ก.ล.ต. ลุยปฏิรูปทำงานใหม่ ขีดเส้นกล่าวโทษ “ต้องหลักเดือนไม่ใช่ปี” สางคดีค้างท่อ สร้างความเชื่อมั่น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต. ลุยปฏิรูปทำงานใหม่ ขีดเส้นกล่าวโทษ “ต้องหลักเดือนไม่ใช่ปี” สางคดีค้างท่อ สร้างความเชื่อมั่น

Date Time: 23 ก.ค. 2567 16:45 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • - ประธานบอร์ด ก.ล.ต. ประกาศ ปฏิรูปกระบวณการพิจารณาคดีใหม่ ขีดเส้นกล่าวโทษ หลักเดือน ไม่ใช่ปี ย้ำว่า หลังจากนี้จะมีการสางคดีคงค้าง ออกมาจำนวนมาก

ความเชื่อมั่นนักลงทุนไทยกำลังพังทลายลง ด้วยการทุจริตที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นมาหลายกรณี ทั้งในหุ้น MORE, STARK มาจนถึง EA ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งฟื้นวิกฤตินี้ โดยหนึ่งในผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ที่เพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ ท่านใหม่ มองว่า การบังคับใช้กฎหมายจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ 

โดยมองว่า ระยะเวลาในการสอบสวน รวมถึงการกล่าวโทษ เราควรจะพูดกันในหลักเดือน ไม่ใช่หลักปี ซึ่งหากการกล่าวโทษ และนำคนผิดมาลงโทษได้รวดเร็ว จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นผู้ลงทุนให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีการเสนอเป็นวาระในการปรับปรุงการทำงานในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต.ในเดือนหน้า 

าสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า นโยบายการทำงานของสำนักงาน ก.ล.ต. ในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้านั้น คือ การฟื้นความเชื่อมั่นในตลาดหุ้น และสร้างความซื่อสัตย์ โดยเฉพาะระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องรวดเร็ว โดยคาดหวังให้การดำเนินคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องอยู่ในหลักเดือน

“ที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนลดลงไป เราเชื่อว่าถ้าเราสามารถสร้างความซื่อสัตย์ในตลาดหุ้น และการดำเนินคดีที่มีความรวดเร็วจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นในตลาดทุนกลับมาอีกครั้ง”

ที่ผ่านมา กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงาน อาจถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องระยะเวลาดำเนินคดี ซึ่งนโยบายที่เราอยากเห็นคือ กระชับการทำคดีให้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเวลาที่บอร์ดอยากเห็น ไม่ใช่หลักปี แต่ต้องเป็นหลักเดือน

สิ่งที่เราไม่อยากเห็นในตลาดหุ้น คือ การกระทำความผิด ที่ผู้ทำความผิดได้เงินจากการทำความผิดไปแล้ว มีกินมีใช้ และมีชีวิตที่ดี โดยใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะถูกกล่าวโทษ หรือ การลงโทษ ภาพแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น ดังนั้นการใช้มาตรฐานในการกำหนดระยะเวลาทำคดี และการกล่าวโทษอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นทางออก ทั้งนี้ เราทำคดีได้เร็วนอกจากจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นแล้ว ยังช่วยป้องปรามให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิด ไม่กล้าที่จะทุจริตในตลาดหุ้น 


ทั้งนี้ ในการสืบสวนการกระทำความผิดนั้น ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.ล.ต. ได้แยกประเภทของคดีเป็น 3 ส่วน คือ 

1. High Impact คดีที่มีผลกระทบต่อคนในวงกว้าง หรือมีความรุนแรงสูง

2. Medium Impact คดีที่มีผลกระทบระดับปานกลาง 

3. Low Impact คดีที่กระทบเฉพาะกลุ่ม ซึ่งในสิ่งที่ควรจะเป็น คือ คดีที่มีผลกระทบในวงกว้างควรจะมีระยะเวลาการดำเนินคดี หรือการกล่าวโทษที่รวดเร็ว 

วิธีการที่จะช่วยให้การตรวจพิสูจน์ หรือการสืบสวนรวดเร็วนั้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น ทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ที่เป็นหน้าด่านของการตรวจสอบ เราต้องเพิ่มอำนาจให้กับพวกเขาในการเข้าสืบสวนในขั้นต้น หรือการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานร่วมกัน เพื่อให้ความเห็นของผู้ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน 

หรือในฝั่งของอัยการ หรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เราอาจจะหาช่องทางในการทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อช่วยในการประหยัดเวลา ช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้ลดลง ซึ่งในอีกด้านหนึ่ง ถึงแม้เราจะมีนโยบายของการทำคดีให้มีระยะเวลาสั้นลง แต่สิ่งที่ต้องไม่ตกลงไป คือ คุณภาพของการสืบสวนและการสอบสวน 

ประธาน ก.ล.ต. ชี้ คดีจะไหลออกมาใน 3-6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ในด้านการกระชับประสิทธิภาพการดำเนินคดีให้รวดเร็วขึ้น จะช่วยลดคดีที่ค้างอยู่ในระบบจำนวนมากให้เดินหน้า และจะเห็นได้ว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวของการกล่าวโทษออกมาค่อนข้างมาก และในอนาคต 3-6 เดือนข้างหน้า เราจะเห็นภาพของคดีที่ค้างคาอยู่จะถูกเทออกมา ซึ่งจะถามว่าเป็น “การล้างบ้านตลาดหุ้นหรือไม่” ผมเห็นว่า เราตั้งใจที่จะสร้างความเชื่อมั่น และทำความจริงให้ปรากฏมากกว่า

ในอีกด้านหนึ่งในด้านการส่งเสริมการทำงานตลาดทุน โดยเฉพาะในด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และการส่งเสริมให้ใช้ Token Digital ซึ่งเรามองว่าหากมีการใช้ในส่วนนี้มากขึ้น จะช่วยแตกยอดลูกหุ้นในตลาดให้มีมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริม คาร์บอนเครดิต ให้เกิดความนิยมในเมืองไทย 

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ