BEM ขึ้นชั้นหุ้นแข็งแกร่ง เมื่อรถไฟฟ้า MRT ขึ้นราคา แต่คนใช้บริการไม่ลด หนุนกำไรเกินพันล้าน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

BEM ขึ้นชั้นหุ้นแข็งแกร่ง เมื่อรถไฟฟ้า MRT ขึ้นราคา แต่คนใช้บริการไม่ลด หนุนกำไรเกินพันล้าน

Date Time: 12 ก.ย. 2567 12:50 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • จากการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ MRT ที่เริ่มในวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เพิ่มขึ้น 1-2 บาท ซึ่งทำให้ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 17-45 บาท การปรับขึ้นนี้ไม่ได้ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารลดลง ตรงกันข้าม จำนวนผู้โดยสารในเดือนสิงหาคม 2567 เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัท BEM โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรของ BEM ในไตรมาสที่ 3 จะอยู่ที่มากกว่า 1 พันล้านบาท

Latest


ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วสำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าของ MRT ที่เริ่มใช้ในวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) เพิ่มขึ้น 1 - 2 บาท โดยมีกรอบราคาค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 45 บาท แม้ว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้นแต่จำนวนผู้โดยสารกลับไม่ได้ลดลง

โดยในช่วงเดือน ส.ค. ตัวเลขของผู้โดยสารนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 6% จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้การเติบโตของหุ้น BEM นั้นมีกำไรที่โตดีขึ้นไปด้วย โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า กำไรของ BEM ในไตรมาสที่ 3 อาจเกิน 1 พันล้านบาท และการได้รับสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้มจะช่วยสร้างการเติบโตครั้งใหม่ จากการประหยัดต่อขนาด


จากการปรับขึ้นค่าโดยสารที่ 1 - 2 บาท ไม่ได้ทำให้ผู้โดยสารลดลง ซึ่งในช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารนั้นเพิ่มขึ้น บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี รายงานว่า ในด้านผลประกอบการของ BEM ในช่วงเดือนสิงหาคม มีพัฒนาการที่ดีมาก โดยปริมาณการใช้รถทางด่วนและรถไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีวันหยุดน้อยลง ปริมาณการใช้รถทางด่วนเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สำหรับการเปรียบเทียบแบบปีต่อปี กลุ่มรถไฟฟ้ายังคงมีการเติบโตของปริมาณการใช้ที่ดีกว่ารถทางด่วน โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับ 0.4% ของรถทางด่วน กำไรปรับตัวขึ้นต่อในช่วงไตรมาส 3


ทั้งนี้ ปริมาณการใช้รถไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2567 ทำให้ค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้รถไฟฟ้า 2 เดือนในไตรมาส 3 ปี 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 437,000 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และปริมาณการใช้รถทางด่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1.12 ล้านเที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า


ทั้งนี้ ปริมาณการใช้รถไฟฟ้าจะเผชิญกับการเติบโตที่ช้าลง โดยจำนวนของผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเพียง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13-15% ในครึ่งแรกของปี 2567 แต่นไม่ใช่สัญญาณเตือน เนื่องจาก BEM ได้เริ่มปรับขึ้นค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567


ดังนั้น เราจึงยังคงคาดหวังว่าโมเมนตัมกำไรจะดำเนินต่อไปจากไตรมาส 2 ไปจนถึงไตรมาส 3 ปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจากผลกระทบเชิงบวกตามฤดูกาล และการปรับขึ้นค่าโดยสาร เราคงประมาณการกำไรทั้งปีไว้ที่ 3.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 10.4 บาท เพิ่มจาก 9.5 จากการใช้ราคาปี 68

BEM เป็นหุ้นที่น่าสนใจและมีการเติบโตของกำไรที่ดี กำไรในปีนี้จะทำสถิติใหม่ที่ 3.8 พันล้านบาท โดยเติบโต 11% เราคงคำแนะนำซื้อไว้เหมือนเดิม แต่ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 10.4 บาทจาก 9.5 บาท โดยส่วนใหญ่มาจากผลกระทบของการเลื่อนราคาเป้าหมายไปสิ้นปี 2568 จากสิ้นปี 2567

Economy of scale กำลังเพิ่มขึ้น 


บล.เอเซีย พลัส มองว่า หุ้น BEM นั้นสดใสทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทิศทางธุรกิจสดใสทั้งระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นฝ่ายวิจัยเชื่อว่า BEM จะทำกำไรสูงสุดของปีได้ในงวด 3 สูงสุดในรอบปี และมีลุ้นทำสถิติกำไรจากการดำเนินงานสูงสุดครั้งใหม่ จากข้อมูลในอดีตที่จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินในไตรมาส 3 มักจะสูงกว่าไตรมาส 2 เพราะเป็นช่วงที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเปิดเรียน อีกทั้งมีจำนวนวันหยุดราชการไม่มากจึงมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากกว่า


โดยจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสีน้ำเงิน เดือน ก.ค. 67 เฉลี่ยอยู่ที่ 424,873 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน และ BEM มีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1 บาทต่อเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 67 ส่งผลให้มีรายได้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทันทีประมาณ 4 แสนบาทต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้ทางด่วนอยู่ในระดับทรงตัวเทียบกับปีก่อนที่ 1,111,032 เที่ยวต่อวัน


นอกจากนี้ ในงวดไตรมาสที่ 3 คาดว่า BEM น่าจะยังได้รับเงินปันผลจาก TTW เข้ามาประมาณ 180-200 ล้านบาท หากยังรักษาโมเมนตัมของจำนวนผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าได้เช่นนี้ เบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินงวดไตรมาสที่ 3 น่าจะสร้างกำไรได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

สำหรับภาพระยะยาว มีปัจจัยบวกจากการได้เข้าไปดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งเส้นทาง จะส่งผลดีทั้งในเชิงความต่อเนื่องของรายได้ที่มีสัญญายาว 30 ปีถึงปี พ.ศ. 2601 และ Synergy ที่เกิดขึ้นจากความประหยัดต่อขนาดในการบริหารรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง

รวมถึงการส่งต่อผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินซึ่งเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางหลักของ BEM ในปัจจุบัน และโอกาสที่ BEM จะได้รับสัญญาเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่น่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2568 ส่วนธุรกิจทางพิเศษอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่จะขยายอายุสัมปทานการรับรู้ส่วนแบ่งรายได้จากทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ออกไปอีก 22 ปี 5 เดือน เพื่อแลกกับการลงทุนสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 หรือ “Double Deck” เพื่อแก้ไขปัญหารถติดบนทางด่วน

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ