เช็กชื่อ ธนาคารเข้าร่วม "มาตรการพักหนี้" สู้โควิด สูงสุด 12 เดือน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กชื่อ ธนาคารเข้าร่วม "มาตรการพักหนี้" สู้โควิด สูงสุด 12 เดือน

Date Time: 20 ก.ค. 2564 14:40 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • เช็กรายชื่อ ธนาคารรัฐ ธนาคารพาณิชย์ ขานรับนโยบายรัฐ และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วม "มาตรการพักหนี้" สู้โควิด สูงสุด 12 เดือน

Latest


เช็กรายชื่อ ธนาคารรัฐ ธนาคารพาณิชย์ ขานรับนโยบายรัฐ และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วม "มาตรการพักหนี้" สู้โควิด สูงสุด 12 เดือน

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐ หลายแห่งได้ขานรับนโยบายของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ (แบงก์ชาติ จับมือธนาคาร ประกาศพักหนี้ 2 เดือน ช่วยประชาชนเริ่ม ก.ค. 64) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  • ธนาคารกรุงไทย 

1. สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) จะได้พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ นานสูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน นานสูงสุด 12 เดือน

2. สินเชื่อบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน

3. สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้

สำหรับลูกค้าธุรกิจ มี 4 มาตรการ คือ

1. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบื้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี เว้นได้รับดอกเบื้ย 6 เดือนแรก รวมได้ค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี

2. มาตรการสำหรับสินเชื่อธุรกิจ SME จะมี 2 ส่วนตามวงเงินกู้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท สินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบื้ยสูงสุด 6 เดือน หรือขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน สำหรับสินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

- วงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท สินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบื้ยสูงสุด 12 เดือน สำหรับสินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

3. มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ช่วยเหลือลูกค้าที่มีหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน ช่วงรอให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัว ธนาคารจะโอนทรัพย์ชำระหนี้และให้สิทธิ์คืนสินทรัพย์ในอนาคต ในราคารับโอนบวกต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1% ต่อปี บวกค่าดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

4. มาตรการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง เน้นการให้ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจ สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารมากกว่า 1 แห่ง และมีวงเงินสินเชื่อรวมทุกธนาคาร ตั้งแต่ 50-500 ล้านบาทที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวิกฤติโควิค-19 โดยพิจารณาเงื่อนไขตามความสามารถของลูกค้า อาทิ ปรับลดหย่อนชำระ ยืดเวลาผ่อนชำระหนี้ เสริมสภาพคล่องให้ลูกค้า

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  

1. ลูกค้า SME ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ละรายจะได้รับการพักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยแนวทางการเรียบเก็บเป็นไปตามนโยบายของธนาคาร และอัตราดอกเบื้ยจะเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยผิดนัด และการพักชำระหนี้นี้ไม่ถือเป็นเหตุแห่งการผิดนัดเงื่อนไขการชำระหนี้ตามสัญญา และไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

หากลูกค้าสินเชื่อ SME ที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ 10 จังหวัด รวมถึงที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และไม่มีสถานะเป็น NPL ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ ติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารได้ตั้งแต่ 19 ก.ค. - 15 ส.ค. 64 

2. สินเชื่อส่วนบุคคล พักดอกเบี้ยและเงินต้นสูงสุด 2 รอบบัญชี 

สำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิต ซึ่งมีสถานะบัญชีปกติ และเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของภาครัฐในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง สามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือผ่านทางศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ หรือแอปพลิเคชัน UChoose ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ส.ค. 64 โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

ส่วนมาตรการอื่นๆ ทางธนาคารจะมี 3 มาตรการ 

มาตรการที่ 1 : มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าทุกราย - ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ - ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษและลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาการผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน

โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลกรณียอดสินเชื่อคงค้างน้อยกว่า 30,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษและลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3% กรณียอดสินเชื่อคงค้าง 30,000 บาทขึ้นไป รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน ลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UChoose ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 64

มาตรการที่ 3 : มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกหนี้ค้างชำระ - ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือน โดยขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และสำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงมายังบริษัท

  • ธนาคารไทยพาณิชย์

ประกาศพักหนี้ 2 เดือน ตามมาตรการ ธปท. โดยได้รับสิทธิ์ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของรัฐบาล โดยลูกค้าแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ส.ค. 64 ผ่าน 2 ช่องทาง 1. SCB EASY APP และ 2. SCB Call Center โทร. 02-777-7777 เลือกเมนูมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าจากสถานการณ์โควิด-19 (กด 9)

  •  ธนาคารกรุงเทพ 

ช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SME และลูกค้ารายย่อย ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของรัฐบาลด้วยการพักชำระหนี้ 2 เดือน ผู้ได้รับผลกระทบสามารถลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง คือทางเว็บไซต์ https://bit.ly/36C2eyn และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564

สินเชื่อบุคคล มาตรการช่วยเหลือที่ได้รับสิทธิอัตโนมัติ ลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% รวมถึงลดอัตราดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 16%

ส่วนมาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน ได้แก่ 

1. พักชำระหนี้ 2 เดือน มาตรการเพิ่มเติม เฉพาะลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ

2. ลดดอกเบี้ยค้างชำระ โดยต้องชำระหนี้ตามปกติ โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ และผลกระทบที่ได้รับ

3. เปลี่ยนเป็นสินเชื่อผ่อนชำระไม่เกิน 72 งวด คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 12% โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ และผลกระทบที่ได้รับ

4. ผ่อนชำระหนี้ระยะเวลา 36 เดือน ใช้วงเงินคงเหลือได้ โดยพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้

5. ขยายวงเงินลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่า ชั่วคราว

ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือและติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0-2645-5555

  • ธนาคารกสิกรไทย

พักชำระหนี้ 2 เดือน ให้ลูกหนี้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่ต้องปิดกิจการตามาตรการของรัฐบาล โดยผู้ที่ร่วมมาตรการนี้ได้คือ นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการพื้นที่ควบคุม (10 จังหวัด) และลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่นอกควบคุม เช่น ร้านนวด สปา สถานเสริมความงาม และลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ สามารถลงทะเบียนได้ถึง 31 ส.ค. 64

  •  ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ประกาศพักหนี้ 3 เดือน (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) ลำหรับลูกค้า SME และสินเชื่อรายย่อย ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของรัฐบาล ในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่นอกควบคุม แจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตั้งแต่ 19 ก.ค. - 15 ส.ค. 64 ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ผ่าน LH Bank Call Center โทร.1327 สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชี

  • ธนาคารออมสิน

พักชำระหนี้สูงสุด 6 งวด (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) โดยลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบทำให้ต้องเลิกกิจการ ถูกเลิกจ้าง ขาดรายได้ ฯลฯ (ยกเว้นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) โดยพักเงินงวดผ่อนชำระให้สูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม 2564

โดยธนาคารแบ่งความช่วยเหลือเป็น 2 เฟส

- เฟสแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2564

- เฟสที่สองช่วงเดือนสิงหาคม โดยลูกค้าจะทยอยได้รับ SMS หรือ Notification แจ้งทางแอป MyMo ให้สามารถกดรับสิทธิ์เพื่อขอพักชำระหนี้ผ่านแอป MyMo จนเสร็จสิ้นกระบวนการ กรณีที่ลูกค้ายังไม่มีแอปพลิเคชัน สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานด้วยตนเอง หรือ ติดต่อที่ธนาคารออมสินทุกสาขา

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. 

พักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือนถึง 1 ปี ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกรตามความสมัครใจ โดยผู้มีสิทธิ์กว่า 2.82 ล้านราย พร้อมสนับสนุนสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ให้กับเกษตรกรรายย่อยและลูกจ้างภาคการเกษตร วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ส่งชำระคืน 3 ปี ปลอดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก รายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน

สนใจแจ้งความประสงค์ เข้าร่วมโครงการผ่าน 1. LINE Official BAAC Family 2. เว็บไซต์ www.baac.or.th และ 3. Call Center 02-555-0555 จนถึง 31 ธ.ค. 64

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธ.อ.ส.

พักหนี้ 3 เดือน (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ / ธุรกิจ / การค้า เนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด โดยจะช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และลูกค้าที่มีสถานะ NPL หรือลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ 

หากสนใจ สามารถลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. Mobile Application GHB ALL 2. เว็บไซต์ธนาคาร https://www.ghbank.co.th 3. Line GHB Buddy สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือเว็บไซต์ ghbank.co.th

  • ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีเอ็มบีธนชาต หรือ TTB 

ประกาศพักหนี้ 2 เดือน (เงินต้นและดอกเบี้ย) สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งลูกค้าบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อบุคคล จะได้พักชำระหนี้ 2 เดือน 

ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ธนาคารจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยพิจารณาจากความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย เช่น การลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% ของยอดผ่อนชำระปกติ หรือพักชำระเงินต้นโดยผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน หรือเปลี่ยนยอดคงค้างในบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด เป็นยอดผ่อนชำระ 48 เดือน เป็นต้น

มาตรการสำหรับลูกค้าสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มีวงเงินกู้ระยะยาว วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) และวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน ธนาคารจะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 2 เดือน

มาตรการสำหรับลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์ โดยในกลุ่มรถยนต์ใหม่ รถยนต์ใช้แล้ว รถแลกเงิน และเล่มแลกเงิน (รถแลกเงินแบบลดต้นลดดอก) สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรงหรือต้องปิดกิจการ หรือไม่สามารถให้บริการได้ตามคำสั่งของ ศบค. ธนาคารจะมีมาตรการพิเศษ พักชำระค่างวดสูงสุดไม่เกิน 2 งวด

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ธนาคารจะพิจารณาลดค่างวด หรือขยายเวลาผ่อนชำระ หรือมาตรการอื่นๆ ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลมาตรการช่วยเหลือของธนาคารและต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. - 15 ส.ค. 64

เช็กรายชื่อ ธนาคาร และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ทั้งหมด ที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์