ผู้ถือหุ้น NUSA ร้อง “ดีเอสไอ” ตรวจสอบบริษัทจ่อขายทรัพย์ 1.1 หมื่นล้าน หวั่นกระทบผู้ถือหุ้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผู้ถือหุ้น NUSA ร้อง “ดีเอสไอ” ตรวจสอบบริษัทจ่อขายทรัพย์ 1.1 หมื่นล้าน หวั่นกระทบผู้ถือหุ้น

Date Time: 26 ธ.ค. 2566 14:04 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Latest


สรี หัตถะรัชต์ ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนใน บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยหลังนำผู้ถือหุ้นรายย่อยรวม 30 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า นักลงทุนรายย่อยรวมตัวกันมาขอความช่วยเหลือจากดีเอสไอ ให้ตรวจสอบการดำเนินการที่เชื่อว่าไม่โปร่งใสของคณะกรรมการ NUSA ที่อนุมัติให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินของบริษัทออกไป 6 รายการเป็นเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือเกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมดบริษัท 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะกระทบต่อบริษัทอย่างมหาศาล โดยไม่ได้แจ้ง หรือจัดการประชุมให้ผู้ถือหุ้น ได้รับทราบ หรืออนุมัติ อาจจะเข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุน ละเมิดสิทธิ์ผู้ถือหุ้น และยังเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

“ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ช่วยยับยั้งการกระทำดังกล่าวโดยเร็ว หากเกิดความเสียหาย จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะมีผู้ถือหุ้นรายย่อยใน NUSA เกือบ 1 หมื่นราย ในจำนวนนี้มีผู้ถือหุ้นมากมายที่เข้ามาลงทุนใน NUSA เพราะเชื่อตามที่ฝ่ายบริหารนำเสนอว่า บริษัทจะเข้าสู่ธุรกิจพลังงาน จะมีรายได้ที่มั่นคง นักลงทุนก็คล้อยตาม เพราะช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด ธุรกิจพลังงานแทบไม่ได้รับผลกระทบ จึงพากันเข้ามาลงทุน แต่มาวันนี้กลับมีมติขายธุรกิจพลังงานทิ้งทั้งหมด โดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้น แบบนี้เข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนหรือไม่”

นายเสรี กล่าวว่า นอกจากขายทรัพย์สินออกไปครั้งมโหฬาร กลุ่มนักลงทุนรายย่อย ก็ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการขายทรัพย์สิน ว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใสหรือไม่ เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา มักถูกหน่วยงานกำกับดูแลทั้งผู้ตรวจสอบบัญชี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรียกชี้แจงบ่อยครั้ง

“เรื่องใหญ่สุดที่จนวันนี้ บริษัทก็ยังตอบคำถามได้ไม่ชัดเจน คือ การเข้าซื้อธุรกิจโรงแรม Panacee Grand Hotel Roemerbad ในประเทศเยอรมนี จ่ายเงินไปแล้ว 711 ล้านบาท จากทั้งหมด 740 ล้านบาท ผู้รับเงินไม่ใช่เจ้าของโรงแรม มันผิดปกติหรือไม่ ภายหลังมาประกาศเปลี่ยนจากซื้อธุรกิจโรงแรม ไปซื้อหุ้นบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงแรมแทน ทั้งที่จ่ายเงินไปแล้ว ผลลัพธ์ตอนนี้ NUSA เลยได้หุ้นบริษัทเยอรมนี ที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 407 ล้านบาท คือได้บริษัทที่หนี้ท่วมเข้ามา ส่วนตัวโรงแรมที่ได้มา ก็ยังเปิดบริการไม่ได้ เลยไม่มีรายได้ เรื่องนี้สร้างความเสียหายแก่บริษัท และผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง”

นายเสรี กล่าวอีกว่า เชื่อว่าการดำเนินธุรกรรมหลายรายการที่ผ่านมาอาจเข้าข่ายไม่โปร่งใส จนถูกเรียกชี้แจงบ่อยครั้ง และเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านั้นอาจมีส่วนทำให้ NUSA ขาดทุนติดต่อกันยาวนานถึง 8 ปี มีผลขาดทุนสะสมมากกว่า 3 พันล้านบาท สร้างความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นมาโดยตลอด ดังนั้น เพื่อความชอบธรรม กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของ NUSA จะเดินหน้าร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะผู้ถือหุ้นภายใต้กรอบกฎหมายอย่างถึงที่สุด

นายวิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการบริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ในวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้อง จากนายประเดช กิตติ อิสรานนท์กับพวก รวม 6 คน โจทก์ฟ้อง บมจ.ณุศาศิริและกรรมการ รวม 8 คน เป็นจําเลย ในคดีแพ่ง เลขคดีดําที่ พ6055/2566 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2566 โดยวิธีปิดหมาย ลงวันท่ี 24 ธันวาคม 2566 โดยวัตถุประสงค์ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 12/2566 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 วาระ 5.1 เรื่องการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สิน 6 รายการ และห้ามจําหน่ายนั้นฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบ ดังนี้

ข้อ 1 คดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้กําหนดนัดพิจารณาช้สองสถาน ี เพื่อกําหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีในวันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. ซึ่งฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างการมอบหมายฝ่ายกฎหมายและทีมทนายความดําเนินการต่อไป


ข้อ 2 ประเด็นคําฟ้องของโจทก์ในคดีดังกล่าว ขัดแย้งกับรายงานการประชุม ซึ่งฝ่ายบริหารได้จัดทํารายงานการประชุมตามบันทึกภาพและเสียงการประชุม โดยฝ่ายบริหารฯ ได้เสนอจําหน่ายทรัพย์สิน เพื่อลดภาระหนี้สิน ประกอบกับราคาหุ้นของบริษัทฯ มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าบัญชีเพียงร้อยละ 40 โดยเฉลี่ย ทั้งนี้การเสนอวาระพิจารณาการจําหน่ายทรัพย์สิน
เป็นเพียงการเสนอเพื่อขออนุมัติหลักการ มิใช่การจําหน่ายในทางปฏิบัติเพราะฝ่ายบริหารฯ ต้องทําการสํารวจความต้องการของผู้ซื้อ จากนั้นจะคัดเลือกสินทรัพย์ประมาณ 1 หรือ 2 รายการเพื่อทําการขายโดยเปิดเผย ตามขั้นตอน ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นการขายสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้ดําเนินการในการขาย ย่อมไม่เป็นการลิดรอนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ แต่อย่างใด คดีฟ้องของโจทก์จึงไม่มีมูล


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ