พลิกโฉมตลาดยางพารา TFEX จับมือ กยท. ผุดโปรเจกต์ คำนวณราคากลางใหม่ ให้สมกับเบอร์ 1 ผู้ส่งออกโลก

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พลิกโฉมตลาดยางพารา TFEX จับมือ กยท. ผุดโปรเจกต์ คำนวณราคากลางใหม่ ให้สมกับเบอร์ 1 ผู้ส่งออกโลก

Date Time: 15 มิ.ย. 2567 06:59 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • TFEX-กยท. ร่วมกันพัฒนาราคาอ้างอิงยางพารา (Rubber Reference Price) ให้มีมาตรฐาน โปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย EUDR เพื่อใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมซื้อขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ตลาดยางพาราโลก กำลังพลิกฟื้นอีกครั้งหลังอุปทานความต้องการใช้เริ่มกลับมาและดึงราคาปรับเพิ่มขึ้นจนทำสถิติใหม่ ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 แต่กลับไม่มีบทบาทในการกำหนดราคายางในระดับโลก ทำให้ต้องเกิดความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างมาตรฐานการคิดคำนวณราคายางพาราใหม่ 


โดยทิศทางราคายางพาราไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองวิจัยเศรษฐกิจยาง เปิดเผยว่า ราคายางภายในประเทศไทยภาพรวมพุ่งทะยานต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยทำจุดสูงสุดใหม่ขึ้นไปเรื่อยๆ ในรอบ 85 เดือนหรือ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากมีความต้องการยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์ไฟฟ้า EV) เพิ่มขึ้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาปริมาณผลผลิตยางพาราลดลง สาเหตุจากปัญหาโรคใบร่วงและปรากฏการเอลนีโญที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นส่งผลให้สภาพอากาศร้อน ฝนตกน้อย ส่งผลต่อน้ำยางออกน้อย


ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เปิดเผยว่า “ประเทศไทย เราเป็นประเทศผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก” โดยผลผลิตในปีที่ผ่านมาของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านตัน และปริมาณการส่งออกยางพาราอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งถือได้ว่าเรามีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 37-38% ของผลผลิตทั้งโลก

ที่ผ่านมาราคายางพาราที่ประเทศไทยที่ใช้อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้น กยท. จึงร่วมมือกับ บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) ในการพัฒนาสูตรการคำนวณราคายางพาราเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงเอง จะช่วยให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของเกษตรกรและผู้ผลิตยางพาราไทยได้ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้น เช่น ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการผลิตต่างๆ ราคายางพาราจะได้มีความโปร่งใส เป็นมาตรฐานสากล และเป็นฐานในการกำหนดราคาทำสัญญาเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ (FOB) ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพาราได้อีกด้วย


ราคากลางยางพารา 

ล่าสุด TFEX และ กยท. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาราคาอ้างอิงในการซื้อขายยางพารา (Rubber Reference Price) ให้เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง ใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมซื้อขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย TFEX เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ราคาอ้างอิง กยท.เป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากตลาดกลางยางพาราทั้ง 8 แห่ง และกำหนดหลักการ วิธีการต่างๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกรโดยตรง

การเผยแพร่ราคายางอ้างอิงจะเริ่มครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม 2567 โดยเผยแพร่เฉพาะ ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ก่อน โดยจะเผยแพร่เวลา 12.00 น. หลังจากนั้นจะตามมาด้วยการเผยแพร่ราคาน้ำยางข้น (LATEX) และยางแท่ง (TSR20) ในเดือนกันยายน 2567 เผยแพร่เวลา 19.00 น. ทั้งนี้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ TFEX www.TFEX.co.th และเว็บไซต์ กยท. www.raot.co.th 

นอกจากนี้ รินใจ ชาครพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังมีการศึกษาแนวทางการทำราคาอ้างอิงยางที่เกี่ยวข้องกับ EUDR (EU Deforestation-free Regulations) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องการที่มาของสินค้ามาจากการที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า โดยเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมเป็นอันดับต้นๆ ที่จะผลิตยางโดยปลอดการตัดไม้ทำลายป่า

ทั้งนี้ หากมีการใช้ราคายางพาราอ้างอิงในการทำธุรกรรมซื้อขายมากขึ้น จะส่งผลให้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Rubber Future) มีความน่าสนใจและบทบาทมากขึ้นในการเป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการ ทาง TFEX จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่เป็นยางพาราประเภทต่างๆ เช่น EUDR-compliant Product ต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ