ธนาคารโลกจี้ไทยปฏิรูปเศรษฐกิจ รื้อเกณฑ์ล้าหลังดึงเงินต่างชาติ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ธนาคารโลกจี้ไทยปฏิรูปเศรษฐกิจ รื้อเกณฑ์ล้าหลังดึงเงินต่างชาติ

Date Time: 23 ก.พ. 2565 06:53 น.

Summary

  • ช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 สูงมาก แม้ว่าตัวเลขล่าสุดเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกกลับมีลดประมาณการการขยายตัวปีนี้ลงจาก 5.5% เหลือ 4%

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวในงานเปิดตัว “รายงานการวิเคราะห์ภาคเอกชนของประเทศไทย : พลิกฟื้นผลิตภาพด้วยเครื่องยนต์ใหม่ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยืดหยุ่นและมั่นคง” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) โดยระบุว่า ช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 สูงมาก แม้ว่าตัวเลขล่าสุดเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกกลับมีลดประมาณการการขยายตัวปีนี้ลงจาก 5.5% เหลือ 4% และจะส่งผลกระทบต่อของไทย

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดีจากภาคการผลิต และการส่งออก แต่หลายปีที่ผ่านมาพบว่า การลงทุนใหม่ๆที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับประเทศลดลงมาก เช่นเดียวกับการลงทุนจากต่างประเทศที่ชะลอลง เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านปรับเปลี่ยนเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนได้ดีขึ้น จึงถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อหาเครื่องยนต์ใหม่ๆ กระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ซึ่งพบว่าหากไทยปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อสร้างโมเดลใหม่ในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในฐานการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมแนว ทางเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยสร้างเม็ดเงินการลงทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ให้ประเทศสูงถึง 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หรือประมาณ 108,800 ล้านบาท (32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)

นางรุจิรา คูมาร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส IFC กล่าวว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัด ความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันทางการค้า และมีการผูกขาดตลาดสูง ขณะที่การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลงมายาวนาน ทำให้ประเทศที่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ได้ดี เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้ดีกว่า เงินทุนจากต่างประเทศจึงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควร เงินจากร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ต่ำมากอยู่ที่ 0.03% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ระบบการปล่อยสินเชื่อไม่เอื้อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าถึงแหล่งทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเพียงพอ และยังมีความลักลั่นของทักษะแรงงาน โดยแรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไร้ทักษะถึงทักษะระดับกลาง ขณะที่เอกชนต้องการแรงงานทักษะสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากประเทศไทยจะเข้าถึงโอกาสการเติบโตจะต้องแก้ไขข้อจำกัดสำคัญเหล่านี้อย่างเร่งด่วน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ