บอร์ด ก.ล.ต. เคาะเพิ่มโทษ โบรกเกอร์ เข้มป้องกันการทำผิด  พบ Naked Short สั่งปรับ 3 เท่า

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บอร์ด ก.ล.ต. เคาะเพิ่มโทษ โบรกเกอร์ เข้มป้องกันการทำผิด พบ Naked Short สั่งปรับ 3 เท่า

Date Time: 9 ต.ค. 2567 15:41 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้ยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น โดยเพิ่มขอบเขตบทลงโทษใน 4 ระดับจากความผิดน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก เพื่อตอบรับปัญหาในตลาดหุ้น เช่น กรณี Naked Short ที่บทลงโทษถูกปรับให้รุนแรงขึ้นเป็นการปรับเงิน 3 เท่าจากกำไร นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎเกณฑ์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้กองทุนสามารถลงทุนใน crypto assets ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมและคุ้มครองผู้ลงทุน.

นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  เปิดเผยว่า คณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้มีมติ เห็นชอบการมาตรการกำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นสมาชิกในการตรวจสอบการกระทำความผิดและลงโทษให้มีความคล่องตัวมากขึ้น 


“การเพิ่มขอบเขตอำนาจการลงโทษของตลาดหลักทรัพย์กับสมาชิก จากเดิมที่มีการกำหนดบทลงโทษที่ตายตัว ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้บทลงโทษต่างๆ”


ที่มาของการเพิ่มบทลงโทษในรอบนี้ มาจากปัญหาข้อถกเถียงในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งปัญหา Naked Short ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ฯได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศ โดยที่ปรึกษาให้ความเห็นว่า การปรับบทลงโทษต่างๆนั้นสามารถเพิ่มเติมได้อีก 

โดยการปรับบทลงโทษในครั้งนี้ เป็นการปลดล็อคจากเดิมที่บทลงโทษตายตัว และเพดานการปรับค่าปรับ ให้เป็นแบ่งการลงโทษเป็น 4 ระดับ คือ 


1 ระดับความผิดน้อย 

2 ระดับความผิดปานกลาง

3 ระดับความผิดมาก 

4 ระดับความผิดรุนแรงมาก 


ตัวอย่าง ในระดับความผิดรุนแรงมาก เช่นการทำ NAKED SHORT ได้มีการปรับบทลงโทษ จากเดิม ที่หากมีการตรวจพบ ตลาดหลักทรัพย์จะลงโทษด้วยการปรับเงิน 1 ล้านบาท ส่วนบทลงโทษใหม่ จะปรับเป็น ปรับเงิน 3 เท่า จากกำไรจากการทำธุรกรรม หรือปรับเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม สำนักงานก.ล.ต.   เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและร่างประกาศเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล (กองทุน) ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (DA)* เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการให้บริการการลงทุนในต่างประเทศแก่ผู้ลงทุนรายใหญ่ผ่าน บล. และ บลจ. และเพื่อประโยชน์ด้านการจัดสรรสินทรัพย์ (asset allocation) ผ่านผู้เชี่ยวชาญ

โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม ดังนี้

1. เพิ่มให้ investment token เป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ โดยมีอัตราส่วนการลงทุนเช่นเดียวกับ transferable securities เช่น หุ้น และหุ้นกู้ เป็นต้น เนื่องจากมีลักษณะและความเสี่ยงคล้ายกัน

2. เพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุนสามารถลงทุนในคริปโทแอสเซ็ท (crypto asset) ได้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับประเภทผู้ลงทุน โดยกองทุนสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่*** สามารถลงทุนใน crypto ETF ได้ โดย
ไม่จำกัดสัดส่วนการลงทุน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันระหว่าง บล. และบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) และกรณีกองทุนดังกล่าวลงทุนใน crypto asset โดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จำกัดไม่เกินร้อยละ 20 ของ NAV ในขณะที่กองทุนสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย 

สามารถมี total crypto asset exposure ผ่าน ETF หรือกองทุนรวมต่างประเทศ ไม่เกินร้อยละ 5 ของ NAV เพื่อประโยชน์ด้านการจัดสรรสินทรัพย์ (asset allocation) ผ่านผู้เชี่ยวชาญ โดยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 

(1) เป็นกองทุนที่จัดตั้งภายหลังวันที่ประกาศใหม่มีผลใช้บังคับ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้ลงทุน
ในกองทุนที่อาจไม่ประสงค์ที่จะมีความเสี่ยงในทรัพย์สินดังกล่าว

(2) มีกลยุทธ์ active management และเป็นกองทุนรวมผสมที่มีนโยบายการลงทุนหลักเพื่อ asset allocation กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี

(3) เปิดเผยข้อมูลและคำเตือนให้ผู้ลงทุนทราบถึง crypto asset exposure อย่างชัดเจน

3. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการจัดตั้งและจัดการสำหรับกองทุนที่ลงทุนใน DA เช่น
การเก็บรักษาทรัพย์สิน การคำนวณมูลค่า DA การเปิดเผยข้อมูล การโฆษณาที่เหมาะสม และการปรับปรุง suitability test ให้ครอบคลุมการลงทุนใน crypto asset เป็นต้น

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ