4 ยักษ์อสังหาฯ เร่งออกหุ้นกู้ขายเดือนก.ค. กูรู ชี้ ช่วยสร้างกระแสเงินสดได้เร็วกว่ากู้แบงก์

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

4 ยักษ์อสังหาฯ เร่งออกหุ้นกู้ขายเดือนก.ค. กูรู ชี้ ช่วยสร้างกระแสเงินสดได้เร็วกว่ากู้แบงก์

Date Time: 2 ก.ค. 2566 10:14 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Latest


แม้ตลาดหุ้นกู้จะเผชิญกับความท้าทายจากการผิดนัดชำระหนี้ของ STARK แต่ก็ไม่ทำให้ตลาดหุ้นกู้เงียบเหงา ในทางกลับกัน บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ เดินหน้าออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด Thairath Money ได้เก็บข้อมูลการออกหุ้นกู้ ที่แสดงในเว็บไซต์ ThaiBMA พบว่า มี  4 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีการออกหุ้นกู้ ประกอบด้วย

 

 

บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (FPT) ยื่นแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่

 

เปิดให้จองซื้อในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2566 โดยมี ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

 

จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566

 - องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ A

 - หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ A

โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อชำระคืนหนี้ของกลุ่มบริษัท

 

 

 

 

บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (A) ยื่นร่างแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)โดยคาดว่าออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่

 

หลักประกัน คือ ที่ดินเปล่า และที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างรวม ส่วนควบบนที่ดินทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต และห้องชุดในอาคารชุด บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม มูลค่ารวมทั้งสิ้น ประมาณ 611,998,000.00 บาท

หุ้นกู้ดังกล่าวแบ่งออกเป็นดังนี้

1. ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2568 อัตราดอกเบี้ย 6.85% ต่อปี

2. ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2569 อัตราดอกเบี้ย 7.25% ต่อปี

 

เปิดให้จองซื้อในระหว่างวันที่ 3-4 และ 7-8 สิงหาคม 2023 โดยมีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังนี้

1. บริษัท หลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด

3. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

5. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)

6. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด  

 และ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

 

จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2022

 - องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ B+

 - หุ้นกู้ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

 

 

 

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (AP) ยื่นร่างแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน อายุ 4 ปี รอประกาศดอกเบี้ย จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่เปิดให้จองซื้อในเดือน กรกฎาคม 2023 (รอประกาศวันที่จองซื้อ) โดยมี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

 

จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2023

 - องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ A

 - หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ [ ]

 

โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ดังนี้

1. ชำระคืนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในเดือนสิงหาคมของปี 2566

2. เป็นเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือเพื่อชำระคืนหนี้สถาบันการเงิน (ซึ่งอาจรวมถึงผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้)

3. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

 

 

 

บริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) (CWTTH) ยื่นแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ซึ่งผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด อายุ 2 ปี ดอกเบี้ย 6.90% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่

 

เปิดให้จองซื้อในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2023 และ 3-4 กรกฎาคม 2023 

โดยมีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังนี้

- บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด

- บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด

- บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด

- บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)

- บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด

 

และ บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

 

 - องค์กรไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

 - หุ้นกู้ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

 

โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ดังนี้

1. เพื่อใช้ชำระคืนหุ้นกู้ของบริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 2/2564 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2566 ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน

2. เพื่อใช้ลงทุนในการซื้อที่ดิน

3. เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

 

 

 

 

บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (ORI) ยื่นแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และ/หรือ ผู้ลงทุนสถาบัน

 

หุ้นกู้ดังกล่าวแบ่งออกเป็นดังนี้

1. ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2569 อัตราดอกเบี้ย 4.40% ต่อปี

2. ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2570 อัตราดอกเบี้ย 4.60% ต่อปี

 

เปิดให้จองซื้อในระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2023 และ 10 กรกฎาคม 2023 

โดยมีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังนี้

- ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน)

- ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)

- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จํากัด (มหาชน)

- บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จํากัด (มหาชน)

- บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด

- บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จํากัด

- บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จํากัด

- บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จํากัด (มหาชน)

 

และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

 

จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566

 - องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ BBB+

 - หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ BBB+

 

นาย สุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด (Property DNA) บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า การขอสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีนี้จึงอาจจะดูเหมือนไม่ง่าย ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ง่ายมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในฝั่งของผู้ประกอบการ

ซึ่งเมื่อกำลังซื้อในตลาดไม่ดี ยอดขายหรือยอดจองไม่สูงมาก การขอสินเชื่อธนาคารเพื่อพัฒนาโครงการก็ทำได้ยากขึ้น

ผู้ประกอบหลายรายในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีทางเลือกอื่นๆ ในการหาเงินทุนมาพัฒนาโครงการหรือหมุนเวียนในบริษัทจึงเลือกวิธีการออกหุ้นกู้

แม้ว่าการออกหุ้นกู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น และมากกว่าดอกเบี้ยธนาคาร แต่การได้เงินมาหมุนเวียนที่รวดเร็วกว่า ขั้นตอนในการตรวจสอบไม่มาก และนำมาหมุนเวียนในโครงการของตนเองได้สะดวก

เวลาใช้คืนก็มีกำหนดที่ตายตัวอยู่แล้วทั้งในเรื่องของระยะเวลา และดอกเบี้ย ผู้ประกอบการมีหน้าที่แค่หารายได้มาชำระเมื่อครบกำหนดก็เรียบร้อยไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายออกหุ้นกู้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวกันมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ยกเว้นบางรายเท่านั้นที่เป็นข่าวว่าผิดนัดชำระหุ้นกู้ แต่รายอื่นๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถจัดการได้แบบไม่มีปัญหา

แต่ด้วยสถานการณ์ต่างๆ และทิศทางของกำลังซื้อที่ดูเหมือนจะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ตอนปีที่แล้ว จึงเริ่มมีความวิตกกังวลว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องหุ้นกู้ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาอาจจะใหญ่กว่าที่ผ่านมา

เพราะจำนวนของหุ้นกู้ในตลาดที่ออกจากผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นมีไม่น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องของหุ้นกู้นี้ก็อาจจะมีปัญหาไม่มากหรือไม่มีปัญหาอะไรเลยก็ได้ เพราะผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ขาดแคลนเงินสด หรือไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทขนาดนั้น

เพียงแต่การออกหุ้นกู้เป็น 1 ในวิธีการใช้เงินคนอื่นเพื่อนำมาสร้างรายได้ให้กับบริษัทเท่านั้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์