หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที และปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2566 มาอยู่ที่ 2.8% จากเดิมที่ระดับ 3.6% และปรับเพิ่ม GDP ในปี 2567 เป็น 4.4% จากระดับเดิมที่ 3.8% ซึ่งส่งผลต่อดอกเบี้ยในตลาดให้ต้องขยับตัวเช่นกัน
ล่าสุดพบว่า มีบางธนาคารที่นำร่องขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลโดยตรงกับผู้กู้ ที่อาจทำให้มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น แต่กระนั้นกลับพบว่าสถาบันการเงินบางแห่ง ยังคงประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จนถึงสิ้นปี 2566 และบางแห่งยังคงดอกเบี้ยเดิม
ในครั้งนี้ #Thairath Money ได้ทำการรวบรวมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (ต่อปี) ของ 10 สถาบันการเงินในไทย ไว้ดังนี้
- ธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นรายแรกที่ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อปรับขึ้น 0.25% โดยเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) เป็น 7.30% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ (MLR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) เป็น 7.10% ต่อปี และเอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) เป็น 7.55% ต่อปี โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2566
- ธนาคารกรุงไทย ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.320% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 6.800% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.270% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ซึ่งยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารกสิกรไทย ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.05% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 7.02% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.34% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.050% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 6.800% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.325% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.150% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 7.030% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.325% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารทหารไทยธนชาต ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.58% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 7.475% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.60% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนที่ปรับขึ้นจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีดิจิทัล ทีทีบี มีเซฟ (ttb ME save) รับดอกเบี้ยสูงสุดรวมโบนัส 2.20% ต่อปี มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ขานรับมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.50% ต่อปีของ กนง. หวังส่งเสริมให้ลูกค้ามีเงินออมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างวินัยทางการเงินเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น
- ธนาคารยูโอบี ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 8.55% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 8.00% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 8.10% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 8.550% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 7.825% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 8.200% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 6.900% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 6.500% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 6.650% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- ธนาคารทิสโก้ ประกอบด้วย เอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ 7.900% ต่อปี เอ็มแอลอาร์ อยู่ที่ 7.850% ต่อปี และเอ็มโออาร์ อยู่ที่ 7.850% ต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2566 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด