏิบัติ 3 ส่วน

1.ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030

ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ได้ทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ลดการใช้พลังงานในอาคาร 10-15% ด้วยการเพิ่มแสงสว่างภายในตัวอาคาร เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED ที่ให้การส่องสว่างได้มากกว่าและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม พัฒนาระบบถ่ายเทความร้อนในอาคารเตรียมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร เปลี่ยนมาใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 3,000 เครื่อง รวมถึงเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% แทนรถยนต์สันดาป โดยคาดว่าการดำเนินการทั้งหมดจะสำเร็จ 100% ภายในปี 2028

2.สนับสนุนผลิตภัณฑ์การเงินยั่งยืนให้ลูกค้า มุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050

เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์จึงเข้ามามีส่วนในการผลักดันให้ลูกค้าทุกกลุ่มเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทาง Net Zero ร่วมกัน ผ่านการสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อและการลงทุนจำนวน 100,000 ล้านบาทภายในปี 2025

3.ผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมโดยรวม

ธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับองค์กรให้แก่ลูกค้าธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ SME และลูกค้ารายย่อย เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถปรับตัวรองรับกับโลกใหม่ที่ยั่งยืนไปด้วยกันได้ โดยเริ่มบทบาทในการช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าใจ เข้าถึงความรู้ เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่สังคม Net Zero ถือเป็นแกนสำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยธนาคารเร่งเสริมสร้างความตระหนักรู้ของลูกค้าในประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโอกาสจากการดำเนินธุรกิจ พร้อมจัดสัมมนาและแบ่งปันความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ผ่านหลักสูตรต่างๆ รวมถึงเสริมสร้างองค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติที่ดีกับลูกค้าพันธมิตรที่มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ หลักสูตร “MISSION X” The Boot Camp of Advanced Corporate Transformation ให้แก่ผู้นำองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ โดยที่เพิ่งจบไปล่าสุด คือ MISSION X รุ่นที่ 6 ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงแรมและโรงพยาบาล และเร็วๆ นี้เตรียมนำหัวข้อ Climate Change ซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ในหลักสูตร MISSION X ที่จัดให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมในภาคใต้โดยเฉพาะ

สำหรับลูกค้า SME ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในการปรับตัวสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ธนาคารได้นำหลักสูตร ESG Bootcamp เพิ่มกำไร SME อย่างยั่งยืน โดยนำองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำเรื่อง ESG ถ่ายทอดให้ SMEปรับตัวรับกับบริบทใหม่ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและช่วยให้ธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โดยปีนี้มีลูกค้าทั้งรายใหญ่ และ SME สนใจเข้าร่วมหลักสูตรของธนาคารกว่า 500 บริษัททั้งยังได้ดำเนินโครงการการช่วยเหลือเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมรวม 14 โครงการหลัก อาทิ โครงการปลูกและอนุรักษ์ป่า โครงการจัดหาแหล่งน้ำ การพัฒนาชีวิตเยาวชน และชุมชนที่ดำเนินการมามากกว่า 30 ปี รวมถึงมุ่งผลักดันให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเพื่อให้คนไทยเห็นภาพตรงกันว่าเราทุกคนสามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้

ผลตอบรับการเงินเพื่อความยั่งยืนที่เติบโตมากกว่าเป้าหมาย

จากการที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เร่งสร้างความตระหนักรู้ของลูกค้าในประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโอกาสจากการดำเนินธุรกิจ พร้อมจัดสัมมนาและแบ่งปันความรู้ผ่านหลักสูตรต่างๆ รวมถึงเสริมสร้างองค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติที่ดีกับลูกค้าพันธมิตรที่มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ SME และลูกค้ารายย่อย เห็นความสำคัญและให้ความสนใจ เตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อดำเนินธุรกิจที่สอดรับกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้สินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนเติบโตมากกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้

ในไตรมาส 3 ของปี 2566 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้การสนับสนุนการเงิน เพื่อความยั่งยืนแก่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นจำนวน 52,000 ล้านบาท เติบโตกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้ในปี 2566 ที่ 30,000 ล้านบาท หรือ 52% ของเป้าหมาย 3 ปีที่ตั้งเอาไว้ 1 แสนล้านบาทในปี 2568 นับเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือกันระหว่างธนาคารและลูกค้าที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับประเทศไทย ผ่านการดำเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน

การสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืนดังกล่าวครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใน 11 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ อาทิ การท่องเที่ยว พลังงาน และภาคการผลิต เป็นต้น ในจำนวนนี้มีโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ไฟฟ้าพลังงานทางเลือกจำนวน 12,600 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 10,000 ล้านบาท การสนับสนุนการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่า 26,100 ล้านบาท รวมทั้งธุรกิจ SME SSME และลูกค้าบุคคลอีกกว่า 3,000 ล้านบาท

จากการที่มีผู้เข้ารับการสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืนสูงกว่าเป้าที่ตั้งเอาไว้ สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ เช่นเดียวกับที่ธนาคารไทยพาณิชย์ก็พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนแก่ลูกค้าทุกระดับ และร่วมผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์กรและสังคมโดยรวม เพื่อขับเคลื่อนประเทศและโลกไปสู่เป้าหมาย Net Zero ดังที่ตั้งปณิธานไว้

#ไทยพาณิชย์ #SCB #SCBSustainability #SCBNetZero #PRNews


Author

Content Partnership

Content Partnership