รัฐมีเงินล้นทะลักลุยฝ่าไวรัสร้าย

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

รัฐมีเงินล้นทะลักลุยฝ่าไวรัสร้าย

Date Time: 24 ธ.ค. 2563 08:30 น.

Summary

  • กำหนดจัดทำกรอบวงเงินอยู่ที่ 3.11 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2564 ประมาณ 186,000 ล้านบาท หรือ 5.66% เป็นผลมาจากการลดลงของการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงเหลือ 2.4 ล้านล้านบาท

Latest

ธปท. ไม่ลดดอกเบี้ยตามสหรัฐฯ ชี้ต้องพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักในประเทศ

นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยหลังประชุมพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ได้ร่วมกันพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณปี 2565 ที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบวันที่ 5 ม.ค.นี้ โดยกำหนดจัดทำกรอบวงเงินอยู่ที่ 3.11 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2564 ประมาณ 186,000 ล้านบาท หรือ 5.66% เป็นผลมาจากการลดลงของการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงเหลือ 2.4 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าเศรษฐกิจปี 2565 จะขยายตัวได้ 3.5% อัตราเงินเฟ้อ 1.2% ส่วนเศรษฐกิจปี 2564 สศช.รายงานว่า จะขยายตัว 4%

ทั้งนี้ ปี 2565 ยังเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุลที่ 700,000 ล้านบาท และคงสัดส่วนของงบลงทุนไว้ที่ 20% ของวงเงินงบประมาณรวมโดยอยู่ที่ 620,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ที่จัดทำงบลงทุนไว้ 649,000 ล้านบาท โดยเลขาธิการ สศช.ได้กล่าวว่า สัดส่วนงบลงทุนที่ปรับลดลง ขอให้รัฐวิสาหกิจลงทุนเพิ่มเติม เพื่อรักษาระดับการลงทุนของประเทศไว้ ส่วนการจัดทำงบประมาณ ในส่วนการชำระคืนเงินกู้ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท จากในปี 2564 จาก 99,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 100,000 ล้านบาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นจาก 3.01% เป็น 3.22%

“การจัดทำงบประมาณในปี 2565 ได้ปรับงบประจำลดลงเหลือ 75% ลดลงจากในปี 2564 อยู่ที่ 77% และได้หารือใช้เงินจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ รวมถึงการระดมทุน โดยการลงทุนร่วมกับภาคเอกชนตามกฎหมายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือพีพีพี”

ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้กำชับว่า จะต้องจัดสรรงบเพื่อเยียวยากลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และกลุ่มเปราะบางที่ต้องการสวัสดิการอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนนี้มีวงเงินที่ต้องจัดสรรไม่น้อยกว่าปีละ 40,000 ล้านบาท ขณะนี้ประเทศไทยยังมีวงเงินเพียงพอใช้รับมือโควิด-19 ที่ยังไม่ต้องกู้เงินเพิ่ม ซึ่งยังมีกรอบวงเงินที่รองรับอยู่หลายแสนล้าน อาทิ จากงบกลางรายการสำรองจ่าย ฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วน 14,000 ล้านบาท, งบกลางฯโควิด-19 ที่สำนักงบประมาณได้สำรองไว้ 40,000 ล้านบาท ซึ่งงบกลางในปีงบประมาณ 2564 เพิ่งใช้ไป 1,000 ล้านบาท เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ