กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% ตามคาด ชี้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตต่อเนื่อง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% ตามคาด ชี้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตต่อเนื่อง

Date Time: 16 ส.ค. 2560 15:43 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • ตามคาด กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% ชี้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว จากส่งออก-ท่องเที่ยว ผลผลิตการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น แต่บริโภคภาคเอกชนโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ลงทุนฟื้นตัวช้า ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ...

Latest


ตามคาด กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% ชี้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว จากส่งออก-ท่องเที่ยว ผลผลิตการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น แต่บริโภคภาคเอกชนโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ลงทุนฟื้นตัวช้า ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ...

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังไม่กระจายตัวเท่าที่ควร

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอกว่าที่คาดไว้เดิมเล็กน้อยจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะราคาอาหารสดเป็นหลัก ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวมากขึ้น ในหลายกลุ่มสินค้าและในหลายตลาด และจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้ม ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลง ส่วนการลงทุนของภาครัฐขยายตัวได้น้อยกว่า ที่คาดไว้เดิม 

สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ อาทิ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ยังมีทิศทางปรับสูงขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เดิมเล็กน้อย จากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะจากราคาอาหารสดที่ปรับลดลงตามผลผลิตผักและผลไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยและจากภาวะภัยแล้งในปีก่อน ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีอย่างช้าๆ ตามปัจจัย ด้านอุปทานที่จะทยอยลดลงและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ส่วนการคาดการณ์เงินเฟ้อของสาธารณชน ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่ากลางของกรอบเป้าหมาย

ขณะที่ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นที่ปรับลดลงเป็นผลจากปริมาณการออกพันธบัตรระยะสั้นของ ธปท. และรัฐบาล ที่ลดลงเป็นสำคัญ ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนได้เพิ่มขึ้นทั้งจากสินเชื่อสถาบันการเงินและตลาดทุน ในช่วงที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับลดลง และปัจจัยพื้นฐาน ด้านต่างประเทศของไทยปรับดีขึ้น ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ตาม มองว่าการที่เงินบาทปรับแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาคในบางช่วง อาจกระทบต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ สามารถรับมือกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจการเงินทั้งในและต่างประเทศได้ดี แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุด โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมองไปข้างหน้า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัย ด้านต่างประเทศ ในขณะที่ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ จึงเห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป และพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ