ห่วงหนี้เสีย บ้าน-รถ-บัตรเครดิต พุ่ง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ห่วงหนี้เสีย บ้าน-รถ-บัตรเครดิต พุ่ง

Date Time: 19 พ.ย. 2562 06:20 น.

Summary

  • นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เริ่มเห็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลง

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เริ่มเห็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลง และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น

หนี้ SM และหนี้เอ็นพีแอล เพิ่มขึ้น

โดยไตรมาส 3 เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมาที่ 3.01% จาก 2.95% ในไตรมาสก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.1% จาก 3.05% ในไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคเอ็นพีแอลปรับขึ้นเป็น 2.81% จาก 2.74% ในไตรมาสก่อน แต่สินเชื่อที่กลายเป็นหนี้ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (SM) หรือสินเชื่อที่เริ่มขาดส่ง และสินเชื่อที่กลายเป็นเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นที่น่าเป็นห่วง คือ สินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดกลางที่มีวงเงินสินเชื่อ 100-500 ล้านบาท ในธุรกิจอาหารอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และปิโตรเคมี รวมทั้งเป็นห่วงหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูงขึ้น โดยเริ่มเห็นสินเชื่อที่ยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลกลายเป็นหนี้ SM และหนี้เอ็นพีแอล ซึ่ง ธปท.เป็นห่วงว่าประชาชนจะต้องถูกทวงหนี้ตลอดเวลา กลายเป็นปัญหาเรื่องความเป็นอยู่และปัญหาสังคมได้ ส่วนเอสเอ็มอีรายกลางยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเพียงแต่สะดุดในช่วงนี้เท่านั้น หากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากธนาคารพาณิชย์ยังมีโอกาสที่จะรอดได้

นายธารินทร์ยังกล่าวถึงผลการดำเนินการของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปีนี้ว่า ธปท.ไม่ห่วงความสามารถในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากไตรมาส 3 ยังคงมีกำไร 96,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ค่าธรรมเนียมปรับลดลงในไตรมาสแรก แต่ไตรมาสที่ 2-3 รายเริ่มเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้มีผลให้รายได้ของธนาคารลดลงมาก เพราะได้มีการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลงในบางธนาคาร ส่วนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยไตรมาส 3 ยอดสินเชื่อขยายตัว 3.8% เทียบกับปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.2% ส่วนยอดสินเชื่อ 9 เดือนแรกปี 62 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีเพียง 1.5% เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าโลก รวมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่หันไประดมเงินจากแหล่งอื่น เช่น ตราสารหนี้มากขึ้น.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ