ทิสโก้ มาตามนัดกำไร Q3 ที่ 1.8 พันล้าน โต 5% รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม สินเชื่อรายย่อยโตแรง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทิสโก้ มาตามนัดกำไร Q3 ที่ 1.8 พันล้าน โต 5% รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม สินเชื่อรายย่อยโตแรง

Date Time: 11 ต.ค. 2566 18:07 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • TISCO แจ้งผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2566 มีกำไรสุทธิ 5,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% ขณะที่งวดไตรมาส 3 ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.7% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า โดยมีแรงหนุนจากการขยายตัวของสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุ่มสินเชื่อรายย่อยที่มีผลตอบแทนสูง ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสามารถเติบโตได้ดี

Latest


ไตรมาส 3 ปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 1,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.7%

บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รายงานผลการดำเนินงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2566 บริษัทฯ มีกําไรสุทธิสำหรับผลประกอบการงวดไตรมาส 3 ปี 2566 อยู่ที่ 1,874.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101.06 ล้านบาท หรือ 5.7% จากไตรมาส 3 ปี 2565 โดยรายได้รวมจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้น 7.6% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้น ของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ 10.4% เป็นไปตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อกว่า 8.7% จากไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า 

ในขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1.08% มาเป็น 2.00% สอดคล้องกับสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ในตลาด ในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักชะลอตัวลง 4.7% จากธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ตามปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ชะลอตัวในสภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึงถึง พร้อมด้วยการชะลอตัวของธุรกิจหลักทรัพย์ ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงอย่างมากท่ามกลางความผันผวนของตลาดทุน 

อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมพื้นฐานธุรกิจจัดการกองทุนขยายตัว สอดคล้องกับการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานเพิ่มขึ้น 8.6% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแผนการเติบโตในระยะยาวของบริษัท 

เมื่อเทียบกับงวดไตรมาส 2 ปี 2566 กําไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.60 ล้านบาท หรือ 1.1% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ปรับตัวที่เพิ่มขึ้น 4.0% สอดคล้องกับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อที่ 0.6% จากไตรมาสก่อนหน้า อีกทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.4% จากทุกธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการรับรู้ผลขาดทุนจาก เครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านงบกําไรขาดทุน (FVTPL) เทียบกับผลกําไรในไตรมาสก่อน เนื่องมาจากความผัน ผวนของตลาดทุน ด้านค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานลดลง 2.1% จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ลดลงตามฤดูกาล


ส่วนกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic earnings per share) สําหรับงวดไตรมาส 3 ปี 2566 เท่ากับ 2.34 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น จาก 2.21 บาทต่อหุ้นในไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจาก 2.32 บาทต่อหุ้นในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทน ต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) อยู่ที่ 18.6%

9 เดือน ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 5,521 ล้านบาท

กําไรสุทธิสําหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 ของบริษัทมีจํานวน 5,520.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยบริษัทมีรายได้รวมจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้น 5.8% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ เติบโต 9.3% ตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อ แม้ว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทจะเพิ่มขึ้นกว่า90.8% ตามทิศทาง ดอกเบี้ยขาขึ้นในตลาด ประกอบกับการปรับอัตราเงินนําส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) กลับสู่ระดับปกติที่ 0.46% ต่อปี ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 2.4% จากการชะลอตัวลงของธุรกิจ หลักทรัพย์เนื่องมาจากความผันผวนของตลาดทุน ประกอบกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่อ่อนตัวลงในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยพื้น

ตัวอย่างไม่ทั่วถึง สําหรับค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.9% จากนโยบายการลงทุนระยะยาวเพื่อการขยายตัว ของธุรกิจ ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic earnings per share) สําหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 เท่ากับ 6.90 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 6.77 บาทต่อหุ้นในงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 และมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) อยู่ที่ 17.7%

ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผยว่า ผลประกอบการข้างต้นได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุ่มสินเชื่อรายย่อยที่มีผลตอบแทนสูง ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสามารถเติบโตได้ดี แม้ว่าต้นทุนทางการเงินจะปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในด้านรายได้ค่าธรรมเนียมอ่อนตัวลงตามภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวยและเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้า 

ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs ratio) เพิ่มเป็น 2.25% จากไตรมาสก่อนที่ 2.20% จากกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง บวกกับแรงกดดันด้านกำลังซื้อในลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ การตั้งสำรองหนี้สูญขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า

“สินเชื่อประเภทดอกเบี้ยคงที่ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ทิสโก้จึงปรับกลยุทธ์โดยมุ่งการเติบโตไปในกลุ่มสินเชื่อรายใหญ่ที่มีโครงสร้างงบดุลแข็งแกร่ง และใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว รวมถึงขยายการเติบโตไปยังสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ผ่านการเร่งขยายสาขา “สมหวัง เงินสั่งได้” เพื่อชดเชยผลกระทบด้านลบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดยังคงเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนและค่าครองชีพที่ทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในวงกว้าง ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา ทิสโก้จึงเพิ่มระดับความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น” 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ