ประกันสุขภาพ, ประกันออมทรัพย์ และประกันบำนาญ อาจไม่เพียงพอเสียทีเดียว เมื่อหลังเกษียณ เราอาจมีอายุยืนกว่าที่คิด หรือมากกว่า 20 ปี ค่าเฉลี่ยที่คาดว่าคนเรา อาจมีอายุขัยราว 80 ปี
นี่เป็นเพียงความเสี่ยง 1 ใน 5 ที่ “ผู้สูงวัย” หรือวัยทำงาน ต้องเริ่มประเมิน เพราะหาก เราเตรียมความพร้อมทางการเงินไว้ไม่ดีพอ วัยเกษียณ ที่อยากอยู่กันแบบเกษม มีความสุขทั้งทางกาย สุขใจ และสุขทางการเงิน อาจไม่เกิดขึ้นจริง
5 จุดเสี่ยง “วัยเกษียณ”
ข้อมูลแนะ จากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เปิด 5 จุดเสี่ยง สำหรับการวางแผนเกษียณ ที่ต้องคำนึง และไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ไว้ดังนี้
1. ความเสี่ยง จาก “เงินเฟ้อ”
- ปัญหา : ภาวะเงินเฟ้อ ทำให้อำนาจการใช้จ่ายลดลง ต้องถอนเงินต่อปีออกมาใช้มากขึ้น ถึงแม้จะมีพฤติการการใช้เงินเท่าเดิม
- ทางออก : นำเงินไปลงทุนสร้างผลตอบแทน ให้ชนะเงินเฟ้อ ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้
2. ความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายพิเศษด้านสุขภาพ
- ปัญหา : ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณส่วนใหญ่กังวล คือ ค่ารักษาพยาบาล หากตกเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง
- ทางออก : ควรทำประกันสุขภาพให้เพียงพอตั้งแต่ในวัยทำงาน เพราะหากทำประกันเมื่อถึงวัยเกษียณ อาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่คาด หรืออาจมีโรคประจำตัวบางประเภท ทำให้ไม่สามารถทำประกันได้
3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนทางการลงทุน
- ปัญหา : การนำเงินกองทุนเกษียณไปไว้ในวันที่ผลตอบแทนต่ำว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าของเงินหดหาย และทำให้เงินไม่พอใช้ตลอดช่วงวัยเกษียณ
- ทางออก : หากแบ่งเงินไว้ในหุ้นหรือกองทุนรวม ควรมีความรู้เรื่องผลตอบแทนความเสี่ยง และควรวางแผนการถอนเงิน เพราะความเสี่ยงในการถอนเงินช่วงตลาดขาลง ทำให้กองทุนเกษียณหมดลงอย่างรวดเร็วมาก
4. ความเสี่ยงในความเสื่อมของร่างกาย
- ปัญหา : ความเสื่อมของร่างกายทำให้การตัดสินใจและความสามารถประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลและประสิทธิภาพลดลง
- ทางออก : ควรเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ โดยการปรับรูปแบบชีวิตให้เรียบง่าย และลดการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ให้น้อยลง
5. ความเสี่ยงจากการที่มีอายุยืนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
- ควรวางแผนไว้รองรับ หากมีอายุยืนยาวกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรให้กระทบการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันมากเกินไป
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่