ธปท. เผย หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการทดสอบ พร้อมให้บริการวงกว้าง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ธปท. เผย หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการทดสอบ พร้อมให้บริการวงกว้าง

Date Time: 30 ต.ค. 2565 16:05 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • โครงการระบบหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG on Blockchain) ของธนาคาร 18 แห่ง ผ่านการทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox ธปท. แล้วและพร้อมให้บริการในวงกว้าง

Latest


โครงการระบบหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG on Blockchain) ของธนาคาร 18 แห่ง ผ่านการทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox ธปท. แล้วและพร้อมให้บริการในวงกว้าง

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน Bangkok Digital Finance Conference 2022 ว่า โครงการระบบหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG on Blockchain) ของธนาคาร 18 แห่ง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (BCI) ได้ผ่านการทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox ธปท. แล้ว และพร้อมให้บริการในวงกว้าง

โครงการ e-LG on Blockchain เกิดจากความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทยผ่านการจัดตั้ง BCI เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของการให้บริการหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee หรือ LG) ที่เดิมออกในรูปแบบกระดาษ ซึ่งใช้เวลานานและมีโอกาสเกิดทุจริตได้ง่าย โดย BCI ได้นำเทคโนโลยี Blockchain ที่มีจุดเด่นในด้านความโปร่งใสและการป้องกันการลักลอบแก้ไขข้อมูลมาประยุกต์ให้สามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารที่เป็นสมาชิกของ BCI ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการขอ LG จาก 3-7 วัน เหลือเพียงไม่เกิน 1 ชั่วโมง รวมทั้งลูกค้าที่เป็นองค์กรสามารถบริหารจัดการ LG ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โครงการนี้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยปัจจุบันมีหนังสือค้ำประกันในระบบ e-LG กว่า 1 แสนรายการ มูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านบาท ส่วนสมาชิกของ BCI มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ 19 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 3 แห่ง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง และองค์กรภาคเอกชนกว่า 170 ราย โดย Platform ของ BCI มีศักยภาพที่จะรองรับ use cases อื่นๆ ที่หลากหลายในอนาคต และสามารถพัฒนาเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจและประเทศไทย

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประยุกต์ใช้ Blockchain สำหรับโครงการดังกล่าว ธนาคารที่เข้าร่วมทดสอบ และ BCI ต้องผ่านการประเมินภายใต้ Regulatory Sandbox ของ ธปท.อย่างเข้มข้นก่อน ทั้งเรื่องการกำกับดูแลโครงการ เสถียรภาพของเทคโนโลยี รวมถึงความปลอดภัยด้าน IT จนมั่นใจได้ว่าพร้อมให้บริการในวงกว้างได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ธปท. ก็ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทดสอบโครงการดังกล่าว มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแนวปฏิบัติเรื่องการใช้เทคโนโลยี Blockchain สำหรับการให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ผู้ให้บริการที่ประสงค์นำ Blockchain มาใช้ให้บริการทางการเงินในอนาคต สามารถนำไปใช้อ้างอิงต่อไปได้

ธนาคารทั้ง 18 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น Private Node 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารออมสิน

และ Common Node 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่นธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ