ราคากองรีทส์โลกพุ่ง 28% จากต้นปี รับเงินไหลออกจากตราสารหนี้  ดอกเบี้ยต่ำ ยิ่งได้ประโยชน์

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ราคากองรีทส์โลกพุ่ง 28% จากต้นปี รับเงินไหลออกจากตราสารหนี้ ดอกเบี้ยต่ำ ยิ่งได้ประโยชน์

Date Time: 21 ต.ค. 2567 13:46 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ภาวะที่ดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากตลาดการเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น กอง REITs ที่มีจุดเด่นในการให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอจากค่าเช่าอาคาร โดย FTSE NAREIT All Equity REITs Index ให้ผลตอบแทนสูงในช่วง 3 เดือน และ 1 ปีที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนทะลุ 28 %

ดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในเทรนด์ขาลง ทำให้เงินที่เคยอยู่ตลาดการเงิน ทั้งตราสารหนี้ หุ้นกู้ เงินฝากธนาคาร กำลังไหลออก เพื่อหนีผลตอบแทนผ่านดอกเบี้ยที่จะลดลง และหาผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยหนึ่งในเป้าหมายของเงินที่จะไหลเข้า คือ กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองรีทส์ ซึ่งจุดเด่นของกองรีทส์ คือ การให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอจากค่าเช่าของอาคารสำนักงาน หรือ โรงแรม ที่อยู่ในกองรีทส์ ซึ่งที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสูงในระดับ 6-8% ผลักดันให้ราคาหน่วยของกองรีทส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


 ธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่ามุมมองการลงทุน Global REITs ให้น้ำหนักการลงทุนระยะสั้นและยาว Overweight เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์วัฏจักรดอกเบี้ยสหรัฐฯ ขาลง ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดดอกเบี้ยต่ออีก 0.5% ในช่วงไตรมาส 4/2567 และปรับลดต่อ 1% ปีหน้า ส่งผลดีต่อต้นทุนการเงินที่ลดลงของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 


จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบ Soft Landing และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง แม้ความเคลื่อนไหวของราคา Global REITs หรือกองรีทส์โลก ดัชนี FTSE NAREIT All Equity REITs Index ได้ปรับตัวลงมาจากต้นเดือน ต.ค. จากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield) และตลาดปรับตัวขึ้นมามากก่อนหน้าจึงคาดการณ์ Global REITs อาจพักฐานระยะสั้น 


ซึ่งคาดว่าการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จำกัดโดยมีแนวต้านที่ 4.1% จากปัจจุบันที่ 4.0% และระยะยาวคาดว่าจะปรับตัวลง ทั้งนี้ ตามสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า Global REITs มักทำผลตอบแทนได้โดดเด่นในปีที่ Bond Yield ปรับตัวลง ซึ่งผลตอบแทนราคาดัชนี FTSE Nareit All Equity REITs Index 3 เดือน +8.47% และ 1 ปี +28.26% (ข้อมูล ณ 16 ต.ค. 67)


อย่างไรก็ตาม MFC ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการกองทุนคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4/2567 ตลาดทั่วโลกอาจมีความผันผวนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ MFC จึงแนะนำ 3 กองทุนที่น่าสนใจและกองทุนหลักได้รับ 5 ดาว จาก Morningstar ที่จะช่วยให้นักลงทุนนำมาจัดพอร์ต เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและฝ่าความผันผวนของตลาด ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล โฟกัส (MGF), กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล พร็อพเพอร์ตี้ อิควิตี้ ฟันด์ (MGPROP) และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเดีย ซีเล็ค อิควิตี้ (MINDIA) 


สำหรับกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล โฟกัส (MGF) ลงทุนในกองทุนหลักที่มีนโยบายลงทุนกระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก เป็น Global Equity ระดับความเสี่ยง 6 เหมาะกับการใช้เป็น Core Port เพราะมีขอบเขตการลงทุนที่กว้าง มีความยืดหยุ่นเลือกลงทุนได้หลายตลาด ผลการดำเนินงานย้อนหลังโดดเด่นกองทุนหลักได้รับ Morning Star 5 ดาว โดยตั้งแต่ปี 2014 – 2023 กองทุนหลักให้ผลตอบแทนเหนือกว่าดัชนีชี้วัด MSCI ACWI ถึง 8 ปี จากทั้งหมด 10 ปี 


นอกจากนี้กองทุนหลักยังได้รับ Morningstar Sustainability Rating ซึ่งเป็นเรื่องของ ESG ระดับ 5 ลูกโลก MFC มองช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับฐาน จึงเป็นจังหวะลงทุนจากสถิติการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะผันผวนและปรับตัวลงก่อนการเลือกตั้ง 1 เดือน ในช่วงเดือน ต.ค. (เฉลี่ย -1.73%) แต่จะปรับตัวขึ้นอีกครั้งในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. หลังรู้ผลการเลือกตั้ง (เฉลี่ย พ.ย. +0.98% และ ธ.ค. +1.32%)


 “จุดเด่นของกองทุน MGF ลงทุนในกองทุนหลักที่เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด มีความได้เปรียบในการแข่งขันเนื่องจากหุ้นประเภทนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ จึงแนะนำลงทุนเป็นพอร์ตหลักและยังเลือกลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)” นายธนโชติ กล่าว

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ