หนี้ต้องมีวันหมด แนะลูกหนี้ติดต่อธนาคาร ช่วยกันหาทางออก ก่อนจะเป็นหนี้เสีย

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หนี้ต้องมีวันหมด แนะลูกหนี้ติดต่อธนาคาร ช่วยกันหาทางออก ก่อนจะเป็นหนี้เสีย

Date Time: 12 ก.ย. 2563 13:00 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • คนไทยจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมแก้หนี้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น พยายามแก้ปัญหาเอง ไม่กล้าขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ติดกับดักการเป็นหนี้แบบไม่มีวันจบ

Latest


ปี 2563 ถือเป็นปีที่วิกฤติเศรษฐกิจที่หนักสุดของคนไทย เรียกได้ว่าทุกอุตสาหกรรมชะลอตัว และหยุดชะงักไปโดยปริยาย และยังไม่รู้ว่าเมื่อไรทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมก่อนที่โควิด-19 จะระบาด ซึ่งนักวิเคราะห์หลายๆ สำนักก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่า อาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 ปี เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเหมือนก่อนที่จะมีโควิด

แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นก็เล่นทำให้คนเป็นหนี้อย่างเราๆ ท่านๆ อ่วมอรทัยเหมือนกัน เพราะหลายคนรายได้ลดลง หรือรายได้เท่ากับ 0 ในขณะที่บางคนรายได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายมากขึ้นเพราะต้องช่วยพยุงฐานะการเงินของสมาชิกในบ้านที่ต้องหยุดงาน หรือถูกเลิกจ้างเพราะโควิด..เมื่อการเป็นหนี้เข้าขั้นวิกฤติ เราควรทำอย่างไร "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" มีคำแนะนำดีๆ มาบอก 


คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่เริ่มก้าวออกจากมหาวิทยาลัย

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไทยเติบโตเร็วมาก จนกลายเป็นปัญหาพื้นฐานใหญ่ของประเทศ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ณ สิ้นเดือน ก.ย. 62 พบคนไทยประมาณ 21 ล้านคนเป็นหนี้

โดยข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics พบว่าในปี 2561 หนี้ของคนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มมาจากการบริโภค (Personal Consumption) สะท้อนจากหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลที่มีสัดส่วนสูงถึง 34% ขณะที่หนี้รถมีสัดส่วน 25% หนี้บ้านมีสัดส่วน 40% และหนี้อื่นๆ อีก 1%

หากเทียบต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ และอังกฤษ หนี้ที่เกิดจากการบริโภคมีสัดส่วนไม่ถึง 5% โดยปัญหาหนี้อาจจะเกิดจากความคิด และพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัว ประกอบกับธนาคารเองก็ได้มีการออกผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างความสะดวกในการใช้จ่ายและช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายขึ้น

จากความตั้งใจในการสร้างความสะดวกสบาย เราก็ได้สร้างโอกาสการเป็นหนี้ให้กับลูกค้าตั้งแต่เดินออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และการวางแผนด้านการเงิน

โควิด-19 มาซ้ำเติมจนเห็นปัญหาที่ซ่อนไว้

ปิติ กล่าวอีกว่า ช่วงโควิด-19 ทำให้คนที่เป็นหนี้และสถาบันการเงินตระหนักถึงปัญหาที่ซ่อนไว้ ซึ่งถูกเร่งออกมาชัดเจนเร็วขึ้น ทำให้เห็นว่างานที่มั่นคงก็ไม่แน่นอน คนที่มีหนี้อยู่แล้วก็เป็นหนี้หนักขึ้น คนที่ยังไม่เคยเป็นหนี้และไม่เคยวางแผนเพื่อจะเป็นหนี้ ก็กลับเป็นหนี้ครั้งแรกในช่วงเวลาที่ขาดรายได้

อย่างไรก็ตาม ช่วงวิกฤตินี้ ทำให้เกิดการกลับมาทบทวนบทบาทของธนาคารที่มีต่อสังคม ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหา ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแก้ปัญหา เพราะธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของระบบพื้นฐานเศรษฐกิจ และสังคมเกี่ยวข้องกับคนหมู่มากสามารถช่วยเหลือ หรือสร้างผลกระทบให้กับคนไทยทั้งประเทศ มีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่เป็นเดิมพัน

ดังนั้น ธนาคารไม่ได้มีบทบาทเป็นเจ้าหนี้ที่คอยทวงหนี้ แต่ต้องเป็นคลินิกช่วยรักษา ช่วยวินิจฉัยโรค และช่วยจ่ายยาให้กับคนไข้ที่กำลังมีปัญหาหนี้

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ระบาดของโควิด-19 แบงก์ชาติได้ออกนโยบายช่วยเหลือผู้เป็นหนี้ และธนาคารทุกแห่งก็มีเครื่องมือทางการเงินและมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คนที่กำลังเป็นหนี้อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ทุกอย่างมีทางออกเสมอ

อย่ากังวลจงเดินไปหาธนาคาร

โดยจุดเริ่มต้นที่ดี คือ การเข้าไปปรึกษาธนาคารของท่าน และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองผ่านความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ ทีเอ็มบีและธนชาต ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ให้กับลูกค้า ให้รู้จักและเข้าใจเครื่องมือทางการเงินอย่างถูกต้อง เพื่อสามารถเลือกใช้ประเภทสินเชื่อได้อย่างเหมาะสมและถูกวัตถุประสงค์

ทั้งนี้ เน้นการให้คำปรึกษาผ่านผู้เชี่ยวชาญ (Debt Advisory) พร้อมนำเสนอทางเลือกต่างๆ เช่น การทำ Debt Consolidation เพื่อให้ลูกค้าสามารถรวมภาระหนี้ที่มีจากหลายๆ บัญชีสินเชื่อให้เหลือหนี้เพียงบัญชีเดียว โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระตามสินเชื่อมีหลักประกัน ทำให้ช่วยปรับลดภาระการผ่อนโดยรวมลง

ปัจจุบัน TMB และธนชาตมีโซลูชันที่ลูกค้าสามารถนำมาใช้ตามคอนเซปต์การรวมหนี้ ได้แก่ สินเชื่อทีเอ็มบี บ้านแลกเงิน และสินเชื่อธนชาตไดรฟ์ รถแลกเงิน ที่จะช่วยลดดอกเบี้ย ลดค่างวด และเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าได้

อย่างไรก็ตาม ทีเอ็มบีและธนชาตต้องการที่จะปลดล็อกบทบาทใหม่ของธนาคาร เพื่อที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น (Financial Well-being) ให้คนไทยทั้งประเทศ เราอยากเป็นเหมือนคู่ชีวิตของลูกค้า

เมื่อมาอยู่ด้วยกันแล้วชีวิตของลูกค้าจะต้องดีขึ้นในระยะยาว มีสุขภาพการเงินที่ดีไปด้วยกัน นี่คือความหมายของการเป็น Sustainable Banking คือ การเติบโตไปพร้อมๆ กับลูกค้าของเราในระยะยาวและเพื่อช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

อย่าติดกับดักการเป็นหนี้แบบไม่มีวันจบ

จักรพงษ์ เมษพันธุ์ มันนี่โค้ช กล่าวว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมแก้หนี้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น พยายามแก้ปัญหาเอง ไม่กล้าขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ติดกับดักการเป็นหนี้แบบไม่มีวันจบ

ดังนั้น การปลดล็อกต้องหันกลับมาหาจุดตั้งหลักด้วยการปรับและเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มต้นก้าวแรกด้วยการเดินไปคุยกับคู่สัญญา หรือธนาคาร เพื่อประเมินสถานการณ์และหาทางออกร่วมกัน

สำหรับการปรับพฤติกรรมเพื่อกลับมาตั้งหลักใหม่ อาทิ การเพิ่มรายรับนำเอาทักษะของตัวเองมาใช้หารายได้ การลดรายจ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายหนี้ ต้องหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายหนี้ตรงนี้ในแต่ละเดือน และเลือกใช้เวลา นั่นคือใช้เวลาในการโฟกัสการแก้ปัญหา ไม่ต้องรอเวลาในการแก้หนี้ รวมทั้งใช้เวลาในการหันหน้าคุยกับธนาคารเพื่อเจรจา หรือขอคำปรึกษา


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์