สรุปมาตรการรวมหนี้ ใช้สินเชื่อบ้านเป็นหลักประกัน ลดภาระผ่อน ดอกเบี้ยถูกลง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สรุปมาตรการรวมหนี้ ใช้สินเชื่อบ้านเป็นหลักประกัน ลดภาระผ่อน ดอกเบี้ยถูกลง

Date Time: 7 ก.ย. 2563 08:00 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • ให้ลูกหนี้นำหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ เช่น รถยนต์ แต่ต้องเป็นเจ้าหนี้ในธนาคารเดียวกัน หรือเจ้าหนี้ในเครือ มาปรับโครงสร้างหนี้รวมกับสินเชื่อบ้านได้

Latest


หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของ โควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง

โดยนโยบายล่าสุดคือ ให้ลูกหนี้นำหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ เช่น รถยนต์ แต่ต้องเป็นเจ้าหนี้ในธนาคารเดียวกัน หรือเจ้าหนี้ในเครือ มาปรับโครงสร้างหนี้รวมกับสินเชื่อบ้านได้ เพื่อใช้ประโยชน์จากหลักประกันสินเชื่อบ้านที่เหลืออยู่

"ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ได้สรุปมาตรการดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น โดยขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามเรื่องหนี้ก่อน ดังนี้

  • สินเชื่อรายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีลักษณะกู้เป็นก้อนและทยอยผ่อนเป็นงวดๆ และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

1. ผ่อนบ้านกับธนาคาร A มีสินเชื่อส่วนบุคคล เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถอยู่ในเครือธนาคาร A สามารถใช้มาตรการรวมหนี้นี้ได้

ย้ำอีกครั้งเฉพาะธนาคารเดียวกัน และต้องเป็นเครือเดียวกันเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น หากใครผ่อนบ้านอยู่กับธนาคารสีส้ม แต่มีบัตรเครดิตอยู่กับธนาคารสีเขียว ไม่สามารถเข้ามาตรการนี้ได้

2. หากเข้าเงื่อนไขของมาตรการนี้ ดอกเบี้ยบ้านจะไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนสินเชื่อที่เอามารวมนั้นจะคิดในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน MRR

3. ประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รวมหนี้ในครั้งนี้ คือ 

- ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
- ลดภาระหนี้ ทั้งดอกเบี้ย และค่างวด
- ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เป็นต้น
- สามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลที่เหลือได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้

ตัวอย่างการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้ 

สมมติว่า หมูหยก เป็นคนมีหนี้ ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ และบัตรเครดิต ของธนาคารสีเขียว ดังนี้

หนี้บ้าน 2,000,000 บาท ดอกเบี้ย 4.50% ต่อปี ระยะเวลาที่ต้องส่ง 240 งวด ส่งมาแล้ว 180 งวด เหลือระยะเวลาผ่อน 60 งวด โดยหมูหยกต้องจ่ายหนี้บ้านทุกเดือน 12,653 บาท

หนี้บัตร 400,000 บาท ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ระยะเวลาที่ต้องส่ง 48 งวด ส่งมาแล้ว 24 งวด เหลือระยะเวลาผ่อน 24 งวด โดยหมูหยกต้องจ่ายหนี้ตรงนี้เดือนละ 13,263 บาท

ต่อมา หมูหยกเริ่มผ่อนไม่ไหว เพราะโดนลดเงินเดือน และมีแนวโน้มว่าจะตกงานในอนาคต หมูหยกจึงได้ขอเข้าร่วมโครงการรวมหนี้ ซึ่งธนาคารสีเขียวก็ใจดีอนุมัติให้โดยเสนอ 2 แพ็กเกจให้เลือกดังนี้

1. ยืดระยะเวลาสินเชื่ออื่นๆ ให้เท่ากับสินเชื่อบ้านที่เหลือ

- หมูหยกเหลือระยะเวลาส่งบ้าน 60 งวด จึงขอขยายหนี้บัตรจากเดิมที่ต้องส่ง 24 งวด เป็น 60 งวด ซึ่งตรงนี้จะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 25% ต่อปี เป็น MRR หรือ 6.8% ต่อปี

หมูหยกจะต้องจ่ายหนี้กับธนาคารสีเขียวแค่ 17,546 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เคยจ่ายอยู่ 25,916 บาทต่อเดือน โดยแบ่งเป็นหนี้บ้าน 12,653 บาท หนี้บัตร 4,893 บาท

2. ยืดระยะเวลาสินเชื่อรายย่อยอื่นออกไป แต่สั้นกว่าบ้านที่เหลือ

- หมูหยกเหลือระยะเวลาส่งบ้าน 60 งวด ขอขยายหนี้บัตรจากเดิมที่ต้องส่ง 24 งวด เป็น 36 งวด จึงปรับลดดอกเบี้ยจาก 25% ต่อปี เป็น MRR หรือ 6.8% ต่อปี

หมูหยกจะต้องจ่ายหนี้กับธนาคารสีเขียวแค่ 20,299 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เคยจ่ายอยู่ 25,916 บาทต่อเดือน โดยแบ่งเป็นหนี้บ้าน 12,653 บาท หนี้บัตร 7,646 บาท

ลดภาระหนี้ไม่เสียประวัติเครดิตบูโร

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระการชำระหนี้โดยที่ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น เช่น กำหนดให้ลูกหนี้ทำประกันเพิ่ม เว้นจะเป็นความสมัครใจของลูกหนี้

ขณะเดียวกัน แม้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ลูกหนี้ควรจะยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะหมุนเวียนที่ยังเหลือได้ ในอัตราที่ไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินเดิม เพื่อให้มีวงเงินสำหรับกรณีฉุกเฉินได้

รวมทั้งไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee) ลูกหนี้ที่ต้องการรวมหนี้ดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ และแสดงข้อมูลว่าได้รับผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางการเงิน หรือ ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.63 - 31 ธ.ค. 64


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ