โควิดดันคนไทยใช้โมบายแบงกิ้งอันดับ 1 ของโลก K PLUS ยิ้มยอดใช้งานโต 71%

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

โควิดดันคนไทยใช้โมบายแบงกิ้งอันดับ 1 ของโลก K PLUS ยิ้มยอดใช้งานโต 71%

Date Time: 11 ก.พ. 2564 17:23 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • ยุคโควิด-19 ทำคนไทยใช้โมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่งของโลก ดัน K PLUS ครองแชมป์ยอดใช้งานปี 63 โต 71% จำนวนธุรกรรมทะลุ 14,500 ล้านรายการ

Latest


ยุคโควิด-19 ทำคนไทยใช้โมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่งของโลก ดัน K PLUS ครองแชมป์ยอดใช้งานปี 63 โต 71% จำนวนธุรกรรมทะลุ 14,500 ล้านรายการ

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 64 นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า กลยุทธ์ของธนาคารคือ ทำให้ K PLUS เป็น Digital Lifestyle Ecosystem ไม่ได้จำกัดการใช้แค่ในแอป K PLUS เท่านั้น แต่ไปอยู่ในทุกที่ ทุกเวลาที่ลูกค้าต้องการบริการทางการเงิน

โดยทุกวันนี้ บริการของ K PLUS ได้เข้าไปอยู่ในทุกแอปที่ลูกค้าใช้เป็นประจำทุกวัน ทำให้ลูกค้าไม่ต้องสลับแอปเมื่อต้องการจ่ายเงินรวมถึงการขอสินเชื่อ โดยได้ร่วมมือกับแบรนด์ดังกว่า 50 แบรนด์ เช่น

- กลุ่มซูเปอร์แอป เช่น Grab และ LINE, กลุ่มอี-คอมเมิร์ซ เช่น Lazada และ Shopee
- กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ เช่น Central JD FINTECH และ JD Central
- กลุ่มธุรกิจพลังงาน เช่น PTTOR, Blue CONNECT
- สถาบันการศึกษา เช่น โครงการ CU Nex จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก We Are Social และ Hootsuite ระบุว่า ในปี 2563 คนไทยทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 68.1% ต่อเดือน ซื้อสินค้าอี-คอมเมิร์ซผ่านสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 2 ของโลก คิดเป็น 74% และมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 5 ชั่วโมง 7 นาทีต่อวัน

นายพัชร กล่าวต่อว่า K PLUS ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่ลูกค้าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ตอบรับกับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันที่ลดการเดินทางออกนอกบ้าน เลี่ยงจับเงินสด และใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยในปี 2563 มีลูกค้าใช้งาน K PLUS มากถึง 5 ล้านรายต่อวัน มีจำนวนธุรกรรมรวมทุกประเภท 14,500 ล้านรายการ เติบโต 71% และมีผู้ใช้งานรวม 14.4 ล้านราย นอกจากนี้ยังพบว่า มีฟีเจอร์ไลฟ์สไตล์ของ K PLUS ที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1. ฟีเจอร์ K+ market มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 150% จากปีก่อน เป็นมาร์เก็ตเพลส แหล่งรวมดีล กิน เที่ยว ดื่ม ช็อป โดยลูกค้าเลือกชำระเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ ด้วยเงินสดจากบัญชีที่ผูกกับ K PLUS หรือใช้คะแนนสะสม K Point แทนเงินสดได้

2. ฟีเจอร์ Wealth PLUS มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 220% จากที่เปิดให้บริการในเดือนพ.ค.63 จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากยิ่งขึ้น โดย Wealth PLUS เป็นฟีเจอร์จัดพอร์ตกองทุนรวมให้อัตโนมัติ ตอบโจทย์ลูกค้าที่เริ่มต้นลงทุนหรือไม่มีเวลาดูพอร์ตเอง

3. ฟีเจอร์โอนเงินไปต่างประเทศ ในเดือนธ.ค. 63 มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วงที่ยังไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ ลูกค้าใช้ฟีเจอร์นี้สำหรับ โอนเงินสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ โอนเงินให้กับสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศ เช่น ค่าเทอม หรือชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยและต้องการโอนเงินกลับประเทศ ปัจจุบันสามารถโอนเงินได้ 12 สกุลเงินหลักใน 30 ประเทศปลายทาง

4. K Point เป็นคะแนนสะสมรูปแบบใหม่ที่ลูกค้าสามารถสะสมได้ 2 วิธี ได้แก่

- จากการทำภารกิจ (Mission) ต่างๆ ผ่าน K PLUS เช่น โอน ถอน เติม จ่าย ในช่วงเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด

- ผ่านการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกสิกรไทย โดยสามารถนำคะแนนสะสม K Point ไปใช้ได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ แลกซื้อสินค้าผ่าน K+ market ชำระบิล เติมเงิน หรือจ่ายสินเชื่อ และสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ แลกเป็นส่วนลดตามร้านค้าชั้นนำ แลกเป็นเครดิตเงินคืน โอนคะแนนไปยังบัตรสมาชิกต่างๆ บน K PLUS ของธนาคาร

5. ฟีเจอร์การเติมเงินเข้า e-Wallet ต่างๆ เช่น Blue CONNECT, TrueMoney Wallet, GrabPay Wallet และเป๋าตัง ทั้งการเติมเงินจากบน K PLUS และการเติมเงินจากแอปของพันธมิตรที่สามารถเชื่อมต่อกับ K PLUS ได้อัตโนมัติ โดยลูกค้าไม่ต้องสลับแอป และไม่ต้องกรอกเลขเอง ซึ่งในปี 2563 มีการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 200% จากปีก่อน

6. การใช้ K PLUS QR Code สแกนจ่ายเงินที่ร้านค้า K PLUS shop ในปี 2563 มีจำนวนรายการเพิ่มขึ้น 125% จากปีก่อน โดยจำนวนรายการเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลังจากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ยังได้ดำเนินการวางโครงสร้างด้านเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมทางการเงินปริมาณมหาศาลให้มีความปลอดภัย เพื่อรองรับการเติบโตของ K PLUS ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายมีผู้ใช้งาน K PLUS รวม 17.5 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมทั้งหมดผ่าน K PLUS มากกว่า 24,600 ล้านรายการ ภายในปี 2564


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ