TMAN หุ้นยาเวชภัณฑ์ เจ้าของ Propoliz-Vita-C ทุกยอดขาย 100 บาท กำไร 21 บาท

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

TMAN หุ้นยาเวชภัณฑ์ เจ้าของ Propoliz-Vita-C ทุกยอดขาย 100 บาท กำไร 21 บาท

Date Time: 4 ส.ค. 2567 10:12 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • - TMAN ว่าที่หุ้นไอพีโอน้องใหม่ ขายสินค้า 100 บาท กำไร 21 บาท
  • - กลยุทธ์สำคัญ คือ การดำเนินธุรกิจทั้งการวิจัย การผลิต และขายสินค้าด้วยตัวเอง ทำให้มีอัตรากำไรสูง

Latest


ยาและเวชภัณฑ์ เป็นหนึ่งในสินค้าจำเป็น เพราะด้วยการเจ็บป่วยและการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บที่กระจายอย่างเร็ว ดังนั้นการผลิตยารักษาโลกจึงมีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งในด้านผู้ผลิตยารายใหญ่ของโลก มักจะอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป เพราะต้องใช้เม็ดเงินวิจัยและพัฒนาที่สูงมาก ทำให้หลายคนมักจะได้ยินชื่อบริษัทอย่าง ไฟเซอร์ (Pfizer), ASTA Astra Veda Corporation มีการเติบโตที่สูง กำไรสุทธิก็สูงเช่นกัน 

ส่วนในประเทศไทย เริ่มมีบริษัทยาและเวชภัณฑ์หลายบริษัทเข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทยอดนิยมอย่าง บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MEGA หรือหุ้นน้องใหม่อย่าง บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC, บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP ซึ่งในเร็วๆ นี้ มีอีก 1 บริษัทเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีจุดเด่นที่พัฒนาและวิจัยภัณฑ์ พัฒนาและผลิตสินค้า รวมถึงวางขายด้วยแบรนด์ของบริษัท ส่งผลให้มีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 21% และสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ถึง 33.7% 

TMAN ทำธุรกิจ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์

โดยบริษัทดำเนินการใน 4 กลุ่ม 

  1. ยาแผนปัจจุบัน ภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัท และแบรนด์ของบุคคลภายนอก เช่น Myda Series กลุ่มยารักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา
  2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัท และแบรนด์ของบุคคลภายนอก เช่น Propoliz Series กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและช่วยบรรเทาอาการทางช่องปากและลำคอ
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ครอบคลุมผู้บริโภคทุกช่วงวัย ภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัท และแบรนด์ของบุคคลภายนอก ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น Vita-C Series ผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินซี และ 2) เครื่องสำอาง เช่น Nevtral cream ครีมบำรุงผิว สำหรับผื่น แพ้ คัน 
  4. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ 1) อุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ เช่น  Dr.Temp Series แผ่นเจลลดไข้ และ 2) สินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อดูแลสุขภาพทั่วไปทุกช่วงวัย เช่น Polar Series สเปรย์ปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์โฟมล้างมือผสมแอ็กทีฟ โพลาร์

TMAN ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นพุ่ง 

สิ่งที่น่าสังเกต คือ ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้น หรือ Return on Equity ของ TMAN อยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับผู้เล่นในตลาดเดียวกัน โดยมี ROE สูงถึง 33.7% 

บริษัทสร้างความแตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นในไทย คือ บริษัทเน้นการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์เป็นหลัก โดยมีผู้วิจัยกว่า 110 คน เริ่มต้นการวิจัยตั้งแต่การศึกษาความต้องการตลาด จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในการผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ใช้เวลา 3-4 ปี ปัจจุบันมี SKU มากกว่า 825 SKU โดยในรายได้ของกลุ่มบริษัทจะมาจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 40% ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง 36% ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอื่นๆ 3.7% ส่วนผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ยาและเวชภัณฑ์ใช้เวลา 3-4 ปี โดยในรายได้ของกลุ่มบริษัทจะมาจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 40% ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง 36% ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอื่นๆ 3.7%   

โดยกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้อัตรากำไรของ TMAN อยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นจากการวิจัยและจำหน่ายสินค้าของบริษัทเอง โดยเห็นได้จากสัดส่วนรายได้ในปี 2566 มีรายได้จากการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของบริษัท ในสัดส่วน 98% ของรายได้ทั้งหมด และมีรายได้จากการผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก หรือ OME 0.5% และจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 1% 

กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ คือ กลุ่มร้านขายยา กินสัดส่วน 59% และโรงพยาบาล 11.4% และธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง 8.5%

TMAN กำลังเข้าตลาดหุ้น 

ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล หรือ TMAN ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 102 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.75 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ แบ่งเป็น

1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 71,430,000 หุ้น 

2) หุ้นสามัญโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 30,570,000 หุ้น โดยมีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนสำหรับ 1) ใช้เป็นเงินทุนในการขยายกำลังการผลิต และ/หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท และ 2) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม

อย่างไรก็ตาม ภาวะหุ้นไอพีโอที่มีความท้าทายอย่างมากในเวลานี้ จึงน่าจับตาว่า TMAN จะฝ่าคลื่นลมความผันผวน และสามารถเข้าเทรดได้ในปีนี้หรือไม่  

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์