ธ.ก.ส.เตรียมปล่อยเงินกู้คนเลี้ยงสุกร ชูดอกเบี้ยต่ำ แก้ปัญหาหมูแพง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ธ.ก.ส.เตรียมปล่อยเงินกู้คนเลี้ยงสุกร ชูดอกเบี้ยต่ำ แก้ปัญหาหมูแพง

Date Time: 5 ม.ค. 2565 15:23 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ธ.ก.ส. เติมเงิน 3 หมื่นล้านปล่อยเงินกู้เกษตรกร ชูดอกเบี้ยต่ำ หนุนเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มผลผลิตอาหารสัตว์ แก้ปัญหาหมูแพง

Latest


ธ.ก.ส. เติมเงิน 3 หมื่นล้านปล่อยเงินกู้เกษตรกร ชูดอกเบี้ยต่ำ หนุนเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มผลผลิตอาหารสัตว์ แก้ปัญหาหมูแพง

เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 65 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า จากปัญหาราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกร ทำให้จำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญๆ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง เป็นต้น มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก

ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้บริโภค ล่าสุดรัฐบาลได้เร่งออกนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการงดส่งออกสุกรมีชีวิต การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม/ภาษี รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้าเพื่อช่วยเหลือด้านราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงการจัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการเลี้ยงสุกรที่ส่งผลดีทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราว 190,000 ราย กว่า 90% เป็นรายย่อย ซึ่งผลิตสุกรในระบบประมาณ 30% โดยในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวน 59,205 ราย

ขณะที่ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 3% แต่ผลิตสุกรประมาณ 70% โดยสุกรที่ขุนได้เฉลี่ยปีละ 22 ล้านตัว ซึ่งกว่า 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ จากผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ไทยจะควบคุมโรคได้ดี แต่ก็ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายไปราว 30-40% เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านตัวเศษ

โดยคาดว่าปี 2565 จะผลิตได้เพียง 13-15 ล้านตัว เมื่อประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้เลี้ยงรายใหม่ลดลง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สำหรับเกษตรกรรายย่อยและบุคคลในครัวเรือนที่ประสงค์จะกู้เงิน เพื่อไปลงทุนเลี้ยงสุกรหรืออื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยในอัตรา 4% ต่อปี ปีที่ 4 - 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.5% ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก

2. สินเชื่อ Food Safety เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยกรณีเกษตรกร MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.5% ต่อปี) กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ4.875% ต่อปี)

โดยพิเศษสำหรับผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน กรณีเกษตรกร ดอกเบี้ย MRR-1 กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่างๆ ดอกเบี้ย MLR-0.5 ระยะเวลาชำระคืน กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี

3. สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนด วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – 2 อยู่ที่ 4% ต่อปี และปีที่ 3 – 10 อัตราดอกเบี้ย MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.5% ต่อปี / MLR เท่ากับ 4.875% ต่อปี และ MOR เท่ากับ 6.25% ต่อปี)

กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถนำ Platform มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีมาตรฐานรับรองหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรต้นน้ำหรือกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไม่น้อยกว่า 20% ของต้นทุนวัตถุดิบ หรือเป็นธุรกิจที่นำหลักโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ องค์รวม (BCG Model) อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 - 4 อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี เพิ่มอีก 2 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์