กลุ่ม ปตท. PTT-PTTGC รับโชค ลุ้น ‘เศรษฐา’ เคลียร์พื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา เปิดขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กลุ่ม ปตท. PTT-PTTGC รับโชค ลุ้น ‘เศรษฐา’ เคลียร์พื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา เปิดขุมทรัพย์ 10 ล้านล้าน

Date Time: 5 ม.ค. 2567 11:01 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ลุ้นรัฐบาล ‘เศรษฐา’ เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา (OCA) สำเร็จ หวังได้แหล่งปิโตรเลียมใหม่ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ประเมินมูลค่าโครงการ 10 ล้านล้านบาท กลุ่ม ปตท.จ่อรับประโยชน์

Latest


ประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (Overlapping Claims Areas) หรือ OCA มีปัญหามาอย่างยาวนาน ขณะที่ในอดีตได้มีการเจรจามาแล้วในหลายรัฐบาล และครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่จะมีการเจรจา ภายใต้รัฐบาลใหม่ โดยการนำของ เศรษฐา ทวีสิน ซึ่งมีการปรับแนวทางในการเดินหน้าเข้าไปใช้ประโยชน์ด้านพลังงานเท่านั้น และไม่เกี่ยวกับการแบ่งเขตแดน ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ประเมินว่าหากการเจรจาดังกล่าวสำเร็จ จะเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มปิโตรเลียม


นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ว่า นายกรัฐมนตรีเตรียมหารือเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (OCA) กับนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีกำหนดการจะเดินทางมาเยือนไทยในวันที่ 7 ก.พ. 2567 ซึ่งหากรัฐบาลประสบความสำเร็จในการเจรจา จะนำมาซึ่งปิโตรเลียม โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก ที่จะสร้างความมั่นคงให้กับทั้ง 2 ประเทศ


ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนปัจจุบันได้มีการกล่าวว่า รัฐบาลต้องมีการปรับแนวทางการเจรจากับทางกัมพูชาให้เดินหน้าเฉพาะเรื่องการเข้าไปใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการแบ่งเขตแดน ซึ่งอาจจะเสนอรูปแบบการตั้งองค์กรหรือบริษัทร่วมกัน ที่ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาเข้าไปมีหุ้นส่วน และได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ เพราะมองว่าการนำเรื่องการเจรจาไปผูกติดกับการใช้ประโยชน์เรื่องพลังงาน จะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้


อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาประสบความสำเร็จจะถือเป็นประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ในการนำปิโตรเลียม โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณมาก แต่อาจจะยังต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง โดยมูลค่าโครงการนี้ที่ทางกระทรวงพลังงานได้ประเมินไว้จะอยู่ราว 10 ล้านล้านบาท และผลิตได้มากกว่า 20 ปี ซึ่งคาดว่าการผลิตจริงในหลุมขุดเจาะใหม่ที่อยู่ใกล้แหล่งเอราวัณ จะสามารถดำเนินการผลิตได้เร็วสุดภายใน 2 ปี เนื่องจากไทยมีท่อก๊าซฯอยู่แล้วในบริเวณใกล้เคียง ส่วนหลุมที่ไกลออกไปก็จะใช้เวลาประมาณ 5 ปี ที่จะสามารถผลิตก๊าซฯ ได้ ส่วนการลงทุนจะแบ่งเป็น 2 วิธี คือ 1) แบ่งพื้นที่ให้เอกชนผลิตสำรวจ 2) เปิดประมูลใหม่


ซึ่งในประเด็นนี้ จะเป็นบวกต่อผู้ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม อาทิ PTTEP, CHEVRON เป็นต้น รวมถึงในขั้นต่อไปก๊าซฯ ที่นำขึ้นมาได้จะเข้าสู่โรงแยกก๊าซฯ ซึ่งจะเป็นบวกต่อ PTT ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซฯของไทยทั้ง 6 โรง


และสุดท้ายจะเป็นบวกต่อผู้ใช้ก๊าซฯ ได้แก่ ธุรกิจปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ โดยโรงงานปิโตรเคมีหลักในไทยที่มีการใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ PTTGC รวมถึงโรงไฟฟ้าจะมีต้นทุนก๊าซฯ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงถูกลง โดยคาดราคา Pool Gas เฉลี่ยจะปรับตัวลดลงถ้าได้ก๊าซฯ ในแหล่งพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชามาเพิ่ม เพราะจะมีราคาต่ำกว่าราคา LNG ที่นำเข้า ดังนั้นโดยภาพรวมถือเป็นบวกต่อกลุ่มพลังงานในระยะยาวหากรัฐบาลประสบความสำเร็จในการเจรจา

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์