"คลัง" โวไม่ต้องกังวลรัฐมีเงินพอใช้ สั่งกรมภาษีเร่งเครื่องหารายได้เพิ่ม

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

"คลัง" โวไม่ต้องกังวลรัฐมีเงินพอใช้ สั่งกรมภาษีเร่งเครื่องหารายได้เพิ่ม

Date Time: 21 เม.ย. 2564 06:40 น.

Summary

  • น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มอบนโยบายกรมภาษีเพิ่มประสิทธิภาพ

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มอบนโยบายกรมภาษีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ได้รับนโยบายไปแล้ว และจะเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน เนื่องจากช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ กรมภาษีจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายกว่า 100,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สศค. จะประชุมติดตามเรื่องการเก็บรายได้ของกรมภาษีทุกไตรมาส เพื่อให้รู้ข้อมูลว่าจัดเก็บได้เท่าใด และหากต้องเร่งดำเนินการจัดเก็บ จะดำเนินการในรูปแบบใด

อย่างไรก็ตาม สำหรับงบประมาณปี 64 ไม่ต้องกังวลเรื่องที่ว่าจะไม่มีเงินใช้จ่ายของปีนี้ ซึ่งยังสามารถใช้จ่ายได้อยู่ เนื่องจากมีช่องว่างในการกู้เงิน นอกเหนือจากการกู้เงินชดเชยขาดดุล ยังมีช่องว่างเรื่องการกู้รายจ่ายสูงกว่ารายได้ และปีงบประมาณ 64 คลังได้วางกรอบการกู้เงินชดเชยขาดดุลไว้ 608,000 ล้านบาท แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่ม ตามกฎหมายก็ยังมีช่องว่างในเรื่องการกู้เงินรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ซึ่งที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติให้มีช่องกู้ได้อีก 127,000 ล้านบาท รวมเป็นกว่า 730,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงมั่นใจว่าขณะนี้กระทรวงการคลังสามารถบริหารจัดการเรื่องการบริการเงินได้ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีกู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กู้ไว้แล้ว

“กระทรวงการคลังมีความเข้าใจเรื่องผลกระทบจากสถานการณ์โควิด แต่เมื่อกำหนดเป้าหมายรายได้ไว้แล้ว ก็อยากให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เป็นไปตามเป้าหมาย ถ้าจะหลุดเป้าหมาย ก็ขอน้อยที่สุด”

น.ส.กุลยา กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางการหารายได้เพิ่มเติมจะต้องพิจารณารูปแบบการหารายได้ ที่ต้องไม่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน และผู้ประกอบการในช่วงนี้ จึงต้องพิจารณาหลายแนวทางว่ามีส่วนใดที่สามารถหาเม็ดเงินเข้ามาได้ ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังต้องบริหารจัดการเม็ดเงินในส่วนอื่นๆ ทั้งเม็ดเงินจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก็จะเป็นผู้บริหารการนำเงินส่งคลังด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ