จับตา ธปท.ลดดอกเบี้ยเพิ่มสู้พิษโควิด-19 หนี้บัตรเครดิต-บุคคล-ลิสซิ่งลง 2-4%

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

จับตา ธปท.ลดดอกเบี้ยเพิ่มสู้พิษโควิด-19 หนี้บัตรเครดิต-บุคคล-ลิสซิ่งลง 2-4%

Date Time: 19 มิ.ย. 2563 09:11 น.

Summary

  • ปรับลดดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 18% เหลือ 16% ต่อปี และหากลูกหนี้ต้องการแปลงเป็นหนี้ระยะยาว คิดดอกเบี้ย 12% ต่อปี กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ 48-60 เดือน ขณะที่ในส่วนของสินเชื่อบุคคล

Latest

เคาะมาตรการดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 7 หมื่นล้าน ปล่อยสินเชื่อสร้างอาชีพ-สร้างบ้าน

แปลงเป็นสินเชื่อระยะยาวเหลือ 12%

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูเมอร์ ในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ว่า ในวันที่ 19 มิ.ย. หรือวันที่ 22 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อรายย่อยเพิ่มเติม ในช่วงที่การจ้างงานยังไม่กลับมาเป็นปกติ และรายได้จากเงินนอกเวลา (โอที) ยังไม่มี โดยกรอบใหญ่ของมาตรการนั้น จะปรับลดดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 18% เหลือ 16% ต่อปี และหากลูกหนี้ต้องการแปลงเป็นหนี้ระยะยาว คิดดอกเบี้ย 12% ต่อปี กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ 48-60 เดือน ขณะที่ในส่วนของสินเชื่อบุคคล แบ่งเป็นกรณีวงเงินเบิกเกินบัญชี (โอดี) ปรับลดดอกเบี้ยจาก 28% ต่อปีเหลือ 26% และสินเชื่อบุคคลกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระลดดอกเบี้ยจาก 28% ต่อปี เหลือ 25% สินเชื่อจำนำทะเบียนรถลดดอกเบี้ยจาก 28% ต่อปี เหลือ 24% ต่อปี

“มาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมจะเป็นมาตรการต่อเนื่องจากการพักชำระหนี้ที่ประกาศก่อนหน้านี้ ซึ่งจะครบอายุสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนกรอบของระยะเวลา การบังคับใช้มาตรการใหม่ขึ้นอยู่กับ ธปท. ซึ่งต้องดูตามความเหมาะสม และต้องพิจารณาความสามารถการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นหลัก”

นายฐากร กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการพักชำระหนี้ และปรับวงเงินชำระหนี้ขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 5% ที่มีผลบังคับใช้ก่อนหน้านั้น มีลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล 70-80% ของลูกค้าทั้งหมดยังผ่อนชำระขั้นต่ำได้ มีเพียง 20-30% ที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ และเข้าโครงการผ่อนชำระยะยาว โดยในส่วนของกรุงศรีนั้น ลูกค้าบัตรเครดิตที่เข้าโครงการยังกันวงเงินในบัตรเครดิตไว้ให้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่าย หรือพอหายใจได้ ทั้งนี้ การแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อระยะยาว ผู้ประกอบการจะพิจารณาให้ผ่อนชำระหนี้ให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภค และประคับประคองให้พ้นจากวิกฤติโควิด-19 นอกจากนี้ ยังช่วยไม่ให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) มีความเป็นห่วงการปรับลดดอกเบี้ยจำนำทะเบียนรถจาก 28% ต่อปีเป็น 24% ต่อปี และลดดอกเบี้ยลูกค้าเดิม 1-2% ต่อปี มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาได้ การปรับลดดอกเบี้ยทันที 4% จึงมีผลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ