ดีเดย์ 1ก.ย. เก็บภาษีอี-เซอร์วิส “เฟซบุ๊ก-กูเกิล” เตรียมตัวให้พร้อม

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ดีเดย์ 1ก.ย. เก็บภาษีอี-เซอร์วิส “เฟซบุ๊ก-กูเกิล” เตรียมตัวให้พร้อม

Date Time: 13 ก.พ. 2564 06:15 น.

Summary

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 ว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) กรณีการให้บริการอี-เซอร์วิส

Latest

ธปท. ไม่ลดดอกเบี้ยตามสหรัฐฯ ชี้ต้องพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักในประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 ว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (อี-เซอร์วิส) โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการทางออนไลน์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบแสดงรายการ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้กรมสรรพากรภายใต้ระบบ “ภาษีจ่าย” (pay-only) ห้ามหักภาษีซื้อ โดยไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและรายงานภาษีซื้อโดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ย.2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวนั้น จะจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ได้แก่ การให้บริการดาวน์โหลด หนัง/ภาพยนตร์ เพลง เกม สติกเกอร์ นายหน้า สื่อโฆษณา เป็นต้น ส่วนแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย เช่น Apple , Google, Facebook, Netflix, Line, Youtube Tiktok เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกลุ่มมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

สำหรับข้อดีของกฎหมายฉบับนี้ จะช่วยสร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษี ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศ โดยเฉพาะบริการอี-เซอร์วิส อีกทั้งยังช่วยยกระดับการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศที่หลายประเทศก็มีการจัดเก็บภาษีบริการออนไลน์ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการสอดรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยคาดว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าว กรมสรรพากรจะจัดเก็บรายได้ปีละ 5,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เน็ตของประชากรไทย พบว่า ปัจจุบันมีการใช้งานและเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากกว่า 75% ของจำนวนประชากร ราว 69 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 50% ใช้บริการออนไลน์ ทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่มเกมและใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ขณะนี้กรมสรรพากรอยู่ระหว่างสร้างความรู้ ความเข้าใจกับผู้ประกอบการ เพื่อดำเนินการจ่ายภาษีให้ง่ายที่สุด และถูกต้องด้วย โดยจะเป็นการจ่ายภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ