กสิกรไทยคาดเฟดคงดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย เชื่อดอกเบี้ยสูงถึงกลางปีหน้า

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กสิกรไทยคาดเฟดคงดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย เชื่อดอกเบี้ยสูงถึงกลางปีหน้า

Date Time: 30 ต.ค. 2566 15:30 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • การประชุม FOMC วันที่ 31 ต.ค. - 1 พ.ย. 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดเฟดคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% แต่อาจยังคงเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ หากเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวสูงขึ้น

Latest


ในการประชุม FOMC วันที่ 31 ต.ค.- 1 พ.ย. นี้ ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% เพื่อรอดูแนวโน้มเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยแม้ว่าเงินเฟ้อจะยังคงสูงกว่าเป้าหมายและตลาดแรงงานยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่เมื่อมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามเงินออมที่ลดลงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่าง รวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา 

ทั้งนี้ แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อ ตลาดแรงงาน รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสะท้อนภาพ แข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ยังคงทรงตัวอยู่ระดับสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 3.7% และ 4.1% ตามลําดับในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา 

ขณะที่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือนก.ย. ที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นกว่าคาดและสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 3.4 แสนราย นอกจากนี้ ตัวเลข GDP สหรัฐฯ ในไตรมาส 3/2566 ขยายตัวสูงกว่าคาดที่ 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง 

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการดําเนินนโยบายการเงิน แบบตึงตัวของเฟด อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าความจําเป็นที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อนั้น คงมีลดลงหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 11 ครั้งนับตั้งแต่ มี.ค. 2555 ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ แตะระดับ 5.25-5.50% สูงสุดในรอบ 22 ปี ทั้งนี้ จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่ผ่านมาคาดว่าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริงที่ชัดเจนขึ้นในระยะข้างหน้า 

โมเมนตัมการใช้จ่ายของผู้บริโภคคาดอ่อนแรงลงตามเงินออม

โดยโมเมนตัมการใช้จ่ายของผู้บริโภคคาดว่าจะอ่อนแรงลงตามเงินออมจากช่วงวิกฤติโควิดที่ทยอยลดลงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังเป็นความไม่แน่นอนที่สําคัญ

เฟดอาจยังคงเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ หากเงินเฟ้อเร่งตัวสูง

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเฟดอาจยังคงเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ในคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า (Fed Dot Plot) จากการประชุมครั้งก่อนหน้า หากเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการส่งสัญญาณของเฟดก่อนหน้านี้ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 2.0% อย่างมีนัยสําคัญ และตลาดแรงงานที่ยังสะท้อนภาพแข็งแกร่งต่อเนื่อง 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไปแตะระดับสูงสุดที่ 5.50- 5.75% หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ กลับมาเร่งตัวสูงขึ้นท่ามกลางความเสี่ยงจากราคาน้ํามันที่มีความผันผวน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองความน่าจะเป็นต่อกรณีนี้ค่อนข้างต่ำ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ําหนักมากสุดต่อกรณีเฟดสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในรอบวัฏจักรนี้และคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% ไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย

เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ช่วงครึ่งปีหลังของปี 67 

อย่างไรก็ดี เฟดมีแนวโน้มที่จะคงดอกเบี้ยสูงและนานกว่าที่คาด (Higher for longer) หากเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าปรับลดลงช้าและหากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงไม่ชะลอตัวลงอย่างที่คาด โดยเฟดอาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้าไปแล้ว ซึ่งจังหวะการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ออกมาเป็นสําคัญ 

ทั้งนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐฯ ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มที่จะยังเผชิญความผันผวนต่อไปในระยะข้างหน้า หากเฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าคาด หรือคงดอกเบี้ยนโยบายยาวนานกว่าคาด ค่าเงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ฯ ได้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ