“อภิศักดิ์” ปลดล็อกมาตรฐานบัญชีใหม่

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“อภิศักดิ์” ปลดล็อกมาตรฐานบัญชีใหม่

Date Time: 10 พ.ค. 2561 09:40 น.

Summary

  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ขอเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานรายงานการเงินฉบับใหม่ หรือ IFRS 9

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

บี้หน่วยงานเกี่ยวข้องสางปัญหา หวั่นแบงก์หยุดปล่อยกู้เอสเอ็มอี

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ขอเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานรายงานการเงินฉบับใหม่ หรือ IFRS 9 มาใช้ในประเทศไทยในปี 2562 หลังจากวันบังคับใช้ของต่างประเทศ 1 ปีว่า สภาวิชาชีพบัญชีจะเป็นตัวหลักทำงานประสานกับต่างประเทศ โดยปกติเมื่อต่างประเทศออกระเบียบหรือเกณฑ์ต่างๆ ทางสภาวิชาชีพบัญชีก็จะนำมาพิจารณา โดยทั่วไปแล้วจะมีการซักซ้อมกันก่อน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ สำหรับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องก็มีหน้าที่นำประกาศ IFRS 9 ไปกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม

อย่างไรก็ตาม หากประมาณ IFRS9 มีผลบังคับใช้แล้ว ไม่มีปัญหาก็เดินหน้าไป แต่ถ้ามีปัญหาก็ควรจะมีการศึกษาว่ามีปัญหาอะไรมีผลกระทบในวงกว้างหรือไม่ และกระทบกับใครบ้าง และถ้ามีผลกระทบ ก็ต้องบรรเทาผลกระทบเช่น กรณี IFRS9 ซึ่งไม่ได้เป็นการบังคับว่าประเทศไทยต้องใช้เหมือนกับต่างประเทศทั้งหมด เพราะว่า IFRS9 เป็นแค่กรอบกว้างๆ เช่น การทำให้เป็นราคาปัจจุบันหรือให้สำรองความเสี่ยง แต่ขบวนการที่ดำเนินการ หากไปเอากติกาของต่างประเทศมา ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ ไทยก็น่าจะออกระเบียบของไทยเอง แต่ให้สอดคล้องกับ IFRS9

“ผมเคยสอบถามผู้เกี่ยวข้องว่า ไทยจำเป็นต้องใช้แนวทางที่ IFRS9 ทุกอย่างหรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็น เพราะกรอบที่เขียนไว้กำหนดแค่หลักการ ส่วนวิธีการเราสามารถกำหนดเองได้”

ส่วนกรณีของไทยนั้น เนื่องจากมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวนมาก เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทยมีลูกค้าเอสเอ็มอี 30-40% แต่ธนาคารต่างประเทศมี 10% หรือน้อยกว่า 10% ผลกระทบคือ ถ้าเดินตามกฎเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดคือ ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น และถ้าสำรองเพิ่มขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือ คิดอัตราดอกเบี้ยเอสเอ็มอีสูงขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ต่ำกว่า ยิ่งทำให้ความแตกต่างสูงขึ้นไปอีก ความเหลื่อมล้ำก็มีมากขึ้น หรืออาจไม่ปล่อยกู้ให้แก่เอสเอ็มอีได้เลย ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีจะต้องตกลงกันให้ได้ว่าจะแก้ไขเรื่องดังกล่าวได้อย่างไรเพราะสภาเป็นผู้ประกาศหลักเกณฑ์และควบคุมมาตรฐานบัญชี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ