ธปท.ชู “สินเชื่อฟื้นฟูฯ” ช่วยธุรกิจ พิษโควิดประชาชน-เอสเอ็มอีขอไกล่เกลี่ยหนี้พุ่ง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ธปท.ชู “สินเชื่อฟื้นฟูฯ” ช่วยธุรกิจ พิษโควิดประชาชน-เอสเอ็มอีขอไกล่เกลี่ยหนี้พุ่ง

Date Time: 5 พ.ค. 2564 06:45 น.

Summary

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยตัวเลขการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

Latest

เคาะมาตรการดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 7 หมื่นล้าน ปล่อยสินเชื่อสร้างอาชีพ-สร้างบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยตัวเลขการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในโครงการแรกวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ได้สิ้นสุดไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา และโครงการที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้ ชื่อสินเชื่อฟื้นฟูฯวงเงิน 150,000 ล้านบาท พบว่าสินเชื่อพิเศษทั้ง 2 โครงการมียอดอนุมัติสินเชื่อล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี แล้ว 138,707 ล้านบาท โดยให้กับเอสเอ็มอี 78,166 ราย

ทั้งนี้ แบ่งเป็นการอนุมัติสินเชื่อในโครงการสินเชื่อซอฟต์โลน โครงการแรกทั้งสิ้น 138,200 ล้านบาท ให้กับเอสเอ็มอีทั้งสิ้น 77,787 ราย สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูฯ หรือสินเชื่อซอฟต์โลน โครงการ 2 ซึ่งได้มีการปรับเกณฑ์คุณสมบัติผู้ขอใช้และเงื่อนไขการขอสินเชื่อให้ง่ายขึ้นนั้น ในช่วงสัปดาห์แรกของโครงการมีเอสเอ็มอีได้รับอนุมัติแล้ว 379 ราย วงเงินสินเชื่อรวม 507 ล้านบาท โดยเอสเอ็มอีขนาดจิ๋ว วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาท ได้รับอนุมัติสินเชื่อมากที่สุด หรือคิดเป็น 67.8% โดย ธปท.ประเมินว่าจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในรอบเดือน เม.ย.นี้ จะทำให้เอสเอ็มอีที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องเข้ามาขอสินเชื่อจากโครงการเพิ่มขึ้น

ธปท.ยังได้ให้ตัวเลขลูกหนี้ในโครงการให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงโควิดระลอกแรกด้วย โดยล่าสุด ณ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา มีจำนวนบัญชีที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 5.98 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ 1.89 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 4.09 ล้านบัญชี โดยมีวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แล้วทั้งสิ้น 3.87 ล้านล้านบาท เป็นของสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ 2.18 ล้านล้านบาท และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 1.69 ล้านล้านบาท

นอกจากนั้นในการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยการสนับสนุนของ ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรมและกรมบังคับคดี ในช่วง 70 วันที่ผ่านมา (14 ก.พ.- 24 เม.ย.2564) มีผู้สนใจสมัครเข้ามาเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยหนี้มากถึง 260,000 คน และเพื่อให้ลูกหนี้มีช่องทางต่อเนื่อง งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ได้ขยายเวลาไปสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ และกำลังจะเพิ่มสินเชื่อเช่าซื้อเข้ามาในรายการไกล่เกลี่ยหนี้ด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ