“โควิด” ทำคนไทยสู่ภาวะ “ยากจน” ปี 63 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านราย

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“โควิด” ทำคนไทยสู่ภาวะ “ยากจน” ปี 63 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านราย

Date Time: 21 ม.ค. 2564 08:21 น.

Summary

  • การฟื้นตัวของการจ้างงานอย่างยั่งยืน จะช่วยให้เรื่องดังกล่าวของประเทศไทยกลับมาดีขึ้นในปี 2564-2565 โดยเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 และปีที่ผ่านมา คาดว่าจะลดลง 6.5%

Latest

เคาะมาตรการดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 7 หมื่นล้าน ปล่อยสินเชื่อสร้างอาชีพ-สร้างบ้าน

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า จากรายงานติดตามเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกฉบับล่าสุด “Restoring Incomes; Recovering Jobs” (การฟื้นฟูรายได้และการจ้างงาน) พบว่าการฟื้นตัวของการจ้างงานอย่างยั่งยืน จะช่วยให้เรื่องดังกล่าวของประเทศไทยกลับมาดีขึ้นในปี 2564-2565 โดยเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 และปีที่ผ่านมา คาดว่าจะลดลง 6.5% โดยปีนี้จะกลับมาขยายตัวได้ 4% และขยายตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้าที่ 4.7%

“ปีที่ผ่านมาโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก การท่องเที่ยวซบเซากระทบต่อการจ้างงานและรายได้ที่ลดลง คาดว่าการส่งออกลดลง 18.5% การลงทุนภาคเอกชนลดลง 4.4% การบริโภคภาคครัวเรือนลดลง 1.3% แม้ว่ารัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนและผู้ประกอบการ แต่ปีที่ผ่านมา คาดว่าจะมีประชากรที่เข้าสู่ภาวะยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านคน มาอยู่ที่ 5.2 ล้านคน จากปี 2562 ที่มีประชากรที่อยู่ในภาวะยากจน 3.7 ล้านคน ตามเส้นแบ่งความยากจนที่ 5.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน หรือ 165 บาทต่อวัน”

ขณะที่โควิด-19 ระลอกที่ 2 ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงอ่อนไหว โดยการท่องเที่ยวและกิจกรรมภายในประเทศยังซบเซาต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอกว่าคาดการณ์ไว้ อาจนำไปสู่ภาวะชะงักงันทางการค้า รวมทั้งระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การระบาดครั้งนี้ส่งผลต่อตลาดแรงงานไทย ทำให้คนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง ทำให้รายได้ต่อเดือนน้อยลง จำนวนชั่วโมงการทำงานยังไม่ฟื้นตัวกลับขึ้นมา การจ้างงานในหลายๆภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งแนวโน้มตลาดแรงงาน ยังอยู่ในภาวะที่เปราะบางต่อไปในอนาคตทำให้เห็นถึงจุดเปราะบางสำคัญของไทย คือจำนวนคนวัยทำงานที่ลดลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความท้าทายของการฟื้นฟูความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยการเพิ่มการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ยากจน เป็นสิ่งจำเป็นต่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลกกล่าวว่า ในระยะสั้นรัฐบาลต้องจัดให้มีโครงการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มทักษะแรงงานและให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อแรงงานกลับไปทำงาน ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจปีนี้ยังมีความท้าทายด้านวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวทั่วโลก แม้การบริโภคในประเทศจะดีขึ้น แต่ไทยยังพึ่งพาภาคท่องเที่ยว คาดว่าต้องใช้เวลา 2 -3 ปี เศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับเดิมก่อนโควิด-19.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ