เงินไม่พอใช้-รายได้ไม่พอจ่าย เป็น "หนี้" รุงรัง มัดรวมวิธีจัดการ "การเงิน" ส่วนบุคคลฉบับย่อ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เงินไม่พอใช้-รายได้ไม่พอจ่าย เป็น "หนี้" รุงรัง มัดรวมวิธีจัดการ "การเงิน" ส่วนบุคคลฉบับย่อ

Date Time: 26 พ.ย. 2566 10:21 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • มัดรวมวิธีง่ายๆ จัดการ ”การเงิน” ส่วนบุคคล หากคุณกำลังเจอปัญหา เงินไม่พอใช้-รายได้ไม่พอจ่าย ส่วน “หนี้เก่า” ก็ยังไม่จบ กฎการเงิน 50:30:20 อาจช่วยได้ และ 3 วิธีบริหาร “หนี้” ที่ผ่อนไม่ไหวฉบับเบื้องต้น

Latest


เงินเดือนหมดก่อนสิ้นเดือน, เงินไม่พอใช้ตลอด มักเป็นปัญหาที่หลายคนเผชิญอยู่เป็นประจำๆ โดย ปัญหาการเงิน รายได้ไม่พอ งบการเงินติดลบ หนี้สินพัวพัน ยังนำมาซึ่ง “ความเครียด” Burnout ในการทำงาน และกดให้ชีวิตจมอยู่กับความทุกข์ ไร้เป้าหมาย อีกด้วย

ซึ่งหากคุณ ไม่อยากให้เกิดปัญหาที่กล่าวมากับตนเอง การทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย และรู้เท่าทัน พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง ก็อาจช่วยแก้ความยุ่งเหยิงลงได้ ทั้งนี้ Thairath Money รวบรวมเทคนิคการเงินดีๆ มาแนะนำ ตามลักษณะของปัญหา ที่พบเจอบ่อยๆ ดังนี้  

3 วิธีแก้ รายได้ไม่พอใช้ 

รายได้ไม่พอใช้ หรือมีภาระที่ต้องจ่ายสูงมาก ไม่ใช่ไม่มีทางแก้ ลองดู 3 วิธีง่ายๆ นี้ก่อน 

1. ได้เงินมาแบ่งใช้ให้เป็นสัดส่วน 

ด้วยกฎ 50:30:20 โดยแบ่งตามนี้

  • เงินสำหรับใช้ 50
  • เงินสำหรับช็อป 30
  • เงินสำหรับออม 20

2. หางานเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ลองทำอาชีพเสริมหรืองานพิเศษทำเพื่อให้มีเงินมากขึ้น

เช่น การรีวิวสินค้า การทำ Affiliate

3. จำกัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รายจ่ายไหนที่ฟุ่มเฟือยควรตัดทิ้งหรือลดให้น้อยลง และหาวิธีลดหนี้ให้หมดไปด้วยเช่นกัน

มีหนี้เยอะ ผ่อนไม่ไหว 

สำหรับหลายคน ที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้หลายก้อน ต้องผ่อนเยอะ แนะนำ ลองทำตาม 3 วิธี 

  • วางแผนชำระหนี้ให้ชัดเจน ว่าแต่ละเดือนจะจ่ายหนี้ไหนเท่าไร 
  • เจรจาขอลดดอกเบี้ย เข้าไปคุยต่อรองกับสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อขอลดดอกเบี้ยที่มี
  • หาทางลดค่าใช้จ่าย เช็กค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและตัดออกไปเพื่อลดภาระที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนให้น้อยลง

นิสัยใช้จ่ายเกินรายได้ จัดการอย่างไร?

หากคุณมีนิสัยนักช็อป มักใช้จ่ายเกินรายได้อยู่บ่อยๆ อาจต้องจัดการกับพฤติกรรมที่ว่านี้ ด้วย 3 วิธีดังนี้ 

  1. ทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรลดค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้าง
  2. หยุดคิดและตัดสินใจให้ดีก่อนซื้อ คิดให้รอบคอบว่าสิ่งที่จะซื้อคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน
  3. หลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่จำเป็น  ก่อนจ่ายทุกครั้งถามตัวเองซ้ำๆ ว่าจำเป็นจริงๆ ไหมในสิ่งที่กำลังจะซื้อ

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ