"กัมพูชา" โอกาสทางธุรกิจของไทย

Investment

Wealth Management

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

"กัมพูชา" โอกาสทางธุรกิจของไทย

Date Time: 12 ก.ย. 2567 10:00 น.
Content Partnership

Summary

  • • ประเทศกัมพูชา มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามภูมิภาค โดย IMF คาดเศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2567 จะเติบโตได้มากถึง 6.1% ต่อเนื่องจากปี 2566
  • • อุตสาหกรรมเด่นของกัมพูชามีหลายด้าน ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า และมีสิทธิประโยชน์ดึงดูดการลงทุนที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น สินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น
  • • “ธนาคารกรุงเทพ” เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของไทย ที่พร้อมเป็นเพื่อนคู่คิดให้กับผู้ประกอบการไทย ด้วยบริการทางการเงินที่ครบครัน รองรับโอกาสและความต้องการขยายการลงทุนมายังกัมพูชา

ประเทศกัมพูชา (CAMBODIA) ตั้งอยู่ภูมิภาคอาเซียน มีพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ขนาดเล็กกว่าประเทศไทย มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร ทางทิศเหนือติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และประเทศลาว , ทางทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม , ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ส่วนทิศใต้ติดกับอ่าวไทย

ลักษณะภูมิประเทศคล้ายกับอ่าง ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบ และลุ่มแม่น้ำโขง มีภูเขาล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านตะวันออก มีแนวเทือกเขาอันนัม เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวเทือกเขาพนมดงรัก เป็นพรมแดนกับประเทศไทย ด้านใต้และตะวันตกเฉียงใต้ มีแนวเทือกเขาบรรทัด เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีสภาพภูมิอากาศมรสุมเขตร้อน เป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุมมีฝนตกชุกยาวนาน

เอกลักษณ์วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของ “กัมพูชา” คล้ายคลึงกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน และประเพณีวันลอยกระทง โดยประเทศกัมพูชามีความโดดเด่นในด้านการแสดงนาฏศิลป์ โดยถอดแบบการแต่งกายและท่าร่ายรำมาจากรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด สำหรับอาหารประจำชาติ คือ “อาม็อก” ซึ่งทำจากเนื้อปลา ปรุงรสด้วยเครื่องแกงและกะทิ ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย บางครั้งมีการใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนปลา

สำหรับสภาพเศรษฐกิจ ประเทศกัมพูชา ได้รับแรงสนับสนุนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคและระดับโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินไว้ว่า “กัมพูชา” จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 อยู่ที่ 6.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ผ่านมาที่เติบโต 5.3%

ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาในปี 2567 มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นและปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิต ภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามกัมพูชายังเผชิญกับความท้าทายจากต่างประเทศ และความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจกระทบกับการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน และการท่องเที่ยว

“กัมพูชา” พยายามดึงดูดนักลงทุนและผลักดันส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงพัฒนาด้านการส่งออกผ่านการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีกำไร ภาษีส่งออกและภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ เป็นต้น โดยความน่าสนใจของกัมพูชา อยู่ที่การมีจุดแข็งในด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ซึ่งยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศจากข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ

ความท้าทายที่ประเทศกัมพูชาต้องเจอ เหมือนกับประเทศอื่นๆ คือความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐกับจีน และสงครามภูมิรัฐศาสตร์ที่กระทบต่อการค้าในประเทศต่างๆ กระนั้น ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของประเทศกัมพูชายังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากข้อมูลล่าสุดในปี 2566 การส่งออกสินค้ากัมพูชาไปยังประเทศอื่น มีมากถึง 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับปี 2565

นอกจากนี้ จากข้อมูลของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ระบุว่า ในปี 2566 CDC ได้อนุมัติโครงการใหม่ 247 โครงการ และมีโครงการขยายการผลิต 21 โครงการ โดย 71 โครงการลงทุนอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีเงินลงทุนทั้งหมดเกือบ 4,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกัมพูชาค่อนข้างสูง จากการที่รัฐบาลกัมพูชาเปิดกว้างให้เอื้อต่อการลงทุน มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีดึงดูดการลงทุนค่อนข้างมาก

อุตสาหกรรมเด่นของประเทศกัมพูชาอยู่ที่อุตสาหกรรมเสื้อผ้า รองเท้าและผลิตภัณฑ์เพื่อการเดินทาง ที่เป็นภาคอุตสาหกรรมส่งออกใหญ่ที่สุดของกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากสหภาพยุโรป โดยหากผู้ประกอบการไทยสนใจเข้าลงทุนในกัมพูชาควรติดตามสถานการณ์ทั้งในประเทศกัมพูชาและทั่วโลก รวมถึงเรียนรู้ข้อกำหนดและข้อจำกัดของการทำธุรกิจในอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไทย มีความสนใจลงทุนทำธุรกิจในกัมพูชา และมองหาโอกาสขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ควรศึกษารายละเอียดของการทำธุรกิจในประเทศนั้นๆ หรือเลือกปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนและทางด้านการเงิน เพื่อให้ได้รับบริการครบถ้วนอย่าง “ธนาคารกรุงเทพ” ที่มีสาขาในกัมพูชาและประเทศต่างๆ ทั่วอาเซียน

ธนาคารกรุงเทพ สาขากัมพูชา เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในเดือน ธันวาคม ปี 2557 ด้วยบริการทางการเงินที่หลากหลาย เช่น บริการเพื่อธุรกิจส่งออกและนำเข้า สินเชื่อเพื่อธุรกิจ บริการโอนเงินระหว่างประเทศ บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริการบัญชีเงินฝาก พร้อมทั้งสนับสนุนลูกค้าที่มีความสนใจขยายธุรกิจและมองหาโอกาสการลงทุนในประเทศกัมพูชาอย่างเต็มที่ โดยธนาคารกรุงเทพให้บริการครบวงจร เป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” ที่พร้อมสร้างโอกาสและความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน

คุณจาริณี ลาภวุฒิรัตน์, VP ผู้จัดการสาขากัมพูชาของธนาคารกรุงเทพ ได้เล่าถึงเศรษฐกิจกัมพูชาจากสถาบันสถิติ ประเทศกัมพูชาครองอันดับ 1 ในอาเซียน และครองอันดับ 3 ใน 20 ประเทศเอเชียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะเติบโต 6.1% โดยหากเทียบในอาเซียน อันดับ 1 เป็นประเทศกัมพูชา ตามด้วยฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนถ้าเทียบในเอเชีย กัมพูชาจะอยู่อันดับรองมาจากมาเก๊าและอินเดีย

ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตมาจากความโดดเด่นจากภาคเศรษฐกิจจริง ได้แก่ ด้านการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชา โดยไตรมาสแรกที่ผ่านมาเติบโต 17% เทียบกับปีก่อน และกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวยังคิดเป็นสัดส่วน 50% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าเกษตร ข้าว มันสำปะหลัง มะม่วงหิมพานต์ และยางพาราก็เติบโตได้ค่อนข้างดี

นอกจากนี้ เศรษฐกิจกัมพูชาได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและบริการ โดยในไตรมาสแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 22% เทียบกับปีก่อน รายได้เข้าชมนครวัดแหล่งท่องเที่ยวกัมพูชาเพิ่มขึ้น 96% หรือเกือบ 1 เท่าตัว และยังมีการเชื่อมโยงธุรกิจการค้าระหว่างกัมพูชา อาเซียนและไทย

โอกาสการค้าการลงทุนระหว่างกัมพูชากับไทยนั้น แนวโน้มเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโต 6-7% อย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ เป็นประเทศที่มีมูลค่าเข้ามาลงทุนในกัมพูชาสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ส่วนการค้าไทยกับกัมพูชาแต่ละปีมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 7-10% ต่อปี โดยเป็นการส่งออกจากไทย 80% นำเข้ากัมพูชา 20% จากข้อได้เปรียบการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะมีระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงหลากหลาย เช่น การค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรและชั่วคราว มีเส้นทางการค้าทางบก ทางน้ำและทางอากาศ

ขณะที่ประชากรในกัมพูชามี 17 ล้านคน อายุเฉลี่ย 25-26 ปี ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน มีการลงทุน มีการใช้จ่าย มีศักยภาพในการบริโภค แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกำลังซื้อสูง คาดว่ามี 5% ของทั้งหมด เช่น กลุ่มข้าราชการระดับสูง นักการเมือง นักธุรกิจ ที่รายได้สูง ซึ่งมักนิยมเดินทางไปซื้อสินค้าที่ต่างประเทศ ส่วนกลุ่มกำลังซื้อปานกลาง 20% นักธุรกิจทั่วไป ข้าราชการ สถานฑูต องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มดารา นักร้อง มักเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ และกลุ่มบริโภคต่ำ ซึ่งจะมองถึงความจำเป็นในการบริโภคสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันและราคาเป็นหลัก

อุตสาหกรรมที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของประเทศ มีทั้งการผลิตเพื่อการส่งออก กลุ่มเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า สินค้าเพื่อการท่องเที่ยว เพราะกัมพูชามีความได้เปรียบทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าแรงต่ำกว่า แต่ก็มีความท้าทายที่นักลงทุนต้องศึกษา คือด้านกฎระเบียบการค้าการลงทุน ซึ่งมีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่น ความมั่นใจ และความได้เปรียบในการเข้ามาประกอบธุรกิจ โดยมีกฎระเบียบที่แตกต่างในเรื่องวิธีการเข้ามาจัดตั้งธุรกิจ ผลประโยชน์ด้านภาษี รวมถึงนโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุน

ข้อได้เปรียบของการเข้ามาลงทุนในกัมพูชาที่ถือเป็นจุดเด่น คือ รูปแบบวิธีการชำระเงินต่างๆ ข้อดีในกัมพูชา คือ เป็นประเทศที่อนุญาตให้ใช้เงินสกุลดอลลาร์ ในการค้าขาย ซื้อขายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยไม่บังคับให้แลกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น โดยมีการใช้เงินดอลลาร์กันมากถึง 90% ทำให้นักลงทุนมีความคล่องตัวในการเข้ามาลงทุน สะดวกในการค้าขาย และลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนกัมพูชาคล้ายคลึงกับคนไทย ทั้งการเลือกซื้อสินค้า หรือการบริโภคสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากสื่อไทย รวมถึงการบริโภคสินค้าคล้ายคลึงกับคนไทย แต่ภาษาที่ชาวกัมพูชาใช้กันมากคือ ภาษาขแมร์เป็นภาษาหลัก เกือบ 100% และอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ตามด้วยภาษาจีนและไทยตามลำดับ

คุณจาริณี เล่าต่อว่า ธนาคารกรุงเทพ เข้ามาลงทุนและเปิดสาขาในกัมพูชา เนื่องจากเล็งเห็นการเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนโควิดเติบโตสูง 7% ในทุกๆ ปี และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเติบโตสูง 5-6% โดยคาดการณ์ 3 ปีข้างหน้าจะเติบโต 6% ทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง ภายใต้การเมืองที่มีเสถียรภาพ มีความชัดเจน มีการสืบทอดต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนและธนาคารกรุงเทพมีความมั่นใจในการเข้าไปลงทุน ประกอบกิจการโดยไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงทางการเมือง

ธนาคารกรุงเทพมีบริการหลากหลายและครบวงจร เพื่อธุรกิจส่งออกนำเข้า สินเชื่อเพื่อธุรกิจ ทั้งการสนับสุนนโครงการลงทุน การหมุนเวียนในธุรกิจ และซัพพลายเชนธุรกิจ บริการโอนเงินระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริการด้านบัญชีเงินฝาก ที่สำคัญบริการคอร์ปอเรทไอแคชเพื่อธุรกิจ ทำให้มีความสะดวกรวดเร็ว ลดงานเอกสารต่างๆ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตัวทางธุรกิจ

“ธนาคารกรุงเทพมีเครือข่ายความพร้อมทั่วโลก ทั้งเครือข่ายในอาเซียน สหรัฐ อังกฤษ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น ธนาคารกรุงเทพประสานงานพลังเครือข่ายต่างๆ ที่มีในภูมิภาคต่างๆ เพื่อสนับสนุนในเรื่องของสินเชื่อ โอนเงิน ชำระเงิน ธุรกิจนำเข้าส่งออก โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษามิติการลงทุนและให้บริการ เพื่อเสริมศักยภาพให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น” คุณจาริณี กล่าวทิ้งท้าย

ที่ปรึกษาการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจ
ธนาคารกรุงเทพ สาขากัมพูชา
ที่ตั้ง 344 (1st & 2nd), Mao Tse Toung Boulevard, Sangkat Toul Svay Prey I, Khan Chamkarmon, Phnom Penh, Kingdom of Cambodia
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-15.30 น.
โทร: +(855) 23 224 404-9, +(855) 86 811 333 , Customer Service Enquiries: custserv.cambodia@bangkokbank.com
ศูนย์ให้คำแนะนำด้านการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจดำเนินธุรกิจใน AEC
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารแห่งความเป็นเลิศใน AEC
ศูนย์ AEC Connect พร้อมช่วยคุณสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาค
โทรศัพท์: 02 230 2758
อีเมล: aecconnect@bangkokbank.com
ติดต่อและปรึกษาเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงเทพ (สำนักงานใหญ่)
เว็บไซต์: www.bangkokbank.com
โทรศัพท์: บัวหลวงโฟน 1333 หรือ 02 645 5555
อีเมล: info@bangkokbank.com

Author

Content Partnership

Content Partnership