4 วิธี จัดการภาษีมรดก ให้คุ้มค่า ป้องกัน “แย่งชิงสมบัติ” เรื่องที่คนทรัพย์สินเยอะต้องรู้

Investment

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

4 วิธี จัดการภาษีมรดก ให้คุ้มค่า ป้องกัน “แย่งชิงสมบัติ” เรื่องที่คนทรัพย์สินเยอะต้องรู้

Date Time: 31 ก.ค. 2567 10:21 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • สรุป 4 กลยุทธ์จัดการ ”ภาษีมรดก“ เรื่องใกล้ตัวที่คนทรัพย์สินเยอะต้องรู้ บริหารมรดกอย่างไรให้คุ้มค่า พร้อมส่งต่อความมั่งคั่งแบบไม่เป็นภาระลูกหลาน

Latest


เมื่อพูดถึงการวางแผนการเงิน หลายคนมักจะมุ่งเป้าหมายไปที่การวางแผนการลงทุนเพื่อเตรียมตัวเกษียณ ไม่ให้เป็นภาระลูกหลาน แต่สำหรับคนที่มีทรัพย์สินเยอะ ทุ่มเททำงานหนักมาทั้งชีวิต เพื่อหวังจะส่งต่อให้กับสมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไป การมองข้ามเรื่อง “ภาษีมรดก” อาจทำให้การส่งต่อความมั่งคั่ง กลายเป็นการส่งต่อภาระทางภาษีโดยไม่รู้ตัว

ทั้งนี้กฎหมาย “ภาษีมรดก” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2559 มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมระยะยาว โดยกำหนดให้ผู้รับมรดกที่ทรัพย์สินรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5% ในกรณีที่ผู้รับเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน และเสียภาษี 10% กรณีผู้รับเป็นผู้อื่น

Thairath Money สรุป 4 กลยุทธ์ ‘Exit Strategy’ การบริหารจัดการภาษียุคใหม่ เพื่อช่วยวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งอย่างคุ้มค่าให้กับคนรุ่นต่อไป จากงานสัมมนา ‘THE WISDOM Wealth Decoded’ โดยเดอะวิสดอมกสิกรไทย

ทรัพย์สินไหนบ้างต้องเสียภาษี?

การวางแผนภาษีมรดกเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินและการสืบทอดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินและผู้ได้รับมรดกสามารถวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรัพย์สินมรดก แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร 2) หุ้นหรือหลักทรัพย์ รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล 3) เงินฝากในสถาบันการเงิน และ 4) ยานพาหนะที่จดทะเบียน ส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำประกันชีวิต ทองคำแท่ง ธนบัตร เครื่องเพชร ของสะสมต่างๆ เช่น ภาพเขียน นาฬิกา

4 กลยุทธ์วางแผน "ภาษีมรดก" ส่งต่อความมั่งคั่งแบบคุ้มค่า ป้องกันบ้านแตก

การบริหารจัดการภาษีมรดกพร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง สามารถทำได้ใน 4 รูปแบบ ซึ่งสามารถผสมผสานควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์

1.การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง

ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับธุรกิจครอบครัว ด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือถือครองทรัพย์สิน โดยมีรายได้คือเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ โดยรายได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทในเครือ ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน

2.การทำประกันชีวิต


ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ ซึ่งสินไหมมรณกรรมที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษี นอกจากนี้ผู้รับประโยชน์ยังได้รับเงินอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เพราะเงินประกันไม่ถูกรวมเข้ากับกองมรดก จึงสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับมรดกได้เลยโดยไม่ต้องรอการจัดการมรดก

สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มองข้ามคือ การใช้ประกันชีวิตในการวางแผนธุรกิจ ด้วยการทำประกันชีวิตให้กับผู้บริหารหลักของบริษัท โดยค่าเบี้ยประกันสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

3.การทำพินัยกรรม


เพื่อจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลังการทำพินัยกรรมจะมีภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือภาษีการรับมรดก

ตามกฎหมายมรดกของประเทศไทยพินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบ คือ 1) พินัยกรรมแบบธรรมดา 2) พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง และ 4) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5) พินัยกรรมทำด้วยวาจา (แต่ไม่สามารถใช้ได้ในความเป็นจริงเพราะไม่มีสงคราม) ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น “บุคคล” ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรรมในการรับมรดก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเมื่อเวลาผ่านไป

4.ธรรมนูญครอบครัว


ควรต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำเพื่ออะไร และทำเพื่อใครเพราะธรรมนูญครอบครัว เป็นการบริหารทรัพย์สินของกงสี ซึ่งเป็นเอกสารของครอบครัวที่ต้องวางหลักการ กฎ กติกา ของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจนโดยธรรมนูญครอบครัวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ต้อง “เชื่อมโยง” กฎหมาย และ “สัมพันธ์” ภาษีให้ใช้งานได้จริง และสามารถกำหนดกระบวนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว และส่งผลทำให้ธุรกิจของครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคง

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ