ปตท. สผ. กำไร 1.94 หมื่นล้าน ลดลง 8% หลังยอดขายหด ค่าเสื่อมราคาพุ่ง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปตท. สผ. กำไร 1.94 หมื่นล้าน ลดลง 8% หลังยอดขายหด ค่าเสื่อมราคาพุ่ง

Date Time: 25 เม.ย. 2567 14:25 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • PTTEP รายงานกําไรสุทธิไตรมาส 1/67 จํานวน 524 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19,424 ล้านบาท) ลดลง 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,668 ล้านบาท) คิดเป็น 8% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/66 ที่มีกําไรสุทธิ 569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21,097 ล้านบาท)

Latest


บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น PTTEP รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/67 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทฯ มีกําไรสุทธิสําหรับไตรมาส 1/67 จํานวน 524 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19,424 ล้านบาท) ลดลง 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,668 ล้านบาท) คิดเป็น 8% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/66 ที่มีกําไรสุทธิ 569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21,097 ล้านบาท)


โดยหลักรายได้จากการขายลดลง ประกอบกับค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจําหน่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานลดลงจากรายการปรับปรุงทางบัญชีในไตรมาส 1 ปีก่อน ของโครงการบงกชเมื่อสิ้นสุดสัมปทาน โดยกําไรสุทธิสําหรับไตรมาส 1/67 จํานวน 524 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


แบ่งเป็น กําไรจากการดําเนินงานปกติสําหรับไตรมาส 1/67 จํานวน 543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบ กับไตรมาส 1/66 ที่มีกําไร 592 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


สาเหตุหลักจากรายได้จากการการขายลดลง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง รวมถึงค่าเสื่อมราคาค่าสูญสิ้น และค่าตัดจําหน่ายเพิ่มขึ้น 131 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหลักจากโครงการจี 1/61 และโครงการที่ 2/61 ตามปริมาณการขายและสินทรัพย์พร้อมใช้งานที่เพิ่มขึ้นสุทธิกับปริมาณสํารองที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโครงการอาทิตย์และโครงการซอติก้าที่มีสินทรัพย์พร้อมใช้งานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 


ส่วนภาษีเงินได้ลดลง 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหลักจากโครงการในประเทศไทย ประเทศโอมาน และประเทศมาเลเซียตามกําไรที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานลดลง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายการปรับปรุงทางบัญชีในไตรมาส 1 ปีก่อนของโครงการบงกชเมื่อสิ้นสุดสัมปทาน


สำหรับขาดทุนจากรายการที่ไม่ใช่การดําเนินงานปกติสําหรับไตรมาส 1/67 จํานวน 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/66 ที่มีขาดทุน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


สาเหตุหลักจากกําไรจากสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า สุทธิกับขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปีก่อน


อย่างไรก็ตาม ขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ํามันเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในไตรมาสนี้เป็นขาดทุนจํานวน 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาซื้อขายน้ํามันล่วงหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ไตรมาส 1 ปีก่อนเป็นกําไรที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาซื้อขายน้ํามันล่วงหน้าปรับตัวลดลง


เปิดแนวโน้มผลการดำเนินงาน


สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ไตรมาส 2/67 และปี 2567 ปริมาณการขาย ราคาขาย และต้นทุน เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้แนวโน้มผลการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานและภาวะอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทจึงได้ดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนสมมติฐานให้สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน ส่งผลให้ประมาณการแนวโน้มผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2/67 และปี 2567 เป็นดังนี้

ปริมาณการขาย

คาดการณ์ปริมาณขายเฉลี่ยสําหรับไตรมาส 2/67 และปี 2567 ที่ประมาณ 514,000 และ 509,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบ ต่อวัน ตามลําดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขายในประเทศไทย เช่น ความสําเร็จของการเพิ่มกําลังการ ผลิตของโครงการจี 1/61 (เอราวัณ) สู่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2567 ซึ่งเร็วกว่าแผนงาน และโครงการ บี 8/32 ที่กลับมาดําเนินการผลิตได้ตามปกติ หลังจากในปี 2566 มีการหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาเรือรับก๊าซธรรมชาติของผู้ดำเนินการ

ราคาขาย

  • 6-24 เดือน ราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทนั้นมีโครงสร้างราคาส่วนหนึ่งผูกกับราคาน้ํามันย้อนหลัง บริษัทคาดว่าราคาขายก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยสําหรับทั้งไตรมาส 2/67 และปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 5.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อล้านบีทียู โดยมีแนวโน้มลดลงเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า
  • ราคาน้ํามันดิบของบริษัทจะผันแปรตามราคาน้ํามันดิบในตลาดโลก
  • บริษัทมีการเข้าทําสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ํามัน โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/67 มีปริมาณน้ํามันภายใต้การประกันความเสี่ยงดังกล่าว จํานวน 3.3 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ บริษัทมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนการประกันความเสี่ยงราคาน้ํามันตามความเหมาะสม

ต้นทุน

สําหรับไตรมาส 2/67 และทั้งปี 2567 ปตท.สผ. คาดว่าต้นทุนต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2566 โดยหลักจาก ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานเพิ่มขึ้น จากกําลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของโครงการจี 1/61 (เอราวัณ) รวมถึง ต้นทุนการดําเนินงานในอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น จากแนวโน้มอุปสงค์ของแท่นขุดเจาะที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานมีจํากัด อย่างไรก็ตาม บริษัทยังสามารถรักษาต้นทุนต่อหน่วยได้ในระดับ 28–29 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ํามันดิบ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์