แบงก์ยิ้มหวานรับ กนง.คงดอกเบี้ย ช่วย “รายได้ดอกเบี้ย” ไม่ลด ด้านนอนแบงก์อ่วม ต้นทุนการเงินพุ่ง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แบงก์ยิ้มหวานรับ กนง.คงดอกเบี้ย ช่วย “รายได้ดอกเบี้ย” ไม่ลด ด้านนอนแบงก์อ่วม ต้นทุนการเงินพุ่ง

Date Time: 13 มิ.ย. 2567 11:10 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • - กนง.คงดอกเบี้ยหนุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้ประโยชน์ จากรายได้ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
  • - จับตากลุ่มนอนแบงก์ ยังต้องแบกต้นทุนการเงิน

Latest


เป็นไปตามที่คาดหมายสำหรับที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ตัดสินใจคงดอกเบี้ย 2.5% ต่อไป ซึ่งกลุ่มที่จะได้ “รับประโยชน์” โดยตรงหนีไม่พ้น กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่แรงกดดันด้านดอกเบี้ยลดลง ซึ่งจะส่งผลบวกให้ รายได้จากดอกเบี้ย จะคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ขนาดเดียวกลุ่มสินเชื่อนอนแบงก์ หรือกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน กำลังรับผลกระทบต่อ เพราะต้นทุนการเงินที่จะนำมาปล่อยกู้นั้นไม่ได้ปรับตัวลดลงไปด้วย 


บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า จากกรณที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ตามตลาดคาด ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เทียบกับการประชุมครั้งก่อนอยู่ที่ 5 ต่อ 2 ด้านมุมมองเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง 


นอกจากนี้ กนง.ได้คาดการเติบโตของ GDP ไทยปี 2567 จะเติบโต 2.6% และ ปี 2568 ขยายตัว 3.0% ตามลำดับ ฝ่ายวิจัยมีมุมมองกลางต่อผลการประชุม กนง. เพราะเป็นไปตามคาดการณ์ เพียงแต่เสียงคงดอกเบี้ยซึ่งขยับขึ้น ประกอบกับตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI พ.ค. 67 เพิ่ม 1.5% จากปีก่อน ทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของ กนง. ทั้งปี 2567 ที่ 0.6% และปี 2568 ที่ 1.3% 


ด้าน ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 1 ปี ทรงตัวจากวันก่อนประชุม กนง. ที่ 2.34% ภาพรวมสะท้อนโอกาสในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งปีสูง สำหรับผลต่อกลุ่มธนาคาร ภาพดังกล่าวช่วยให้แรงกดดันต่อรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NII ของธนาคารพาณิชย์ใหญ่ อย่าง ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB, ธนาคารกรุงเทพ หรือ  BBL, ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK, เอสซีบี เอกซ์ หรือ SCB, ธนาคาร ทหารไทยธนชาต หรือ TTB และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY ลดลง (เรียงตามสัดส่วนสินเชื่อที่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยภายใน 1 ปี)


ทางตรงข้าม ธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP และ ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป หรือ TISCO ปีนี้ยังเห็นผลกระทบจากกการ repricing เงินฝากประจำมากกว่าธนาคารพาณิชย์ใหญ่ โดยมอง KKP ยังถูกกดดันมากกว่า TISCO เหตุเพราะ TISCO มีการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงมาใกล้เคียง KKP ช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา โดยประมาณการกำไรปี 2567 ของฝ่ายวิจัยและ Consensus มีการใส่สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงปีนี้ไปบ้างแล้ว จึงประเมินว่าความเสี่ยงของการปรับลดประมาณ์การต่อ ประมาณการกำไรค่อยๆ จำกัด สะท้อนจากกำไรกลุ่ม 8 ธนาคาร งวดไตรมาสที่ 1 คิดเป็นสัดส่วน 27% ของประมาณการทั้งปีฝ่ายวิจัย (สัดส่วน 26% ของ BB Consensus ณ 12 มิ.ย. 67) 


ขณะที่ ธ.พ. ที่ออกตัวได้ดีในงวดไตรมาสที่ 1 หากการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ช่วงที่เหลือของปียังอยู่ในการควบคุม อาจเข้าสู่วัฏจักรของการปรับเพิ่มประมาณการ นำโดย KBANK ที่กำไรงวดไตรมาสที่ 1  คิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของคาดการณ์กำไรทั้งปีฝ่ายวิจัยและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ ตามด้วย KTB ที่ 28%-29% ของคาดการณ์กำไรทั้งปีฝ่ายวิจัยและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ สุดท้าย TTB คิดเป็นสัดส่วนราว 26%-27% ของคาดการณ์กำไรทั้งปี ฝ่ายวิจัยและ BB Consensus ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่เหลือกำไรไตรมาสที่ 1 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24%-26% ของประมาณการทั้งปี


คงเลือก KBANK มองราคาเหมาะสม 148 บาท ตามด้วย BBL  มองราคาเหมาะสม 175 บาท เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มฯ มองสินเชื่อธุรกิจรับแรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในเชิงเงินปันผลอยู่ที่ราว 5% ต่อปี ส่วน TTB ราคาเหมาะสม 1.98 บาท ที่มี tax shield ช่วยให้แนวโน้มกำไรปี 2567 เติบโตสูงกว่ากลุ่มธนาคาร 


ส่วน ธนาคารพาณิชย์ ที่เหลือเรียงตามความชอบดังนี้ KTB, TISCO, SCB, KKP ด้านกลุ่ม Non-Bank มองลบจากต้นทุนการเงินที่ปรับลงช้า ทำให้การบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์เพื่อลด ECL จะเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโต ยังคงชอบ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC ราคาเหมาะสม 51 บาท มากสุดเพราะการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีต่อเนื่อง ตามด้วยบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR ราคาเหมาะสม 26 บาท และสุดท้ายบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  SAWAD ราคาเหมาะสม 42.5 บาท.

ติดตามข้อมูลหุ้นกู้ และเงินฝากธนาคาร กับ ThairathMoney ได้ที่ 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์