หุ้นวางมาร์จิ้นสูง เสี่ยงพอร์ตแตกจริงไหม? เมื่อการลง “ไม่เกี่ยวกับพื้นฐาน” หุ้นดีมีโอกาสเด้งกลับ

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หุ้นวางมาร์จิ้นสูง เสี่ยงพอร์ตแตกจริงไหม? เมื่อการลง “ไม่เกี่ยวกับพื้นฐาน” หุ้นดีมีโอกาสเด้งกลับ

Date Time: 4 ก.ค. 2567 11:53 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ไขข้อสงสัย หุ้นที่มีสัดส่วนในการใช้เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น มีความเสี่ยงแค่ไหน? ด้านนักวิเคราะห์ฯ มองว่าเป็นความผันผวนในเชิงราคาหุ้นระยะสั้น และเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ในช่วงที่ผ่านมาพบว่ามีหุ้นหลายบริษัท ที่มีการนำหุ้นไปวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น ถูกบังคับขาย (Forced Sell) ออกมา จนทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างมาก จนบางบริษัททำราคาต่ำสุดของวัน (Floor) ต่อเนื่อง แม้ปัจจัยพื้นฐานจะไม่เปลี่ยนแปลง


จากการรวบรวมข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2567 ชี้ให้เห็นว่ามีหุ้นบางบริษัทมีสัดส่วนจำนวนหุ้นที่เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมด และท่ามกลางภาวะตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน นักลงทุนต่างมีความกังวลว่านี่อาจเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของการลงทุนหรือไม่


ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด ให้ความเห็นกับ “Thairath Money” ว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นความผันผวนในเชิงราคาหุ้นเท่านั้น เพราะหากราคาหุ้นปรับตัวลดลง ก็อาจถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) หรือถูกบังคับขาย (Forced Sell) หากเติมเงินเพิ่มไม่ทัน


โดยหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งจริงๆ มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะถัดไป จึงมองว่าเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value play) ในการเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลดลง ส่วนหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการลงทุน


ดังนั้น ประเด็นดังกล่าวถือเป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น และคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการปรับสมดุลเพื่อให้เห็นความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหากเรื่องนี้จบ มองว่าจะเห็นความผันผวนของหุ้นขนาดเล็กลดลงไปเอง


“ไม่ได้มองว่าหุ้นที่มีการนำไปวางมาร์จิ้นสูง จะเป็นหุ้นที่ไม่ดีเสมอไป เพราะหากถูกฟอร์ซเซล หุ้นพื้นฐานดีก็มีโอกาสเด้งกลับ ส่วนหุ้นพื้นฐานไม่ดีก็กองอยู่ข้างล่าง ถือเป็นการสกรีนหุ้นไปในตัว” ณัฐพล กล่าว


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เห็นในเดือนพฤษภาคมนั้น อาจไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนที่แท้จริงของจำนวนหุ้นที่เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้นทั้งหมดในปัจจุบัน เนื่องจากอาจมีการซื้อคืน หรือถูกบังคับขายเพิ่มเติมไปแล้ว


นอกจากนี้ จำนวนหุ้นที่เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น ที่เห็นว่ามีปริมาณมากนั้น อาจไม่ได้มาจากหุ้นของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว เพราะนักลงทุนทั่วไปสามารถนำหุ้นไปวางเป็นหลักประกันได้เช่นกัน


ณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการ Uptick Rule ซึ่งเป็นมาตรการลดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ชอร์ตเซลได้ในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย ทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสแกว่งตัวขึ้น (Sideway up) ได้บ้าง


อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความชัดเจนของประเด็นการเมืองในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่หนุนโอกาสปรับตัวขึ้น (Upside) ของดัชนีตลาดหุ้นในระยะถัดไป


อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ