หยวนต้า มองหุ้นไทยปีหน้า เด่นกว่าภูมิภาค วางเป้า 1,600 จุด  คาดเงินไหลออกจาก DELTA เข้าหุ้นใหญ่

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หยวนต้า มองหุ้นไทยปีหน้า เด่นกว่าภูมิภาค วางเป้า 1,600 จุด คาดเงินไหลออกจาก DELTA เข้าหุ้นใหญ่

Date Time: 26 พ.ย. 2567 11:19 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ตลาดหุ้นไทยในปีนี้เผชิญความผันผวนอย่างต่อเนื่อง แม้ดัชนีจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ 1,400 จุด แต่ถูกประคองด้วยหุ้นไม่กี่ตัว โดยในปี 2568 บล.หยวนต้า มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ จากบริษัทจดทะเบียนที่ทำกำไรได้ดีขึ้น และในขณะเดียวกัน น่าจะเห็นภาพของการเคลื่อนย้ายของเม็ดเงินออกจาก DELTA ไปยังหุ้นขนาดใหญ่ตัวอื่นเพิ่มเติม โดยวางเป้าหมายดัชนีที่ 1,600 จุด

Latest


บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า บริษัทประเมินว่านักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ยังเชื่อมั่นกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยเราประเมินเป้าหมาย SET INDEX สิ้นปี 2568 ที่ 1,600 จุด ภายใต้จุดเด่นในด้าน Valuation ที่ยังไม่แพงเกินไป, แนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศที่ทรงตัวในระดับต่ำ, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความต่อเนื่อง, และการลงทุนทางตรง (FDI) ที่ยังอยู่ในช่วงเร่งตัว


ทั้งนี้ หยวนต้า ประเมินบริษัทที่ยังสามารถเติบโตได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกที่ผันผวน ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นกลุ่มบริษัทที่ Outperform ได้ท่ามกลางความเสี่ยงด้านสงครามการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมี 33 บริษัทจดทะเบียนครอบคลุม 15 กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าร่วมงานในปีนี้ และทุกบริษัทล้วนให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG โดยมี Yuanta ESG Rating ระดับ A ขึ้นไป


แม้ปีหน้าท้าทาย แต่ตลาดหุ้นไทยยังมีจุดเด่น มุมมองของตลาดทุนไทยในปี 2568 แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน แต่ยังมีปัจจัยหนุนที่ทำให้เราประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะกลับมา Outperform ภูมิภาคได้


เช่น มาตรการกระตุ้นการบริโภคครั้งใหญ่จากภาครัฐ, การเบิกจ่ายงบประมาณแบบเต็มปีครั้งแรกในรอบ 2 ปี, การลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวจากเงินลงทุนผ่าน FDI เช่น Data Center, และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง


เราประเมินเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยในสิ้นปีนี้ที่ 1,450 จุด และสิ้นปีหน้าที่ 1,600 จุด โดยมี Theme การลงทุนและปัจจัยที่น่าสนใจเพิ่มเติม คือ 1. มูลค่าหุ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่แพง แต่ขึ้นกระจุกตัว โดยถ้าหากตัด DELTA และ GULF ที่มีผลต่อดัชนีอย่างมากออกไป PER ปีนี้จะลดลงจาก 16.5 เท่า เหลือ 14.5 เท่า คิดเป็น -1 S.D. ของค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง


ซึ่งหลังจากเม็ดเงินลงทุนเริ่มไหลออกจาก DELTA เราคาดว่าจะทำให้หุ้นขนาดใหญ่อื่นๆ เคลื่อนไหวแบบมีเสถียรภาพ และสะท้อนปัจจัยพื้นฐานได้ดีขึ้น 2. แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงช่วยหนุนการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม แม้ว่า Bond Yield ของสหรัฐฯ จะกลับมาเร่งตัวขึ้นหลังผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เราคาดว่าจะเป็นเพียงการเร่งขึ้นระยะสั้น เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทั้งโลกไม่เอื้อต่อภาวะดอกเบี้ยสูง และนโยบาย Trade War เชิงรุก ขณะที่ Bond Yield อายุ 10 ปี ของไทยยังทรงตัว 2.4% - 2.5% ถือเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่ม Yield Play ในระยะกลาง


เช่น กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIT และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือ IFF, สื่อสาร, โรงไฟฟ้า, ไฟแนนซ์ 3. การลงทุนทางตรง (FDI) เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะ Data Center รวมถึงการย้ายฐานการผลิตจากความกังวลด้าน Trade War ซึ่งคาดว่ายอด FDI จะสร้างสถิติใหม่ในปี 2568 โดยจะส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม, และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน Data Center เช่น สื่อสารและโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง คือ ผลกระทบจากสงครามการค้าที่อาจรุนแรงกว่าคาด, ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์, และความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ สำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม คาดว่าจะเติบโตเด่นในระยะยาวจากโครงสร้างประชากรวัยทำงานที่เพิ่มขึ้น, การขยายตัวของผู้มีรายได้สูง, และการเติบโตของ FDI โดยปัจจัยหนุนเชิง Sentiment ที่โดดเด่น คือ โอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามจะเข้าคำนวณในดัชนีสากล เช่น FTSE และการเลื่อนสถานะมาอยู่ในกลุ่ม Emerging Market


อย่างไรก็ตาม Spotting K-Shaped Recovery ยังมีอยู่จริงในตลาดหุ้นไทย หลังจากได้รับฟังข้อมูลทั้ง 33 บริษัทจดทะเบียน เราพบว่า K-Shaped ขาบน หรือหุ้นที่เราคาดว่าจะ Outperform ตลาดในปี 2568 หรือหุ้นที่กำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนที่เป็นจุดเริ่มต้นของ New S-Curve ยังมีอยู่จริงในตลาดหุ้นไทย ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน ที่ปัจจัยภายนอกถูกกดดันจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ, สงครามการค้าที่มีโอกาสรุนแรงขึ้น, และสภาพอากาศที่แปรปรวน (ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน กระทบกลุ่มท่องเที่ยวและภาคการเกษตร) รวมถึงปัจจัยภายในประเทศที่ยังต้องลุ้นกับความต่อเนื่องทางการเมืองในทุกยุคทุกสมัย ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังกระจุกตัวเพียงไม่กี่กลุ่มอุตสาหกรรม หรือหุ้นไม่กี่ตัว เพราะฉะนั้น การลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีโอกาสเติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ผันผวน จึงมีโอกาสช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน และเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้ในระยะยาว นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน


โดยบริษัทที่เข้าร่วมให้ข้อมูล นอกจากจะมีจุดเด่นด้านผลประกอบการที่เติบโตต่อเนื่องแล้ว ยังมีการเปิดเผยข้อมูล ESG ตามองค์ประกอบของ Yuanta ESG Rating และได้ Yuanta ESG Rating ในระดับ A ขึ้นไป ซึ่งสามารถแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมได้ ดังนี้ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ - AAV, BEM, SJWD กลุ่มสื่อสาร – ADVANC, THCOM, TRUE กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค – BCP, BGRIM, GULF, GUNKUL, PTT, PTTEP กลุ่มการแพทย์ – BDMS, MASTER กลุ่มพาณิชย์ – BJC กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง – CK กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม – CPF, ITC, OSP, SAPPE, TU กลุ่มท่องเที่ยว – MINT, SPA กลุ่มธุรกิจการเกษตร – NER, STA กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ – ONEE กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ – SC, SPALI กลุ่มธนาคาร – SCB, TTB กลุ่มบรรจุภัณฑ์ – SCGP กลุ่มวัสดุก่อสร้าง – TASCO กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ - TIDLOR


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ