ธปท.ไฟเขียว "แบงก์" พร้อมเปิดบริการ ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัลไอดี

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ธปท.ไฟเขียว "แบงก์" พร้อมเปิดบริการ ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัลไอดี

Date Time: 12 ก.ย. 2561 09:40 น.

Summary

  • ที่ผ่านมาการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภท ที่ต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรม

Latest

ขายยากไม่พอ ยังถูก“กดราคา” Roddonjai ลุยตลาดรถมือสอง ตั้งราคาขายเองได้ คนซื้อไม่เจอ “รถโจร-รถซาก”


เปิดศักราชพิสูจน์ตัวตนออนไลน์


นางสาวกุลยา ตันติเตมิท โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภท ที่ต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรม ซึ่งการพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ใช้บริการไปแสดงตน เช่น ที่หน่วยงานราชการ ธนาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล เป็นต้น พร้อมส่งเอกสารหลักฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย ก่อให้เกิดความไม่สะดวก และเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. Digital ID) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.นี้แล้ว เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2561 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในกลางปีหน้า หลังผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

โดยร่าง พ.ร.บ. Digital ID เป็นกฎหมายเชิงกำกับดูแล โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลโครงข่ายฯ เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน และผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม แบ่งอำนาจการกำกับดูแล เป็น 3 ส่วน

1.ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Platform) ซึ่งให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

2.ระบบทำการแทน (Proxy Server) โดยจะให้บริการระบบทำการแทนแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ Platform ที่ไม่มีมาตรฐานเทคโนโลยีเพียงพอ

3.การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการระบบ

ขณะที่เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร อนุญาตให้เปิดบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า หรือการให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้ โดยระบุว่า เพื่อให้ธุรกิจเอกชนที่เป็นพันธมิตรของธนาคารสามารถนำบริการดังกล่าวไปใช้ รวมทั้งสนับสนุนโครงการพิสูจน์และยืนตัวตนทางดิจิทัล (National Digital ID) ซึ่งเป็นระบบกลางยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ จึงขยายขอบเขตให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ให้บริการระบบการยืนยันตัวตนของลูกค้า หรือให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้เป็นการทั่วไป ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยต้องไม่บังคับ และให้โอกาสเจ้าของข้อมูลเลือกที่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังให้มีความปลอดภัย รวมทั้งติดตามให้มั่นใจว่าภาคธุรกิจที่เข้าร่วมระบบพิสูจน์ตัวตนมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ