บสย.เร่งเครื่องค้ำ “สินเชื่อท่องเที่ยว”  ช่วยแบงก์ให้เงินกู้-ไม่ต้องปลดคนงาน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

บสย.เร่งเครื่องค้ำ “สินเชื่อท่องเที่ยว” ช่วยแบงก์ให้เงินกู้-ไม่ต้องปลดคนงาน

Date Time: 3 มี.ค. 2564 08:43 น.

Summary

  • จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง จึงได้เปิดตัวโครงการค้ำประกันสินเชื่อโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการใหญ่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง จึงได้เปิดตัวโครงการค้ำประกันสินเชื่อโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้ชื่อ “บสย.SMEs ไทยสู้ภัยโควิด2” วงเงินค้ำประกัน 10,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปีแรก ค้ำประกันตั้งแต่ 200,000 บาท -100 ล้านบาท และมีระยะเวลาสูงสุด 10 ปี ยื่นคำขอได้ตั้งแต่วันนี้-31 พ.ค.2564

“การค้ำประกันครั้งนี้เชื่อว่าจะช่วยสร้างสินเชื่อในระบบไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท พยุงการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจได้ถึง 180,000 คน ซึ่งจะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอีกหลายทอด และกว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิม ต้องใช้เวลาจากอดีตเม็ดเงินจากธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 3 ล้านล้าน แต่ปัจจุบันเหลือ 700,000 ล้านบาทเท่านั้น”

นายรักษ์ กล่าวต่อว่า ภายในเดือน เม.ย.นี้ บสย.จะออกโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) มีปัญหาการค้างชำระหนี้กับธนาคารไม่เกิน 3 เดือน (SM) และเอสเอ็มอีที่กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่เกิน 2 ปี โดย บสย.จะให้สัดส่วนค้ำประกันสูงสุดกับธนาคารที่ให้สินเชื่อที่ 40% ซึ่งสูงสุดเท่าที่ บสย.เคยให้กับธนาคาร โดยให้กับเอสเอ็มอี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก วงเงินค้ำประกัน 10,000 ล้านบาท จะให้กับเอสเอ็มอีที่กลายเป็น SM และอีก 10,000 ล้านบาท จะค้ำให้กับเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอลที่ไม่เกิน 2 ปี

“ปีที่แล้ว บสย.ได้มีโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SMEs ที่มีปัญหาการค้างชำระ ในวงเงินค้ำประกัน 50,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสินเชื่อราว 75,000 ล้านบาท ซึ่งผ่านมา 1 ปี สินเชื่อที่ค้ำประกันเหล่านี้ยังอยู่รอดได้ 98%”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ