ธปท.เล็งลดจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต ดันหุ้น Non-Bank พุ่ง ได้อย่างเสียอย่าง ช่วยลด NPL อาจฉุดกำลังซื้อ

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ธปท.เล็งลดจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต ดันหุ้น Non-Bank พุ่ง ได้อย่างเสียอย่าง ช่วยลด NPL อาจฉุดกำลังซื้อ

Date Time: 1 ส.ค. 2567 12:18 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Latest


หุ้นกลุ่มสินเชื่อนอนแบงก์ กำลังได้รับประโยชน์ จากแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจพิจารณาการปรับลดการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต จาก 8% ลงมาเหลือ 5% ซึ่งเป็นการกลับทิศจากเดิมที่มีแผนจะปรับขึ้นเป็นการจ่ายขั้นต่ำ 10% ในปี 2568 จากแรงกดดันเรื่องหนี้เสียที่กำลังรุนแรงมากขึ้น

ทั้งนี้หาก ธปท.เดินหน้ามาตรการดังกล่าวจริง นักวิเคราะห์มองว่า จะส่งผลบวกให้การเกิด NPL ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิต และเช่าซื้อ จะลดลง แต่ในปัจจัยที่ต้องจับตา คือ กำลังซื้อที่อาจจะหดตัวในระยะทางข้างหน้าก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน 

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่าจากกระแสข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. อยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 8% เหลือ 5% (ตามแผนปัจจุบันปี 2568 กลับสู่ระดับ 10% เท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด Covid) หลังกลุ่มรายย่อยยังได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกันของ เศรษฐกิจไทย

ในมุมมองฝ่ายวิจัยกรณีที่เกิดขึ้น มองกลางต่อประเด็นดังกล่าว แม้ช่วยด้านการเติบโตของสินเชื่อบัตรเครดิต ตามการผ่อนชำระเงินต้นต่ำลง (สินเชื่อบัตรเครดิต ณ สิ้น เม.ย. 67 อยู่ที่ 4.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นของ ธพ. ราว 2.2 แสนล้านบาท และ กลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ Non-Bank ประมาณ 2.5 แสนล้านบาท) และลดแรงกดดันด้าน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL บางส่วน ช่วยผ่อนคลายการตั้ง ECL 

อย่างไรก็ดีผลทางอ้อมทำให้ระดับหนี้ ครัวเรือนต่อ GDP ที่อยู่สูงถึงประมาณ 90% มีแนวโน้มลดลงช้า ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ในการปรับขั้นต่ำเหลือ 5% จะยาวนานเท่าใด มีโอกาสเป็นปัจจัยฉุดรั้งกำลังซื้อใน ประเทศระยะถัดไป สำหรับกลุ่ม Non-Bank ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นหลัก อย่าง KTC, AEONTS ย่อมได้ประโยชน์จากการเติบโตของ สินเชื่อและ ECL ผ่อนคลาย มากกว่ากลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ 

ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต เมื่อเทียบกับพอร์ตรวมไม่สูง อาทิ BAY อยู่ที่ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, SCB (ผ่าน บ. ย่อย CARDX รวมสินเชื่อบุคคล) อยู่ที่ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, KBANK ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, KTB (ผ่าน บ. ย่อย KTC) สัดส่วนราว 3% ของพอร์ตสินเชื่อ และ TTB ราว 3% ของพอร์ตสินเชื่อ 

โดยการลงทุนกลุ่มธนาคาร ให้น้ำหนักเท่าตลาด มองว่า VALUATION เชิง PBV ไม่แพง ประกอบกับ DIV YIELD ตั้งแต่ 5-9% ภาพรวมถือว่าน่าสนใจ เลือก ธพ. ที่ การควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีต่อเนื่อง เรียงตามความชอบดังนี้ KTB ราคาที่เหมาะสม 19.8 บาท KBANK  ราคาที่เหมาะสม 148 บาท  TTB ราคาที่เหมาะสม 1.98 บาท BBL ราคาที่เหมาะสม 175 บาท 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์