แนะวิธี "แก้หนี้" แบบยั่งยืน อย่ากู้มาโปะซ้ำซาก หลุดจากวงจรเงินผ่อนยาก

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แนะวิธี "แก้หนี้" แบบยั่งยืน อย่ากู้มาโปะซ้ำซาก หลุดจากวงจรเงินผ่อนยาก

Date Time: 30 ส.ค. 2565 10:25 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ศคง.แนะวิธี "แก้หนี้" แบบยั่งยืน เตือนอย่ากู้มาโปะซ้ำซาก วางแผนไม่ดี อาจกลายเป็นเพิ่มภาระหนี้ให้มากกว่าเดิม แถมหลุดจากวงจรเงินผ่อนยาก

Latest


ศคง.แนะวิธี "แก้หนี้" แบบยั่งยืน เตือนอย่ากู้มาโปะซ้ำซาก วางแผนไม่ดี อาจกลายเป็นเพิ่มภาระหนี้ให้มากกว่าเดิม แถมหลุดจากวงจรเงินผ่อนยาก

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 65 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ศคง. ได้เผยแพร่ข้อมูล เรื่องการจัดการหนี้ โดยระบุว่า เวลาไม่มีทางออกเรื่องการจ่ายหนี้ เรามักนึกถึงการกู้มาโปะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เอาตัวรอดเป็นงวดๆ ไป

ทั้งนี้ ถ้าเราคิดไม่รอบคอบ วางแผนไม่ดี อาจกลายเป็นเพิ่มภาระหนี้ให้มากกว่าเดิม ดังนั้นก่อนคิดจะกู้หนี้ไปโปะหนี้ ต้องไตร่ตรองให้ดี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้มาโปะหนี้บัตรเพื่อมีวงเงินหมุนเวียนไว้ใช้ต่อ หรือ กู้มาจ่ายหนี้ เพราะไม่อยากให้เสียเครดิต แม้ความจริงจะจ่ายไม่ไหว

โดย ศคง. แนะนำให้ลองวิธีแก้ปัญหาหนี้แบบอื่น เช่น เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอลดดอกเบี้ย พักเงินต้น หรือแปลงหนี้บัตรเป็นสินเชื่อระยะยาว รวมไปถึงดูมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น และแก้หนี้บัตรกับโครงการคลินิกแก้หนี้

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วม "โครงการคลินิกแก้หนี้" มีดังนี้

- เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี

- เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มี หลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ

- เป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อน 1 เม.ย. 65 (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน มี.ค. 65 ต้องมีสถานะค้างชำระ 91-120 วันขึ้นไป)

- หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ส่วนลูกหนี้ที่มีประวัติการจ่ายหนี้ตามปกติ แต่คิดว่าผ่อนไม่ไหว ทางแบงก์ชาติแนะนำให้ติดต่อกับธนาคารโดยตรง เพื่อทำการ "รวมหนี้" โดยการรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก คือ

1. การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน

2. การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้

3. การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน

โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้ ดังนี้

1. ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้

2. ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้

3. ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้คุยกับธนาคารโดยตรง เพราะการออกแบบเรื่องการรวมหนี้นั้นจะพิจารณาและทำเป็นรายบุคคคล โดยสามารถดูรายละเอียดธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ 

ขอบคุณข้อมูลจาก ศคง. 1213


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ