ปั๊ม OR หุ้นมหาชน ถึงเวลาฟื้น ขายน้ำมัน “กำไร” ดีขึ้น ไตรมาส 2 โตต่อรับผลวันหยุดยาว

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปั๊ม OR หุ้นมหาชน ถึงเวลาฟื้น ขายน้ำมัน “กำไร” ดีขึ้น ไตรมาส 2 โตต่อรับผลวันหยุดยาว

Date Time: 5 พ.ค. 2567 07:17 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • - OR คาดว่าจะมีกำไรที่ดีขึ้นในไตรมาสที่ 1 จากการทำกำไรต่อการขายน้ำมันต่อลิตรที่ดีขึ้น
  • - ไตรมาสที่ 2 จะโตต่อเนื่องจากวันหยุดยาว

หนึ่งในหุ้นมหาชนในตลาดหุ้นไทย หนีไม่พ้น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มายาวนานกว่า 3 ปี และมีผู้ถือหุ้นมากกว่า 342,941 ราย โดยหลังจากเข้าระดมทุนราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าใกล้ราคาไอพีโอ จากแรงกกดดันจากความต้องการใช้น้ำมันในช่วงที่ผ่านมา 


อย่างไรก็ตาม ทิศทางกำไรไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 นั้นนักวิเคราะห์มองว่า กำไรจะฟื้นตัว หลังจากอัตรากำไรต่อการขายน้ำมันต่อลิตรเริ่มดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการขายที่อยู่ในระดับสูง 

บริษัทหลักทรัพย์อินโนเวส เอกซ์ ประเมินว่า กำไรของ OR ในไตรมาสที่ 1 จะปรับตัวขึ้นแรงจากไตรมาส 4 ปี 2566 ที่เพียง 193 ล้านบาท สู่ 3.5 พันล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากกําไรขั้นต้น/ลิตรระดับสูงของกลุ่มธุรกิจ Mobility และไม่มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อกําไรในไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ เรายังคาดว่า EBITDA margin ของกลุ่มธุรกิจ Lifestyle (non-oil) จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน จากค่าใช้จ่ายที่ลดลง และปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เราคาดว่ากําไรจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดในประเทศไทย 


แม้ว่าจะมีแรงกดดันบางส่วนต่อค่าการตลาดจากราคา น้ํามันที่สูงขึ้น เรายังคงประมาณการของเราไว้ว่ากําไรสุทธิจะเติบโต 16% สู่ 1.33 หมื่นล้านบาท ในปี 2567 โดย อิงกับกําไรขั้นต้นตามหลักความระมัดระวังที่ 1 บาท/ลิตร เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.99 บาทในปี 2566 โดยซื้อขายที่ P/E (ปี 2567) ระดับ 16 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ 27 เท่า ค่อนข้างมาก เรายืนยันคําแนะนํา OUTPERFORM สําหรับ OR โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 27 บาท อ้างอิง EV/EBITDA ที่ 14 เท่า

ทั้งนี้เมื่อแยกกลุ่ม กลุ่มธุรกิจ Mobility: ปริมาณการขายจะลดลงตามฤดูกาล เราคาดว่าความต้องการน้ํามันดีเซลและน้ํามัน เครื่องบินที่ลดลงจะฉุดรั้งให้ปริมาณการขายโดยรวมลดลง 6.9% จากไตรมาสก่อน สู่ 6.5 พันล้านลิตรใน 1Q67 ลดลง 7.2% จากปีก่อน จากปริมาณการใช้น้ํามันดีเซลที่ลดลงในกลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติกลับสู่ระดับ ปกติ อย่างไรก็ตาม กําไรของธุรกิจ Mobility จะได้แรงหนุนจากกําไรขั้นต้น/ลิตรที่เพิ่มขึ้นสู่ 1.2 บาท รวมถึงกําไรสต๊อก ค่าการตลาดจากการค้าปลีกน้ํามันยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะน้ํามัน เบนซิน ในขณะที่ค่าการตลาดน้ํามันดีเซลได้รับแรงกดดันจากการควบคุมราคาโดยรัฐบาล

กลุ่มธุรกิจ Lifestyle: EBITDA margin จะเพิ่มขึ้น QoQ EBITDA จากกลุ่มธุรกิจ Lifestyle น่าจะเพิ่มขึ้น 5% QoQ ใน 1Q67 ซึ่งเป็นผลมาจาก EBITDA margin ที่ดีขึ้นที่ 26.5% เทียบกับ 25.6% ใน 4Q66 และ ปริมาณการขายที่สูงขึ้นที่ร้านคาเฟ่ อเมซอน (+9% QoQ) ในขณะที่ยังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เราประเมินได้ว่าจํานวนแก้วที่ขายได้ต่อสาขาของร้านคาเฟ่ อเมซอน จะเพิ่มขึ้น 7.5% QoQ ซึ่งเป็นผลมาจาก จํานวนสาขาที่เพิ่มขึ้น 1% QoQ

กลุ่มธุรกิจ Global: ปริมาณการขายในฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้น ธุรกิจในฟิลิปปินส์ของ OR น่าจะกลับมาช่วย สนับสนุนกําไรของกลุ่มธุรกิจ Global ใน 1967 เนื่องจากความต้องการน้ํามันเครื่องบินและ LPG เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการน้ํามันดีเซลจากลูกค้าอุตสาหกรรมยังมีน้อย เราคาดว่าส่วนแบ่งกําไรจากกลุ่มธุรกิจ Global จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากฐานต่ำใน 4Q66 แต่สัดส่วน EBITDA จะยังอยู่ในระดับต่ำที่ 7% ใน ไตรมาสที่ 1  ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2566

 

บล.ลิเบอเรเตอร์ ประเมินว่า คาดกําไรสุทธิ 3,623 ล้านบาท เติบโต 21.8% ช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้น1,778% จากไตรมาสก่อน จากกําไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรเพิ่มขึ้น แม้ปริมาณขายหดตัว และค่าใช้จ่ายลดลงโดย กลุ่ม Mobility (สถานีบริการ) ปริมาณขายน้ํามันคาด อยู่ที่ 6,490 ล้านลิตร ลดลง -7% จากไตรมาสก่อน โดยลดลงทั้งกลุ่มค้ ปลั๊กและตลาดพาณิชย์จากปัจจัยฤดูกาล และยังได้รับผลกระทบจากข่าวน้ํามันไม่เต็มลิตร แม้จะได้รับผลจาก ต้นทุนน้ํามันเพิ่มขึ้นจากการขายยูโร5 แต่สัดส่วนการ ขาย DODO คิดเป็น 81% ของสถานีบริการทําให้ได้รับ ผลกระทบน้อยกว่า และสามารถปรับราคาขายกลุ่ม เบนซินได้ตามราคาน้ํามันเพิ่มขึ้น ทําให้อัตรากําไร ขั้นต้น/ ลิตรดีขึ้นจาก 0.75 บาท/ ลิตรเป็น 1.15 บาท/ลิตร ซึ่งรวมกําไรจากสต๊อกด้วยราว 400 ล้านบาท 


กลุ่ม Lifestyle (อาหารและเครื่องดื่ม) ปริมาณขาย กาแฟเพิ่มเป็น 99 ล้านแก้วจาก 95 ล้านแก้วไตรมาส ก่อนจากการเปิดสาขาเพิ่ม +40 สาขา และ EBITDA margin เพิ่มขึ้นเป็น 26 กลุ่มต่างประเทศ ปริมาณขายน้ํามัน เพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสก่อน เป็น 446 ล้านลิตร จากการขยายยอดขายน้ํามันเครื่องบิน และ LPG เพิ่มขึ้นในฟิลิปปินส์ และมีเปิดสถานีบริการใน กัมพูชา 5 แห่ง ฟิลิปปินส์ 1 แห่ง ส่วนยอดขายกาแฟ ทรงตัวที่ 7 ล้านแก้ว

ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร บริษัทเน้นควบคุมได้ดีทําให้ หด -3.4% จากปีก่อน ลดลง 17.5% จากไตรมาสก่อน และรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุน จากบริษัทร่วมจากการดําเนินงานลดลง ขณะที่คาดมี กําไรจากรายการพิเศษ 257 ล้านบาท กําไรอัตรา แลกเปลี่ยน +498 ล้านบาท ขาดทุนจากการป้องกันความ เสี่ยง -241 ล้านบาท


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ